ดิฉันนางสาวแพรทอง เอี่ยมศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่  หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01

           วันที่ 25 ก.ค. 2564 ประชุมออนไลน์กับอาจารย์เพื่อวางแผนในการทำงาน

           วันที่ 26-28 ก.ค. 2564 สรุปรายงานผลไตรมาสที่ 1-2 พร้อมกับนำเสนอต่อคณะกรรมการผ่านทางออนไลน์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

          วันที่ 2 ส.ค. 2564 ประชุมออนไลน์กับอาจารย์เพื่อวางแผนในการทำงาน

          วันที่ 3 ส.ค. 2564 ลงพื้นที่ติดตามขั้นตอนการทอผ้าไหม(ออกแบบลายใหม่) บ้านโนนตะคร้อและบ้านโคกเมฆ

          วันที่ 5 ส.ค. 2564 เตรียมจัดสถานที่จัดกิจกรรมอบรมการออกแบบโครงสีที่ โรงเรียนวัดสระทอง

          วันที่ 6 ส.ค. 2564 ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือกับกลุ่มทอผ้าไหม ที่ โรงเรียนวัดสระทอง

          โดยให้ชาวบ้านแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ บ้านทุ่งบ่อ บ้านโคกเมฆ บ้านโนนตะคร้อ แล้วให้ชาวบ้านทำแบบทดสอบความรู้ก่อนที่จะพาไปทำความรู้จักวงจรของสีและมีการผสมสีตามลำดับวงจรสี

  1. แม่สี มีทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
  2. สีขั้นที่สอง ผสมสีกันทีละคู่ของแม่สีในปริมาณเท่าๆกัน 1. สีส้ม = สีแดง+สีเหลือง = สีส้ม
  3. สีขั้นที่สาม สีที่เกิดจากการผสมกันทีละคู่ของแม่สีกับสีขั้นที่ 2 ในปริมาณเท่าๆกัน ซึ่งผสมกันแล้วจะมี 6สี คือ 1. สีเขียวเหลือง = สีเหลือง+สีเขียว = สีเหลืองเขียว จะได้ทั้งสีโทนร้อน สีโทนเย็นและสีคู่ตรงข้าม

          4.เทคนิคออกแบบโครงสีสำหรับงานไหมมัดหมี่

  1. การจัดโครงสี สีแบบเอกรงค์ จะใช้เพียงสีเดียวที่มีค่าน้ำหนักหนักอ่อนแก่ของสีนั้นแตกต่างกันมีความเหมาะสม นำมาใช้ในการออกแบบบางส่วนของลายเป็นสีกลาง เช่น สีขาว สีน้ำเงิน สีเทา หรือสีดำจะช่วยสร้างน้ำหนักของสีให้กับลายผ้าไหมมัดหมี่ให้เกิดลายสีคมชัด
  2. การจัดโครงสีแบบสีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม

         ใช้สีหนึ่งกับสี สองสีที่อยู่ข้างสีคู่ตรงข้ามกันสองสี(โดยไม่ใช้สีคู่ตรงข้ามของสีนั้น) เป็นการใช้สีที่ลดการตัดกันหรือลดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เช่น ใช้สีเส้นพุ่งย้อมด้วยสีม่วง สีม่วงน้ำเงิน และสีเหลือง ทอกับเส้นด้ายยืนสีเทาอ่อนและทำแบบทดสอบความรู้หลังทำ

          วันที่ 7 ส.ค. 2564 ลงพื้นที่ติดตามขั้นตอนการทอผ้าไหมกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อ

                    1.ออกแบบลาย(ลายผ้าใหม่)

                    2.กวักไหม

                    3.มัดหมี่

                    4.ย้อมสี

                    5.ปั่นหลอด

                    6.ทอผ้าไหม

         วันที่ 8 ส.ค. 2564 ประชุมออนไลน์กับอาจารย์ เรื่อง มาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มปลอดโรค กับ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

วันที่ 14 ส.ค. 2564 ประชุมออนไลน์กับอาจารย์เพื่อวางแผนในการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

    1.ได้เรียนรู้ว่าวงจรสีมีกี่สีมีสีอะไรบ้าง

    2.ได้เรียนรู้การผสมสีตามลำดับวงจรสีว่ามีสีไหนบ้าง

    3.ได้เรียนรู้เทคนิคการจัดโครงสี สีแบบเอกรงค์

    4.ได้เรียนรู้เทคนิคการจัดโครงสี สีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

          ทีม AG01(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน กันยายน 2564 ลงพื้นที่ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อจัดอบรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ จัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการออกแบบโลโก้ บรรจุภัณฑ์และการขอขึ้นทะเบียนมผช. ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลของข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

   

ภาพที่ 1. สรุปรายงานผลไตรมาสที่ 1-2 พร้อมกับนำเสนอต่อคณะกรรมการผ่านทางออนไลน์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

   

 ภาพที่ 2 ลงพื้นที่ติดตามขั้นตอนการทอผ้าไหม(ออกแบบลายใหม่) บ้านโนนตะคร้อและบ้านโคกเมฆ

   

 ภาพที่ 3 ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือกับกลุ่มทอผ้าไหม ที่ โรงเรียนวัดสระทอง

     

 ภาพที่ 4 ลงพื้นที่ติดตามขั้นตอนการทอผ้าไหมกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อ

อื่นๆ

เมนู