บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564

กิจกรรมการย้อมสีธรรมชาติ

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ดิฉัน ปิ่นญาภา แนบทางดี ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน

          กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการย่อมสีธรรมชาติ สีธรรมชาติมีบทบาทเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตขอคนโบราณมายาวนานโดยได้เรียนรู้ที่จะนำสีจากวัสดุธรรมชาติมาใช้ เช่น  ย้อมสิ่งทอ เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม และเครืองสำอาง และสมัยนี้การนำเอาวัตถุดิธรรมชาติมาใช้ในการย้อมผ้าค่อนข้างมีน้อยมาก  โดยทางอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานAG01(1)ได้จัดอบรมการยอมสีธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดลอมและเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคและผู้สวมใส่โดยใช้วัถุดิที่มาจากทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดการย้อม เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีและสีสังเคราะห์  โดยใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ผลิตโดยสีแต่ล่ะสีมีเอกสักษณะที่โดดเด่นเช่น

แหล่งวัตถุดิบของสีธรรมชาติ สีที่ได้
1.มะเกลือ สีดำเทา
2.เพกา เขียวอ่อนเขียวขี้ม้า
3.ฝาง บานเย็นชมพูแดงเลือดหมูสีเหลือง
4.ประดู่ ม่วงแดงน้ำตาล
5.ขมิ้น สีเหลือง,ส้ม
6.เปลือกมะม่วง เขียว.เหลือง

           นอกจากนี้ยังมีการจัดทำสื่อวีดีทัศน์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่น การจัดทำโปสเตอร์ การจัดทำแผ่นพับ และการเผยแพร่สื่อต่างๆ ผ่านระบบ Facebook และสื่อออนไลน์ต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

  •  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม
  • ประสานงานขอใช้พื้นที่วัดบ้านหนองดุม เพื่อขอใช้พื้นที่หอประชุมในการจัดกิจกรรมการอบรมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
  • จัดกิจกรรมอบรมการย้อมเส้นใยผ้าด้วยสีธรรมชาติ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
  • กิจกรรมอบรมอบรมออนไลน์  Zoom Meeting หัวข้อ “มาตรฐานฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management, GFM) สำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง” รุ่นที่ 1 วิทยากรโดย: นายสัตวแพทย์ รัชภูมิ เขียวสนาม (นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์)
  • เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าทอมือด้วยเทคนิคสร้างลายจากแม่ลาย โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
  • ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อสำรวจพรรณไม้ชนิดต่างๆ และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  •  อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในครั้งถัดไป คือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องของการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน การออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ และจัดทำบทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม        

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน

   ดิฉันได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน และได้เข้าไปศึกษา TDGA เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนด

กิจกรรมการย้อมสีธรรมชาติ

          สีธรรมชาติคือสีที่สกัดได้จากวัตถุดิบที่มาจาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการตามธรรมชาติ แหล่งวัตถุดิบของสีธรรมชาติสามารถหาได้จากต้นไม้ ใบไม้  สามารถให้สีสันตามที่เราต้องการ และด้วยกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกันทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสวยงามและสีสันที่หลากหลาย หนึ่งในผลิตภัณ์ที่นิยมมากคือ สีย้อมผ้า แหล่งวัตถุดิบสำหรับสีย้อมผ้าธรรมชาติที่มักนำมาใช้กันมักเป็น พืช สัตว์และแร่ธาตุที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น เพื่อการนำทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การถ่ายทอด ความรู้ความเข้าใจให้แกผู้ที่เข้าร่วมการอบรมยโดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

ผลการสำรวจโควิด19

          ผลจากการเก็บข้อมูลในมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมแต่ส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัดมากสุดเนื่องด้วยสถานณะการ covid-19 ทำให้คนตกงานเป็นจำนวนมากและเดินทางกลับภูมิลำเนาจึงทำให้เกิดผู้ติดเชื้อเพิ่มมากยิ่งขึ้นและทำให้ชาวบ้านในพื้นที่หวาดกลัวและระวังตัวมากขึ้น ทางอบต. พร้อมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและผู้ใหญ่บ้านและอสม.ได้ทำการรับมือโดยใช้โดมอบต.ในการกักตัวผู้ที่มาจากต่างจังหวัดและผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา                                                               

          ในการลงพื้นที่จะแต่ล่ะครั้งทางคณะทีมงาน AG01(1) ควรสอบถามสถานการณ์ในปัจจุบันเบื้องต้นกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อที่จะได้ทราบถึงรายละเอียดของการระบาดโรคโควิด-19 ในรอบที่ 3 เนื่องจากปัจจุบันทางหน่วยงานภาครัฐร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์มีโครงการอุ้มลูกหลานเซาะกราวกลับบ้านสำหรับบุคคลที่เป็นชาวบุรีรัมย์โดยกำเนิด ส่งผลให้มีบุคคลชาวตำบลตูมใหญ่ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 เพิ่มเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ส่งผลต่อการทำงานของคณะทำงาน AG01(1) มีปัญหาในการลงพื้นที่ในการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มค่อนข้างมาก สำหรับการแก้ปัญหาในสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดทางคณะทำงาน AG01(1)ได้แก้ปัญหาโดยสอบถามสถานการณ์เบื้องต้นของแต่ละหมู่บ้านทั้ง 19 กับรองปลัด อบต. ว่ามีหมู่บ้านไหนบ้างสามารถที่จะเข้าไปเก็บข้อมูลได้บ้าง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

  •  ได้ทราบถึงปัญหาในชุมชน
  • ได้เรียนรู้การประสานงานกับรองปลัด อบต. ตูมใหญ่
  • ได้เรียนรู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • ได้เรียนรู้จักสีของธรรมชาติ
  • ได้ประสบการณ์จากเทคนิคการยอมสีธรรมชาติการออกแบบลาย

 แผนการดำเนินงานต่อไป

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป ดังนี้

นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อพิจารณาการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน การออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ และกิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม และบ้านปะคำดง

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือของกลุ่มหรือชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

วันที่ 10 กันยายน 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบโลโก้ การขอขึ้นทะเบียนตราสินค้าผ้าทอมือ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

วันที่ 24 กันยายน 2564 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอมือ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

 

 

 

อื่นๆ

เมนู