ดิฉัน นางสาวศศิธร  ชัยเสน ประเภท บัณฑิตจบใหม่(กพร) ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 2, บ้านโคกเมฆ หมู่ 11, บ้านโนนตะคร้อ หมู่ที่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13  ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายลงพื้นที่ติดตามวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการทอผ้าไหมมัดหมี่

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
                กระบวนการและขั้นตอนการทอผ้าไหม
      เตรียมเส้นยืน ♦ (เส้นยืน คือ เส้นด้ายชุดหนึ่ง ที่เรียงอยู่ในแนวขวาง โดยจะมีเส้นพุ่งคอยขัดสลับให้กลายเป็นผืนผ้า ในการทอผ้า ผู้ทอจะต้องเตรียมเส้นยืนเอาไว้ก่อนเสมอ โดยอาจมีความยาวหลายสิบเมตร)
1. นำเส้นยืนไปฟอก
⇒ โดยการนำเส้นยืนไปฟอกให้นิ่ม แช่ในน้ำด่างโดยทุบเส้นไหมให้อ่อนตัวเพื่อน้ำด่างจะได้ซึมเข้าได้ง่าย แช่จนไหมนิ่มจึงนำไปตากแดดให้แห้ง และที่สำคัญจะต้องระวังไม่ให้ไหมยุ่งหรือพันกัน
2. นำเส้นยืนมากวัก
⇒ โดยการกวักให้เส้นไหมยาวต่อกัน
3. ค้นเครือหูก
⇒ โดยกำหนดก่อนว่าจะทอผ้ากี่เมตร จะเดินเส้นยืนให้เท่ากับความยาวของผืนผ้า จากนั้นให้เอาเชือกฟางวัดกับตลับเมตร ถ้าได้ความยาวแล้วก็ทำเครื่องหมายเอาไว้ จากนั้นก็เรียงหลอดไว้ เพื่อที่จะดึงเส้นไหมค้นเครือ เริ่มจากผูกปลายเส้นไหมที่ถ่ายมาจากอักหรือโบกกับหลักค้นลูกแรกขวามือ แล้ววนไปทางซ้ายผ่านหลักค้นทุกหลักถึงหลักค้นลูกสุดท้าย
4. สืบหูก
⇒ โดยการมัดเส้นยืนเข้ากับหูกทีละเส้นทีละเส้น


ภาพวิธีการสืบหูก

5. พันหูก
⇒ โดยการกางเส้นยืนออกให้เรียบเสมอกันแล้วพันหูกให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมทอ

      เตรียมเส้นพุ่ง ♦ (เส้นพุ่ง คือ เส้นด้ายที่ใช้สำหรับพุ่งไปมา สลับกับเส้นยืน เพื่อให้ขัดกันเป็นผืนผ้า ด้ายเส้นพุ่งนี้มักพันหรือม้วนอยู่ในหลอด บรรจุในกระสวย เพื่อความสะดวกในการสอด หรือพุ่งด้าย)
1. นำเส้นพุ่งไปฟอก
⇒ โดยการนำเส้นพุ่งไปฟอกให้นิ่ม แช่ในน้ำด่างโดยทุบเส้นไหมให้อ่อนตัวเพื่อน้ำด่างจะได้ซึมเข้าได้ง่าย แช่จนไหมนิ่มจึงนำไปตากแดดให้แห้ง และที่สำคัญจะต้องระวังไม่ให้ไหมยุ่งหรือพันกัน
2. นำเส้นพุ่งไปกวัก
⇒ โดยการกวักให้เส้นไหมยาวต่อกัน

ภาพวิธีการกวักไหม

3. นำไปโยก
        ⇒ โดยการทำให้เส้นไหมเป็นไปตามแนวเดียวกันทำให้ง่ายต่อการมัดหมี่ในขั้นตอนถัดไป
4. ออกแบบลาย
⇒ โดยการออกแบบลายผ้าไหมให้มีลวดลายที่สวยงามตามความต้องการของผู้ผลิต

ภาพการออกแบบลายผ้าไหมมัดหมี่             

5. นำไปมัดหมี่
⇒ โดยการมัดหมี่ลายตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยใช้เชือกฟางในการมัดกับเส้นไหมให้แน่น


ภาพวิธีการมัดหมี่

6. นำไปย้อมสีตามต้องการ
⇒ โดยการย้อมสีไหมที่ได้มัดหมี่ไว้แล้ว สามารถย้อมหลายรอบได้ตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้หรือตามความต้องการของผู้ผลิต


ภาพวิธีการย้อมสี

7. แก้หมี่
⇒ โดยการแก้เชือกฟางที่มัดไว้จากขั้นตอนที่แล้วออก(ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เนื่องจาก เส้นไหมเป็นเส้นขนาดเล็กหากไม่ระมัดระวัง อาจจะทำให้มีดตัดเส้นไหมได้)
8. กวักหมี่
⇒ โดยการกวักหมี่ให้เส้นเสมอกัน ไม่ยุ่งพันกัน
9. ปั่นหลอด
⇒ โดยการปั่นเส้นไหมมัดหมี่ให้อยู่ในหลอด แล้วค่อยนำไปสวมใส่ในกระสวยเพื่อเตรียมนำไปทอ


ภาพวิธีการปั่นหลอด

10. ทอผ้าไหม
⇒ โดยการนำหลอดที่มีเส้นไหมมัดหมี่แล้ว มาทอใส่หูกหรือกี่ที่ได้เตรียมเส้นยืนไว้แล้ว
11. ตัดผ้าไหม พร้อมจำหน่าย


ภาพวิธีการทอผ้าไหม


ภาพชุดผ้าไหม ผ้าสิ้นตีนแดงตำบลบ้านคู

ภาพชุดผ้าไหม ผ้าสิ้นตีนแดงทีมงาน U2T ตำบลบ้านคู

                    การอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ
         กิจกรรมเรื่องการผสมสีตามวงจรสี
        สี เป็นทฤษฏีเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ศึกษาศัลปะ ผู้นำงานศิลปะ รวมทั้งผู้ผลิตผ้าทอพื้นบ้าน
1. ความเป็นสีแท้ หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีทุกสีที่ไม่มีสีขาวหรือสีดำเข้าไปผสม ความเป็นสีแท้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
       1.1 แม่สี คือ สีที่เป็นสีอื่นๆซึ่งไม่สามารถสร้างขึ้นจากการผสมของสีใดๆ ให้เกิดเป็นแม่สี มีคุณลักษณะของความเป็นสีแท้ที่สุด ซึ่งมี 3 สี คือ
                 – สีแดง
                 – สีเหลือง
                 – สีน้ำเงิน



ภาพการลงแม่สี

        1.2 สีขั้นที่สอง คือ  สีที่เกิดจากการผสมกันทีละคู่ของแม่สีในปริมาณเท่าๆกัน มี 3 สี คือ
                – สีส้ม   = สีแดง + สีเหลือง
                – สีเขียว = สีเหลือง + สีน้ำเงิน
                – สีท่วง  = สีแดง + สีน้ำเงิน


ภาพการลงสีขั้นสอง

        1.3 สีขั้นที่สาม คือ สีที่เกิดจากการผสมกันทีละคู่ของแม่สีกับสีขั้นที่ 2 ในปริมาณเท่าๆกัน ซึ่งผสมกันแล้วจะมี 6 สี
               – สีเขียวเหลือง = สีเหลือง + สีเขียว
               – สีเขียวน้ำเงิน = สีน้ำเงิน + สีเขียว
               – สีม่วงน้ำเงิน  = สีน้ำเงิน + สีม่วง
               – สีม่วงแดง     = สีแดง + สีม่วง
               – สีส้มแดง      = สีแดง + สีส้ม
               – สีส้มเหลือง   = สีเหลือง + สีส้ม


ภาพการลงสีขั้นสาม

2. สีที่เป็นกลาง หมายถึง สีกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในวงจรสี เพราะเป็นสีที่ไม่ได้รับอิทธิพลอื่นใดจากสีอื่น สีกลางคือสีดำ สีขาว และสีเทา ซึ่งทางศิลปะยังจัดสีน้ำตาลเข้ม สีน้ำตาลอ่อน สีครีม สีเงิน สีทอง เป็นสีกลางอีกด้วย


ภาพบรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ ณ บริเวณอาคาร 3 โรงเรียนวัดสระทอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้
           1.​ ได้​เรียน​รู้กระบวนการทอผ้าไหมมัดหมี่จากกลุ่มทอผ้าไหม

           2​.​ ได้​เรียน​รู้เทคนิคการออกแบบโครงสีในผ้าไหมมัดหมี่

แผนการในการดำเนินงานต่อไป
       มีแผนการ​ดําเนิน​งาน​ใน​เดือน​ กันยายน 2​564 โดย​ทําการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ ให้กับกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด และ​ลงพื้น​ที่สำรวจข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูล U2T และ​สรุป​ผล​ ของ​ข้อ​มูล​ เพื่อ​ใช้​เป็น​ข้อมูล​พื้น​ฐาน​ใน​การ​วางแผน​ดําเนิน​งาน​ต่อ​ไป

อื่นๆ

เมนู