กระผม นายอิทธิพร ปุริเส ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
-วันที่ 3 กันยายน 2564 ทีมงานตำบลบ้านคูลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพให้กับทางสมาชิกกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด ณ บ้านโนนสะอาด โดยได้เชิญวิทยากร อาจารย์เลิศภูมิ จันทร์เพ็ญกุล มาให้ความรู้ในการจัดอบรม ให้ความรู้เรื่องการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย การทำปุ๋ยหมัก การทำระบบน้ำหยด ก่อนการอบรมทางทีมงานได้จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการอบรมไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว เช่น หน่อกล้ววย ขวดน้ำ แกลบ ปุ๋ยคอก
- สูตรการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
วัสดุ
- น้ำจากแหล่งธรรมชาติ
- ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตรหรือมากกว่า
- ไข่ไก่ 1-3 ฟอง
- น้ำปลา
- ผงชูรส
- ถ้วย,ช้อนโต๊
วิธิการทำ
- เตรียมน้ำ 1.5 ลิตร จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
- ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาและผงชูรสลงอย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ (ใส่เปลือกไข่บดลงไปด้วยได้เพื่อเพิ่มแคลเซียม)
- นำไข่ที่ผสมไว้มาใส่ในน้ำที่เตรียมไว้ 1 ช้อน ไม่ควรเกินนั้น และเขย่าขวดเล็กน้อย
- นำขวดไปตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่แดดส่องถึงทุกวัน ใช้ระยะเวลา 7 วัน น้ำจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีเขียวขึ้นอยู่กับน้ำที่เอามาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
ในการทำได้ให้สมาชิกกลุ่มปลูกผักได้ลองทำเอง ในส่วนของการดูแลระหว่างการนำไปตากแดด ถ้ามีฟองเกิดขึ้น ให้บีบปากขวดเพื่อเอาฟองออก
- สูตรการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย
ส่วนผสม
- หน่อกล้วยหั่นสับให้ละเอียดไม่เกิน 7 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 1 ถ้วยตวง
- สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ผสมน้ำ 1 บัว
วิธีการทำ
- ผสมหน่อกล้วย ครั้งละ 7 กิโลกรัม กับกากน้ำตาล 1 ถ้วยตวง
- ใช้เวลาในการหมัก 30-45 วัน ขึ้นอยู่กับการสับละเอียดของหน่อกล้วย
- สามารถเพิ่มอย่างอื่นเข้าไปด้วยได้นอกจากหน่อกล่วย เช่น กล้วยสุก ออกจะเน่า ๆ เพื่อช่วยให้พืชมีรสชาติที่ดีขึ้น
ในส่วนของการดูแล ช่วง 7 วันแรก พยายามเปิดดูตลอดและคน เพื่อเป็นการระบายแก็ส
- สูตรการทำปุ๋ยหมัก
ส่วนผสม
- แกลบ 4 กระสอบ
- ปุ๋ยคอก 2 กระสอบ
- สารเร่งซุปเปอร์ พด.1
วิธีการทำ
- ผสมสารเร่ง พด.1 กับน้ำและกากน้ำตาล แล้วเอาไปเทลงแกลบเพื่อให้ความชุ่มและผสมกับปุ๋ยคอก
- นำน้ำที่ผสมกับสารเร่งและกากน้ำตาลมารดให้ชุ่มผสมให้เข้ากัน
- หาผ้ามาคลุมไว้ให้มิดชิด ใช้เวลาในการย่อย 30-45 วัน
ในส่วนของการดูแล 3 วันแรก ควรเปิดและคน ๆ เพื่อเป็นการระบายความร้อน และสำรวจความชื้น ถ้าแห้งเกินไป ควรรดน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้น
- การทำระบบน้ำหยด
อุปกรณ์
- หัวน้ำหยด
- ท่อพีอีขนาด 20 มิลลิเมตร ยาว 200 เมตร
- ปากกาเจาะท่อพีอี
- ข้อต่อ 3 ทาง ข้อต่องอ 90องศา
อุปกรณ์ในการทำระบบน้ำหยด ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เตรียมไปให้ทั้งหมด
วิธีการทำ
วิทยากรได้สอนวิธีการทำคือ การนำปากกาเจาะท่อและนำหัวน้ำหยดมาใส่ และแนะนำวิธีการวางท่อ และได้ให้สมาชิกกลุ่มปลูกผักได้ลองทำเอง
การฝึกอบรมทักษะ
ได้ทำการฝึกทักษะสำเร็จครบทุกด้านแล้ว ได้แก่
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ได้เรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักจากวัสดุธรรมชาติ และ จากสิ่งที่หาได้จากในครัว
- ได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของปุ๋ยที่ใช้ในการพัฒนาดิน และยังมีอีกอย่างที่ทำได้คือ การป้องกันยุงลายมาวางไข่ได้
- ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
แผนการทำงานในเดือนต่อไป
ในเดือนตุลาคม กลุ่ม AG01(2) ตำบลบ้านคูมีแผนการดำเนินงาน ในด้านการผลักดันกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าไหม ตำบลบ้านคู ให้ได้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ ผ้าคลุมไหล่ ผ่านมาตราฐานที่จะสามารถนำสินค้าเหล่านี้ยกระดับจากชุมชน ให้ก้าวขึ้นมาสู่ระดับตำบล และสามารถทำรายได้ผลกำไรเสริมให้กับกลุ่มสมาชิกทอผ้าไหม พร้อมทั้งเตรียมแผนการทำงานต่อไปคือ การทำให้ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เป็นพื้นที่กลุ่มการเรียนรู้ที่เต็มรูปแบบ