บทความประจำเดือนกันยายน2564 กลุ่ม AGO1(1) กิจกรรมเทคนิคออกแบบโครงสีผ้าไหมและติดตามผลดำเนินงานของ

“กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้าย ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

            ดิฉัน นางสาวจุฑาทิพย์ สุ่มมาตร์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการทอผ้ามือโดยกลุ่มที่ดิฉันได้รับผิดชอบในการติดตามผลดำเนินงาน คือ “กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา ” หมู่.18  มาวิเคราะห์สังเคราะห์ และจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการอาทิ เช่น กิจกรรมเทคนิคออกแบบโครงสีผ้าไหมและการออกแบบโลโก้ประจำกลุ่ม มีการจัดอบรมโครงการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สมาชิกในกลุ่มโดยใช้วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้เพื่อให้ผ้าทอมือมีคุณภาพและเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) รวมถึงให้ผู้เข้าร่วมอบรมและผู้ปฎิบัติงานประจำตำบลตูมใหญ่ได้เรียนรู้เทคนิคออกแบบโครงสร้างสีในผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์และมีกิจกรรมเพิ่มเติมมีการลงพื้นที่จิตอาสาติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดประชุมออนไลน์เพื่อสรุปแผนปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคมและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงานหลังจากนั้นภายในกลุ่มมีการระดมความคิดเห็นรับมอบหมายงานในเดือนกันยายนเพื่อที่จะได้แบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนและเข้าใจงานในส่วนที่ได้รับผิดชอบ

          คณะผู้ปฏิบัติงานAG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ”โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าผ้าทอมือ” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ จากนั้นมีการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่พร้อมด้วยคณะ อบต.ตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนใน อบต. ตูมใหญ่ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) มีการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินของแต่ล่ะกลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ดิฉันได้รับผิดชอบคือ“กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา ” หมู่.18 หลักจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปรายงานประจำเดือนพร้อมจัดทำบทความประจำเดือนกันยายน         

          คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรมีการลงพื้นที่เพื่อรับผ้าและตรวจเช็คมาตรฐานผ้าที่ใช้ส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

          ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และการขอใช้สถานที่ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงวิชาการทุกครั้ง

         ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน  ดิฉันได้ดำเนินงานทำการเข้าศึกษาทักษะ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน ด้านสังคม ภาษาอังกฤษพื้นฐาน  ได้เรียนและสอบได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และผ่านตามเกณฑ์การวัดผล และได้เข้าไปศึกษา TDGA ในรายวิชา ดิจิทัล เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการอบรม กิจกรรมเทคนิคออกแบบโครงสีในผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์  การออกแบบลวดลายประจำกลุ่ม และติดตามผลดำเนินงานของ “กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา ” หมู่.18

          กิจกรรมเทคนิคออกแบบโครงสีในผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ 

การจัดโครงสีสำหรับงานไหมมัดหมี่ (Colour Schemes for Mudmee silkได้ทดลองนำความรู้เรื่องโครงสีมาใช้ในการออกแบบโครงสีสำหรับ งานผ้าไหมมัดหมี่ทอมือ ตามโครงสีที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.สีเอกรงค์ (Monochrome) ออกแบบให้ใช้สีเพียงสีเดียวที่มีความ แตกต่างของน้ำหนักอ่อนแก่ของสีนั้นจากระดับอ่อนสุดไปจนถึงความเข้มสุด เทียบเคียงกับเฉดสีเคมีสำหรับย้อมเส้นไหม เช่น การใช้เส้นพุ่งย้อมด้วยสีขาว ชมพูอ่อน และชมพูสด ทอกับเส้นด้ายยืนสีชมพูสด และการใช้เส้น พุ่งย้อมด้วยสีขาว ฟ้า น้ำเงินสด น้ำเงินกรมท่า แต่ใช้เส้นด้ายยืนสีเขียวกลาง จึง ทำให้เกิดการผสานสีทางสายตา ทำให้ผืนผ้าที่ได้มีสีเขียวอมน้ำเงิน

2.สีพหุรงค์ (Polychromatic) เป็นการใช้สีหลาย ๆ สี ประกอบเป็นโครง สี 2.1 สีตระกูลเดียวกัน การใช้สีตระกูลเดียวกันจำนวน 2 สี สามารถผลิต ผ้าไหมมัดหมี่ให้เกิดความงามได้อย่างกลมกลืน แต่ช่างทอจะจัดลายให้ตรง ตำแหน่งได้ยาก และอาจใช้เวลาในการเพ่งมองนานขึ้น เนื่องจากเฉดสีพื้นและลาย 2.2 สีวรรณะเดียวกัน (Tone) การใช้สีวรรณะเดียวกัน จำนวน 3 สีนั้น สามารถผลิตได้แต่ในการทอจะมีความยากเนื่องจากเฉดสีพื้นและลายใกล้เคียงกัน มาก ถ้าใช้ค่าน้ำหนักของสีลายและสีพื้นเท่า ๆ กันยิ่งจะทำให้ผลงานที่ได้จะขาด มิติของสี เสนอให้ใช้สีกลมกลืน (Harmony) ในวรรณะเดียวกัน2.3 สีตรงข้ามหรือสีคู่ประกอบ (Complementary Colours) กรณี เลือกใช้สีตรงข้ามแท้ (Complementary Colours) จำนวน 1 คู่นั้นมีความ เหมาะสมในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่สีพื้นตัดกับลายอย่างเด่นชัด เสนอทางเลือกใน การออกแบบด้วยการเล่นค่าน้ำหนักของสีในคู่สีตรงข้ามแท้ 2.4 สีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม 2 สี(Split Complementary) หมายถึงการใช้สีหนึ่งกับสีสองสีที่อยู่ข้างสีคู่ตรงข้ามกันสองสี (โดยไม่ใช้สีคู่ตรงข้าม ของสีนั้น) จำนวน 2 คู่ โครงสีตรงข้ามไม่แท้นี้ไม่เหมาะสมในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ เนื่องจากคู่สีตรงข้ามที่ใกล้เคียงกันจะมีเฉดสีใกล้เคียงกัน เช่น สีม่วงแดง สีม่วงน้ำ เงินตรงข้ามกับสีเขียวเหลืองและสีส้มเหลือง

         ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการจัดอบรม กลุ่มผู้ผลิตกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ ได้จากการอบรมนำไปสู่การปฏิบัติทำให้เกิดผลผลิตเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม โดย มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเมื่อลูกค้าไปพบขณะผลิต จึงมีการผลิตซ้ำเพื่อจำหน่ายเป็น สินค้าของกลุ่ม และมีการทดลองผสมสีย้อมให้เกิดสีตามหลักการผสมสีตามวงจรสี

        

            การออกแบบลวดลายประจำกลุ่ม และติดตามผลดำเนินงานของ “กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา ” หมู่.18

เพื่อที่จะสร้างเป็นเอกลักษณ์ประจำของกลุ่มและสื่อถึงตำบลตูมใหญ่ ซึ่งการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์จะช่วยทำให้สินค้ามีคุณค่าและน่าสนใจ ทำให้เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นและต้องการกลุ่มภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้น การพัฒนากลไกทางการตลาด การพัฒนาเป็นตลาดออนไลน์ทางกลุ่มของพวกเราก็ได้จัดทำ Facebook Fanpage และ Line official\เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

            ทางกลุ่ม ผู้ปฎิบัติงาน มีการมุ่งเน้นการหาสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ประกอบไปด้วย

-พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

-พัฒนากลไกทางการตลาด

-ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เช่น หน่วยงานภาครัฐและบุคลากรทางการศึกษา

            และติดตามผลดำเนินงานของ “กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา ” หมู่.18 ที่ต้องการส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จำนวน 3ชนิด ได้แก่

  1. ผ้าขาวม้า(สีเคมี)เลขที่ขอ มผช.197/2557
  2. ผ้ามัดหมี่ (สีเคมี)เลขที่ขอ มผช. 17/2557
  3. ผ้าพันคอ(สีเคมี)เลขที่ขอ มผช. 247/2557

เส้นใยที่ใช้

  1. ผ้าขาวม้า:เส้นด้ายใยประดิษฐ์ (เรยอน)
  2. ผ้าถุง :ผ้าฝ้าย เส้นด้ายใยประดิษฐ์ (เรยอน)
  3. ผ้าพันคอ:เส้นด้ายใยประดิษฐ์ (เรยอน)

 

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
          ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่เข้ามาในตำบลตูมใหญ่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากพื้นที่สีแดงทำให้มีกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านตูมน้อยส่วนใหญ่มีความระวังตัวมากขึ้นเมื่อไปพื้นที่เสี่ยง ทาง อสม และผู้ใหญ่บ้านมีการคัดกรองก่อนเข้าหมู่บ้าน ส่วนกลุ่มคนที่มาจากต่างจังหวัดทางอสม และผู้ใหญ่บ้านมีการกักตัวเพิ่มเติม 14 วัน และบังคับทุกกลุ่มคนที่มาจากจังหวัดตรวจโควิดทุกคน และทางผู้ใหญ่บ้านพร้อมอสม. ได้ให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้คนในตำบลตูมใหญ่ได้ให้ลงชื่อเพื่อฉีดวัคซีนเพื่อป้องโควิด

 ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนกันยายน ในส่วนของกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอพบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะทำงาน จึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ของตำบลตูมใหญ่

  • ได้เรียนรู้ถึงปัญหาการลงพื้นที่ในช่วงโควิดระบาด
  • ได้เรียนรู้ถึงวิธีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่นในรูปแบบของการตลาดออนไลน์
  • ได้เรียนรู้เทคนิคการออกแบบโครงสีในผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัย
  • ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบโลโก้ประจำกลุ่ม
  • ได้เรียนรู้การติดต่อประสานงานในองค์กรมากขึ้น

แผนการดำเนินงานต่อไป

          ภายในเดือนตุลาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม
  2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ และโปสเตอร์การท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  4. การ​เผยแพร่​สื่อประชาสัมพันธ์​การท่องเที่ยวและการพัฒนา​ตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์​ชุมชนผ่าน​แพลตฟอร์ม​เฟสบุ๊ค
  5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่
  6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู