ดิฉันนางสาวจิตรเลขา เจนไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
มีส่วนร่วมในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ: การผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักกลับกอง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และการบริหารจัดการน้ำทางการเกษตรโดยใช้ระบบน้ำหยด

น้ำหมักชีวภาพ คือ น้ำหมักที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นด้วยจุลินทรีย์จำเพาะ ซึ่งอาจหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง กระบวนการหมักของน้ำหมักชีวภาพจะเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้กากน้ำตาลและน้ำตาลจากสารอินทรีย์เป็นแหล่งพลังงาน
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพด้านการเกษตร ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินและน้ำ ใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์เพื่อเร่งการเกิดราก และการเจริญเติบโตของพืช เป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืชกระตุ้นการเกิดราก ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตรช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ช่วยในการแตกตาดอก เพิ่มความแข็งแรง ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตและคุณภาพสูงขึ้น ปัจจุบันน้ำหมักชีวภาพที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและได้รับความนิยมในการปลูกผักอินทรีย์

น้ำหมักชีวภาพจากไข่ไก่ ซึ่งมีส่วนประกอบและวิธีการทำดังนี้
- ชั่งไข่ไก่ 5 กิโลกรัม
- ใช้เครื่องปั่นน้ำผลไม้ ปั่นไข่ไก่ให้ละเอียด (ปั่นพร้อมเปลือก)
- ชั่งกากน้ำตาล 5 กิโลกรัม
- นำไข่ไก่ และกากน้ำตาลผสมให้เข้ากัน
- เทยาคูลท์ลงไปผสม
- บี้แป้งข้าวหมากลงไปผสม
- คนให้เข้ากัน ปิดฝา แล้วเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 14 วัน
การทำปุ๋ยหมักมูลวัว หรือปุ๋ยคอกหมัก
ส่วนประกอบของ การทำปุ๋ยคอกหมัก
1.ปุ๋ยคอก 1 ส่วน (1 กระสอบ)
2.แกลบ 1 ส่วน (1 กระสอบ)
3.รำ 1 ส่วน (1 กระสอบ)
4.น้ำ EM ขยาย 1 ลิตร วิธีทำน้ำ EM ขยาย
5.กากน้ำตาล 1 ลิตร
6.น้ำสะอาด 25 ลิตรหรือมากกว่า

