1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนกันยายน 2564 กลุ่มAG01(1) กิจกรรมการอบรมการพัฒนากลุ่มผ้าทอมือและการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนกันยายน 2564 กลุ่มAG01(1) กิจกรรมการอบรมการพัฒนากลุ่มผ้าทอมือและการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนกันยายน 2564 กลุ่มAG01(1)
กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ และกิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี ตำบลตูมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
เขียนโดย : นางสาวกรกฎ เสตะจันทน์

บทความประจำเดือนกันยายน 2564
           กลุ่ม AGO1(1)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
           เรื่อง กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์
และกิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี
           ดิฉัน นางสาวกรกฎ เสตะจันทน์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องจัดเตรียมสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการและได้มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมอบรมกิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ และกิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี

           

           


กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
         คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้เข้าประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบGoogle Meet เพื่อรับทราบรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนกันยายน
         คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
         คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าผ้าทอมือ” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
         คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
         คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาติดป้ายต้นไม้ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
         คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) จัดทำบทความประจำเดือนกันยายน
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และการขอใช้สถานที่ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการอบรมทุกครั้ง
         ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน ด้านสังคม Social Literacy ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด

กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ และกิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี
          การทอผ้ามือของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีกลุ่มทอผ้ามือทั้งหมดจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่
การทอผ้ามือของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีกลุ่มทอผ้ามือทั้งหมดจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่
        1. กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย
           สถานที่ตั้ง : บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้อมูลของกลุ่มโดยสังเขป คือ กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2559 ประธานกลุ่ม คือ นางปัณฑิตา แก้วกูล
         

          2. กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม
             สถานที่ตั้ง : บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้อมูลของกลุ่มโดยสังเขป คือ กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุม เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2561 ประธานกลุ่ม คือ นางอนงค์ ทบแก้ว
         

          3. กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18
             สถานที่ตั้ง : บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้อมูลของกลุ่มโดยสังเขป คือ กลุ่มทอผ้าซิ่นผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2559 ประธานกลุ่ม คือ นายกาล เจียมจิตร
         

กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ
          เนื่องจากความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อสินค้าจากลวดลาย สีสัน และเนื้อผ้า คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร และวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ จึงได้มีการนำองค์ความรู้เรื่องการจัดโครงสร้างสี ตามหลักทฤษฎีสี มาใช้ออกแบบสีในการมัดหมี่ที่เส้นด้ายพุ่ง โดยใช้โครงสร้างสีแบบเอกรงค์ (การใช้สีเดียว ที่มีน้ำหนักสีอ่อนไปจนถึงแก่ หรือสีตระกูลเดียวกัน) และแบบพหุรงค์ (การใช้สีหลายๆ สีร่วมกัน) และมีการเพิ่มเทคนิคการออกแบบสีของผ้าไหม โดยนำเส้นด้ายยืนสีกลางที่มีน้ำหนักสีต่างกัน มาเปลี่ยนค่าน้ำหนักของสีผ้า เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต โดยฝึกให้ผู้เข้าร่วมอบรมเรียนรู้กระบวนการในการผสมสีต่างๆ บนวงจรสี เพื่อที่จะนำความรู้และวิธีการที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตอุสาหกรรมผ้าของกลุ่มหรือของตนเองได้


          

          

          

กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าผ้าทอมือ
             

             

การออกแบบตราสัญลักษณ์ (LOGO)
           โลโก้ คือชื่อ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า อาจมีลักษณะเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบโดดเด่น หรือเป็นภาพที่มีชื่ออยู่ด้วย เป็นสัญลักษณ์หรือมิเช่นนั้น ก็ประกอบขึ้นด้วยทุกองค์ประกอบที่กล่าวมารวมกัน แต่ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นอย่างไร โลโก้ก็คือ การบ่งบอกถึงภาพลักษณ์
            การออกแบบโลโก้นั้นต้องสามารถดึงดูดใจผู้พบเห็น เพื่อสร้างภาพจำให้กับผู้ซื้อ และควรมีที่ว่างให้ผู้พบเห็นค้นหาความหมายที่ต้องการสื่อออกมา ทั้งนี้ต้องดูไม่ยากเกินไปด้วย จดจำได้ง่าย สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ โลโก้จะต้องออกมาทำให้ลูกค้าสามารถจินตนาการถึงผลิตภัณฑ์ ต้องมีข้อมูลช่องทางการติดต่อ แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถเผยแพร่ได้ง่ายและลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้สะดวก โลโก้ที่ดีควรใช้ได้ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบนป้ายหัวกระดาษเขียนจดหมาย นามบัตร ตัวสินค้าหรือเว็บไซต์ มีเอกลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์


กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี
              

              

            การตกแต่งผ้าโดยใช้แคปซูลกลิ่นหอมที่เรียกว่านาโนเทคโนโลยีเป็นการตกแต่งสำเร็จเพื่อให้มีกลิ่นหอมโดดเด่น และใช้สารที่ทำให้ผ้ามีสัมผัสนุ่มลื่น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มสัมผัสพิเศษให้กับผ้า สามารถดึงดูดผู้ซื้อให้เกิดความสนใจและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์


ลงพื้นที่จิตอาสาติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้
       

       
             ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19
              ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในตำบลตูมใหญ่ รู้เกี่ยวกับโรคระบาดแต่ไม่รู้ถึงวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อของโรคโควิค-19 และในจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีโครงการรับคนบุรีรัมย์ที่ติดเชื้อโควิด-19 กลับมารักษาตัวอยู่ที่ภูมิลำเนาซึ่งในปัจจุบันทางจังหวัดได้ดำเนินการควบคุมโรคระบาดโควิด-19 ได้บ้างแล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนผู้ป่วยที่ติดเชื้อในขณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มาจากพื้นที่สีแดงกลับมารักษาตัวอยู่จังหวัดบุรีรัมย์

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
             ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเดือนกันยายน พบปัญหาหลายด้าน ด้านสำรวจกลุ่มทอผ้าไหมทอมือ ปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ด้านสภาพอากาศ เช่น บางวันมีฝนตก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
      – ได้เรียนรู้การทำผ้าหอมและผ้านุ่มจากการใช้นาโนเทคโนโลยี
      – ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มจุดเด่นให้กับผ้า
      – ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบลายผ้าโดยใช้โครงสี
      – ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการย้อมเพื่อเปลี่ยนสีผ้า

แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือนตุลาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้
           1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม
           2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ และโปรเตอร์การท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
           3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
           4. การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค
           5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่
           6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
           7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

        หมายเหตุ แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

อื่นๆ

เมนู