การพัฒนาทักษะอาชีพใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมชุมชน
ภายใต้กิจกรรม การพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่
ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นางสาวนิภาพร แขนคันรัมย์
ประเภท บัณฑิตจบใหม่
AG03(1)-คณะเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
รายงานปฏิบัติงาน เดือนกันยายน 2564
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ด้วยการพัฒนาและส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านสู่นวัฒนกรรมใหม่ ๆ ที่หลากหลายและทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการในโลกปัจจุบัน ขยายการส่งออกสู่ตลาดกว้างในอนาคต
จากที่ได้จัดกิจกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชน และติดตามพัฒนาการการทอเสื่อของชาวบ้าน ผลิตภัณฑ์เสื่อที่ชาวบ้านทอมีความสวยงาม ลายเส้นเล็กละเอียด ลายดูมีความประณีตทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมีดูสวยงามขึ้นมาก
(การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อโดยใช้กกเส้นเล็กทำให้มีความละเอียดมากขึ้น)
ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตามหลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน 2564 ได้จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะอาชีพใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชน ภายใต้กิจกรรม การพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ ณ บ้านผักกาดหญ้า ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จารุณี ชัยโชติอนันต์ และ รศ.สมบัติ ประจญศานต์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการพัฒนาเสื่อ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การพัฒนาและออกแบบลวดลายเสื่อ การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเสื่อกก และฝึกปฏิบัติการพัฒนารูปแบบและวีธีการหรือขั้นตอนในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ อาสนะสงฆ์ กระเป๋าใส่เงิน กระเป๋าอเนกประสงค์ ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติเป็นอย่างดีเยี่ยม ได้ให้ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาของชาวบ้านเป็นผลิตภัณฑ์เสื่องานฝีมือที่มีความประณีตทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น การพัฒนาลวดลายเสื่อให้หลากหลายและสวยงาม นอกจากนี้ยังสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื่อเป็นกระเป๋าหลากหลายรูปแบบได้อีกด้วย
(ภาพประกอบการจัดกิจกรรม)
ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้และการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่กลุ่มผู้ทอเสื่อหัตถกรรมพื้นบ้านตำบลพรสำราญแล้ว ทีมผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลพรสำราญ จะดำเนินการติดตามพัฒนาการการพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์เสื่อของชาวบ้าน การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์อาสนะสงฆ์จากฝีมือของชาวบ้านต่อไป เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการนี้