1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือนกันยายน 2564 กลุ่ม AG01(1) กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนกันยายน 2564 กลุ่ม AG01(1) กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนกันยายน 2564

กลุ่ม AGO1(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวพรรณิภา  หิรัญโท ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ บ้านกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านโนนเจริญ บ้านปะคำดง บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง บ้านกระทุ่มนอก บ้านโคกสำราญ บ้านเมืองกับ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองบัวพัฒนา และบ้านใหม่เจริญสุข ซึ่งในเดือนกันยายนนี้ดิฉันขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับ “กิจกรรมเทคนิคการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ” ของกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทอผ้ามือบ้านหนองบัว บ้านตูมน้อย บ้านหนองดุม และบ้านปะคำดง โดยจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคและผู้สวมใส่ โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 กิจกรรมเทคนิคการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ

ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ถือเป็นแหล่งที่ผู้คนในชุมชนท้องถิ่นยังคงสืบสานและรักษาภูมิปัญญาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมผลิตเป็นผืนผ้าทอมือที่มีคุณภาพมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีในประเทศ การพัฒนาสินค้า ชุมชนประเภทผ้าไหมมัดหมี่ทอมือนั้นมีความจำเป็นเร่งด่วน และผู้บริโภคต้องการให้มีการพัฒนาลวดลายและสีให้เลือกหลากหลาย รวมถึงมีการตัดสินใจซื้อผ้าไหมจากสีสันและลวดลายที่สวยงามถูกใจ ทั้งนี้ คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร จึงได้เล็งเห็นจุดด้อยคือลวดลายและสีที่ยังมีให้เลือกหลากหลายยังไม่หลากหลายและแปลกใหม่ของผ้าทอมือในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร จึงได้เรียนเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ ได้มีการนำองค์ความรู้เรื่องการจัดโครงสร้างสี ตามหลักทฤษฎีสี มาใช้ออกแบบสีในการมัดหมี่ที่เส้นด้ายพุ่ง โดยใช้โครงสร้างสีแบบเอกรงค์ (การใช้สีเดียว ที่มีน้ำหนักสีอ่อนไปจนถึงแก่ หรือสีตระกูลเดียวกัน) และแบบพหุรงค์ (การใช้สีหลายๆ สีร่วมกัน) และมีการเพิ่มเทคนิคการออกแบบสีของผ้าไหม โดยนำเส้นด้ายยืนสีกลางที่มีน้ำหนักสีต่างกัน มาเปลี่ยนค่าน้ำหนักของสีผ้า  และมีการแยกเส้นพุ่งที่มีการมัดหมี่ไปทอขัดกับเส้นด้ายยืนที่ต่างสี จึงช่วยเพิ่มความหลากหลายของสีสันผ้าไหมมัดหมี่ให้มีความร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะนำความรู้และวิธีการที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตอุสาหกรรมผ้าของกลุ่มหรือของตนเองได้ โดยให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวงจรสี การจัดโครงสี และการจัดโครงสีสำหรับงานไหมมัดหมี่ ดังนี้

                      ทฤษฎีสี

 แม่สี หรือสีขั้นต้น (primary colours) มี 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้ง 3 สี เป็นสีที่ไม่สามารถผสมขึ้นมาได้ แต่สามารถผสมเข้าด้วยกันเป็นสีอื่น ๆ ได้

 สีขั้นที่สอง (secondary colours) มี 3 สี เกิดจากการนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันเข้าทีละคู่ก็จะได้สีออกมาดังนี้

– สีเหลือง + สีแดง > สีส้ม
– สีเหลือง + สีน้ำเงิน > สีเขียว
– สีแดง + สีน้ำเงิน > สีม่วง

 สีขั้นที่สาม (tertiary colours) เป็นสีที่ได้จากการนำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ ก็จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี คือ ส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน

 สีกลาง (neutral colour) เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาสีทุกสีผสมรวมกันเข้า หรือเอาแม่สีทั้ง 3 สี รวมกัน ก็จะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่ ๆ เกือบดำ

การจัดโครงสี

การจัดโครงสี เป็นการกำหนดหรือเลือกกลุ่มสีที่จะนำไปใช้ให้สัมพันธ์กันมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับความตื้นลึก ใกล้ไกล หรือมิติต่างๆ สร้างความเร้าใจและการแสดงออกของอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนความคิดต่างๆคุณสมบัติของสีกับการจัดโครงสี

ก่อนที่จะเลือกโครงสีใดมาใช้นั้นจะต้องคำนึงถึงการเลือกใช้คุณสมบัติของสีประกอบด้วยเสมอ ได้แก่ การเลือกใช้ สีแท้ น้ำหนักสี และ ความสดของสี

  1. การเลือกใช้สีแท้ มีหลักการเลือกอยู่ 2 ประการ คือ เลือกใช้สีจากความหมายของสีและเลือกจากกลุ่มสีที่อยู่ด้วยกันได้หรือการเลือกสีในโครงสี
  2. การเลือกน้ำหนักสี เป็นการเลือกสีตามน้ำหนักอ่อนแก่ ความมืดสว่างของสีทำให้บรรยากาศของภาพแตกต่างกัน
  3. การเลือกความสดของสี เป็นการเลือกสีให้มีความสอดคลอ้งกับอารมณ์และความรู้สึก หรือแนวคิดที่ต้องการแสดงออก สีที่มีความสดสูงจะให้ความรู้สึกของความรุนแรง สะดุดตา น่าตื่นเต้น แต่ถ้าเป็นสีที่มีความสดต่ำจะทำให้ภาพนั้นดูแล้วรู้สึก เศร้าหมอง หดหู่ ดูสงบ ไม่สะดุดตา ถ้าอยู่ในระดับพอเหมาะก็จะดูสบายตา

สีเอกรงค์ คือ สี สีเดียวหรือสีที่แสดงออกมาเด่นเพียงสีเดียว ซึ่งเหมือนว่าจะคล้ายคลึงกับสีส่วนรวมหรือสีครอบงำ  แต่ที่จริงแล้วสีทั้งสองชนิดมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป สีส่วนรวมนั้นสีที่ใช้อาจเป็นสีสด หรือสีที่ลดค่าลงไปแล้ว แต่สีเอกรงค์ต้องใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสีสดยืนพื้นเพียงสีเดียวแล้วลดค่า น้ำหนักอ่อนแก่ ในระยะต่างๆ เป็นต้น

หลักเกณฑ์คือ เมื่อเอาสีที่สดใสเป็นจุดเด่นของภาพแล้ว สีที่เป็นส่วนประกอบรอบๆต้องลดค่าความสดลงแล้วนำเอาสีที่จุดเด่นนั้นไปผสมด้วยบ้างทุกๆแห่งในภาพ ข้อสำคัญคือ สีที่จะนำมาประกอบนั้นจะใช้กี่สีก็ตาม แต่โดยมากนิยมใช้ไม่เกิน 5 สีโดยนำเอามาจากวงจรสีด้านหรือวรรณะใดวรรณะหนึ่ง ไม่นิยมนำมาจากสองวรรณะ รวมทั้งสีที่ต้องการใช้เป็นสียืนพื้น(เอกรงค์)ด้วยเพราะสีที่อยู่ในด้านหรือวรรณะเดียวกันจะผสานกลมกลืนกันง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น ถ้าเลือกสีมา 6 สีจากวงจรสีคือ เหลือง ส้ม แสด แดงชาด แดงเลือดนก และม่วงแดง  เมื่อจะทำเอกรงค์ของสีเหลือง ก็ใช้สีเหลืองเป็นหลักหรือสีเด่น วางจุดใดจุดหนึ่งของภาพแล้วนำสีอื่นๆข้างต้นมาลดค่าหรือความสดใสลง(neutralized) โดยการนำเอาสีตรงข้างของแต่ละคู่มาผสมลงไปพอสมควร  เมื่อจะระบายก็นำเอาสีเหลืองที่เป็นสียืนพื้นเข้ามาผสมด้วยเล็กน้อยก็จะได้สีเอกรงค์ของสีเหลืองตามที่เราต้องการ

การสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยสีเอกรงค์นี้จะได้ผลงานที่งดงาม เพราะโครงสร้างสีจะดูไม่รุนแรง เพราะว่าจะมีเรื่องสีตัดกันเข้าไปผสม และสีแต่ละวรรณะก็ไม่เข้าไปปะปนซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นงานศิลปะที่มีโครงสร้างประณีต  ผลงานชิ้นเด่นๆของโลกก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของสีเอกรงค์คือ โครงสร้างของสีจะละเมียดละไม ไม่เบื่อง่ายเหมือนกับการใช้สีหลายสีมาผสมผสานกัน

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ ได้จากการอบรมนำไปสู่การปฏิบัติทำให้เกิดผลผลิตเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม โดย มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเมื่อลูกค้าไปพบขณะผลิต จึงมีการผลิตซ้ำเพื่อจำหน่ายเป็น สินค้าของกลุ่ม และมีการทดลองผสมสีย้อมให้เกิดสีตามหลักการผสมสีตามวงจรสี สามารถถ่ายทอดความรู้สู่สมาชิกคนอื่นภายในกลุ่มและกลุ่มอื่นที่มาศึกษาดูงานได้และการจัดกิจกรรมมีส่วนสำคัญต่อการ สืบสาน รักษา และต่อยอดภูมิปัญญาของบรรพชนที่สะสมมาเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของไทย ได้แก่ งานศิลปกรรมประเภทงานหัตถกรรมท้องถิ่น กล่าวคือ กิจกรรมของโครงการเป็นการสืบสาน ทำให้ช่างฝีมือสามารถรักษาภูมิปัญญาการ ผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในชุมชนไว้ โดยสร้างโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ผลิตให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาการผลิต และเรียนรู้แนว ทางการแก้ปัญหาร่วมกัน ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเพิ่มมูลค่าด้วยการทดลองออกแบบสร้างสรรค์โครงสีตามหลักการทาง ศิลปะ เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผ้าไหมมัดหมื่ อันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ของลูกค้าต่อไป

 

อื่นๆ

เมนู