1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน กันยายน 2564 กลุ่ม AGO1(1)กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยีและการติดตามการทำงานบ้านหนองบัวพัฒนา ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรมย์

บทความประจำเดือน กันยายน 2564 กลุ่ม AGO1(1)กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยีและการติดตามการทำงานบ้านหนองบัวพัฒนา ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรมย์

บทความประจำเดือน กันยายน 2564

กลุ่ม AGO1(1)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เรื่อง  กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี

และการติดตามการทำบ้านหนองบัวพัฒนา            

ตำบลตูมใหญ่  อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

กระผม นายพงษ์เรศ จันทร์อินทร์ ประเภทประชาชน  ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดเตรียมสถานที่ก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมกับได้ดำเนินการติดตามการดำเนินงานบ้านหนองบัวพัฒนา และได้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ และกิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์     

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ได้เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อรับทราบรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนกันยายน

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าผ้าทอมือ” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี” โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่ดำเนินการติดตามการดำเนินงานของการทอผ้าขาวม้าบ้านหนองบัวพัฒนา

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) จัดทำบทความประจำเดือนกันยายน

             ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และการขอใช้สถานที่ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการอบรมทุกครั้ง

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน

             กระผมได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด

การวิเคราะห์กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยีและการติดตามกาดำเนินงานผ้าขาวม้าบ้านหนองบัวพัฒนา           

 กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี

            กิจกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยีเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กลุ่มผู้ที่สนใจในชุมชนตำบลใหญ่ เพิ่มมูลค่าของผ้าทอทอให้มีค่าเพิ่มขึ้นจากการใช้นาโนเทคโนโลยี

ผ้าหอม

        การตกแต่งสำเร็จเพื่อให้มีกลิ่นหอม โดยการตกแต่งกลิ่นผ้าด้วยแคปซูลกลิ่นหอมซึ่งจะช่วยเพิ่มสมบัติพิเศษให้กับผ้า เนื่องจากแคปซูลที่บรรจุกลิ่นจะแตกออกเมื่อได้รับแสง หรือการสัมผัส ทำให้เทคโนโลยีการตกแต่งกลิ่นหอมลงบนผ้าแพร่หลายขึ้น ซึ่งปัจจุบันสามารถบรรจุกลิ่นต่างๆ ลงไปภายในแคปซูลตามที่ต้องการได้ เช่น  ลาเวนเดอร์  และกุหลาบ เป็นต้น แต่ละกลิ่นสามารถนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันได้ เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล ผ้าพันคอ ผ้ามัดหมี่ เป็นต้น

ผ้านุ่ม

          ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเส้นใยทุกประเภท การตกแต่งให้ผ้ามีคุณสมบัตินุ่มลื่น นอกจากจะทำให้ผ้ามีคุณสมบัติสวมใส่สบายแล้ว ยังทำให้ผ้ามีเนื้อนุ่มมากขึ้น และช่วยลดการยับ ทำให้ผ้ามีคุณสมบัติคืนตัวได้ดีอีกด้วย และยังต่อยอดใช้ในผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความนุ่มสบายเมื่อสัมผัสเนื้อผ้าในระหว่างการใช้งานทั้งสิ้น

 

 

 

 

 

 

 

การติดตามการดำเนินการทอผ้าขาวม้าบ้านหนองบัวพัฒนา

          จากการลงพื้นติดตามการดำเนินงานการทอผ้าขาวม้าบ้านหนองบัวพัฒนา ทางกลุ่มบ้านหนองบัวพัฒนาได้ดำเนินการทอผ้าขาวม้าไปแล้วประมาณ 60% เนื่องจากทางกลุ่มประสบปัญหาการทอผ้าขาวม้าแล้วผ้าความกว้างไม่ได้มาตรฐานตาม มผช. กำหนด ทางกลุ่มจึงต้องปรับวิธีการทอใหม่โดยต้องเปลี่ยนฟืมใหม่ให้มีความกว้างมากขึ้น

ผลจาการสำรวจเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

        ผลจากการสำรวจข้อมูลในเดือนกันยายน พบว่า ชาวบ้านในชุมชนที่กระผมรับผิดชอบทราบข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้  ทางคณะองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่พร้อมกับโรงบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูมใหญ่ทั้ง 2 แห่ง ได้มีความเตรียมพร้อมในการรับมือต่อสถานการณ์ต่างๆ เช่น จัดเป็นศูนย์พักพิงให้กับผู้กลับมาจากต่างจังหวัดทำให้การทำงานในช่วงเดือนกันยายน ในส่วนของเรื่องการฉีดวัคซีนชาวบ้านตำบลตูมใหญ่ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 75%

ปัญหาอุปสรรคในการทำงานและการแก้ไขปัญหา                                                                      

          ในการทำงานเดือนกันยายน พบปัญหาด้านการทอผ้าขาวม้าที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มผช. ผู้ปฏิบัติงาน  AG01(1) จึงได้ปรึกษากับอาจารย์ประจำโครงการเพื่อหาทางแก้ปัญหา ได้วิธีแก้ปัญหาโดยกการเปลี่ยนฟืมทอผ้าขาวม้าเป็นฟืมทอผ้ามัดหมี่เพราะขนาดฟืมจะได้มีความกว้างมากขึ้นทำให้ผ้าขาวม้าที่ทอนั้นผ่านมาตรฐาน มผช. ตามกำหนด

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

  • ได้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหาของผ้าขาวม้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานของกลุ่มบ้านหนองบัวพัฒนา
  • ได้ทราบถึงการทำงานในช่วงโรคโควิดระบาดในรอบที่ 3
  • ได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยี
  • ได้เรียนรู้ถึงการทำงานของทีม

แผนการดำเนินงาน เดือนตุลาคม

ภายในเดือนตุลาคม 2564 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม
  2. คืนองค์ความรู้สื่อการท่องเที่ยว อาทิ แผ่นพับ และโปรเตอร์การท่องเที่ยวของตำบลตูมใหญ่ ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  3. ลงพื้นที่จิตอาสาเก็บข้อมูลป่าไม้ชุมชนต่อเนื่อง และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลต้นไม้ ในเขตปกปักษ์รักษาทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  4. การ​เผยแพร่​สื่อประชาสัมพันธ์​การท่องเที่ยวและการพัฒนา​ตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์​ชุมชนผ่าน​แพลตฟอร์ม​เฟสบุ๊ค
  5. ติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างอาชีพใหม่ และสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยวสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะอาชีพใหม่
  6. ติดตามผลการดำเนินงานในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือในเดือนตุลาคมต่อเนื่องจากการส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  7. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

 

อื่นๆ

เมนู