บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1)กิจกรรมแข่งขันแฮกกาธอน
และการยกระดับการท่องเที่ยว“หนองสิม” ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางสาวจุฑาทิพย์ สุ่มมาตร์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในการเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันแฮกกาธอนและกิจกรรมการวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มทอผ้ามือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย)มีการจัดอบรมเพื่อให้องค์ความรู้แก่สมาชิกในกลุ่มโดยใช้วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้และให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคและผู้สวมใส่ พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) รวมถึงวิธีการตรวจสอบลักษณะทั่วไปของผ้าทอมือ(ผ้ามัดหมี่ผ้าขาวม้าผ้าพันคอผ้าคลุมไหล่ผ้าทอลายขัดพื้นฐานผ้ายกดอก หรือผ้าชนิดอื่นๆ)และการทดสอบการตกติดของสีเบื้องต้นนอกจากนี้ยังมีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลท่องเที่ยวในชุมชนและปักหมุดสถานที่ท่องเที่ยวโดยใช้แอพพลิเคชั่น Handy GPS ร่วมด้วย
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดประชุมออนไลน์เพื่อสรุปแผนปฎิบัติงานในเดือนมิถุนายนและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงานหลังจากนั้นภายในกลุ่มมีการระดมความคิดเห็นรับมอบหมายงานในเดือนกรกฎาคมเพื่อที่จะได้แบ่งหน้าที่ในการปฎิบัติงานได้อย่างชัดเจนและดำเนินการสรุปงานการท่องเที่ยวและสรุปรายงาน 3 เดือนแรก
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) ได้มีการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอใช้พื้นที่หอประชุมในการอบรมเชิงวิชาการกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ และกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มทอผ้ามือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) ตำบลตูมใหญ่
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบและการพัฒนากลไกทางการตลาด การพัฒนาเป็นตลาดออนไลน์ทางกลุ่มของพวกเราก็ได้จัดทำ Facebook Fanpage และ Line official เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มทอผ้ามือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) ในเรื่องของการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)และการย้อมสีจากธรรมชาติโดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่พร้อมด้วยคณะ อบต.ตูมใหญ่บ้างส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนใน อบต. ตูมใหญ่ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) บ้างส่วนได้เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันแฮกกาธอน ได้มีการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุมที่มีการย้อมสีจากสีธรรมชาติ ซึ่งตรงกับสิ่งที่ทางกลุ่มของเราโดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพื่อปลอดภัยจากสีเคมีหรือสีสังเคราะห์หลักจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปรายงานประจำเดือนพร้อมจัดทำบทความประจำเดือนกรกฎาคม
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และการขอใช้สถานที่ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงวิชาการทุกครั้ง
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้ดำเนินงานทำการเข้าศึกษาทักษะทั้ง4ด้านได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน ด้านสังคม ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ได้เรียนและสอบได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และผ่านตามเกณฑ์การวัดผลเรียบร้อยแล้ว และได้เข้าไปศึกษา TDGA ในรายวิชา ดิจิทัล เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการกิจกรรมแข่งขันแฮกกาธอนทางกลุ่มเลือกการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมาใน Concept Creative Economy (เศรษฐกิจสร้างสรรค์)
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการทอผ้ามือ มาวิเคราะห์สังเคราะห์ กลุ่มทอผ้ามือทั้ง 4 หมู่บ้าน มีทั้งสมาชิกที่ทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายพวกเราเล็งเห็นถึงศักยภาพของกลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุว่ามีความสามารถที่จะพัฒนาได้กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุมเป็นกลุ่มที่มีกระบวนการผลิตที่ยังคงแบบดั่งเดิม ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม จนถึงการทอผ้า และผ้าไหมยังเป็นศิลปกรรมสิ่งทอที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะในด้านความประณีตในกรรมวิธีการผลิต ที่ทำให้เนื้อผ้าไหมมีความเรียบสม่ำเสมอสวยงาม นุ่มน่าสัมผัส เป็นเงาเมื่อสวมใส่เป็นภูมิปัญญาที่มีสืบทอดกันมา จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งของบรรพบุรุษแต่โบราณ และเป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่มีความสำคัญยิ่งในปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
ในการลงพื้นที่พูดคุยสอบถาม ทำให้ทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของกลุ่ม โดยจุดเด่น กลุ่มมีจุดเด่นในเรื่องของการให้ความร่วมมือและสมาชิกกลุ่มเป็นผู้ที่พร้อมจะรับฟังและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน แต่ทางกลุ่มก็ยังมีจุดด้วยหรือปัญหาของทางกลุ่ม คือ
1.การใช้สีเคมีสังเคราะห์ในการย้อมและมีการใช้ในปริมาณมาก เพื่อต้องการให้ได้สีที่มีความชัดและสวยซึ่งจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสอบถามจากท่านวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการย้อมสีนั้น พบว่าถ้ามีการใช้สีเคมีในการย้อมในปริมาณที่มากและระยะยาวไปนั้น จะส่งผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อมและด้านตัวมนุษย์
2.เรื่องการออกแบบลายที่เป็นเอกลักษณ์และทันสมัย ทางกลุ่มยังมีผ้าที่มีลายแบบเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่มีความหลากหลาย ทางกลุ่มของพวกเราจะมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการออกแบบลายให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยจากวิทยากรที่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
3.ต้องการผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดระโยชน์สูงสุด อาทิ มีการใช้สีธรรมชาติ ที่ปลอดภัยจากสารเคมี ในการผลิต เพื่อใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้สวมใส่เป็นหลัก และมีการใช้กากชานอ้อย ที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ มาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำในชุมชน
4.ต้องการกลุ่มภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้น การพัฒนากลไกทางการตลาด การพัฒนาเป็นตลาดออนไลน์ทางกลุ่มของพวกเราก็ได้จัดทำ Facebook Fanpage และ Line official\เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา กลุ่มของเราเลือกหัวข้อ Creative Economy (เศรษฐกิจสร้างสรรค์) โดยยึดแนวคิดหลักในการปฏิบัติงาน 2 แนวคิด คือ 1. รู้เห็นเป็นใจและ 2.kaizen แนวคิด รู้เห็นเป็นใจ รู้ คือ รู้ถึงปัญหา เห็น คือ เห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นคือ ทำเป็นด้วยตนเอง จากการเรียนรู้ และ ใจ คือ เข้าใจ ใส่ใจ และ 2 Kaizen คือ การมุ่งเน้นการหาสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง และหัวข้อที่ทางกลุ่มเราจะแก้ไข ก็จะประกอบไปด้วย
-เลือกใช้สีธรรมชาติ
-การพัฒนารูปแบบและลายให้มีความทันสมัย
-พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
-พัฒนากลไกทางการตลาด
-ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เช่น หน่วยงานภาครัฐและบุคลากรทางการศึกษา





การยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชน ตำบลตูมใหญ่
แบ่งลักษณะการท่องเที่ยวออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
1.การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว เป็นความงดงามตามสภาพธรรมชาติ ความ แปลกตา ของสภาพธรรมชาติ สัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์
แหล่งท่องเที่ยวหนองสิม
หนองสิม ตั้งอยู่บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีบัวสีขาวนานาชนิดเกิดขึ้นเองภายในแหล่งน้ำ เมื่อถึงฤดูออกดอกหรือช่วงหน้าฝน จะพบว่ามีพันธุ์บัวสีขาวสวยขึ้นปกคลุมอยู่เต็มผืนน้ำ ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบที่น่าสนใจต่อการศึกษาระบบนิเวศ
ป่าไม้ชุมชน หรือป่าไม้สาธารณะป่าไม้ชุมชน หรือป่าไม้สาธารณะ ตั้งอยู่บ้านตูมใหญ่ หมู่ที่ 6 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ในตำบลตูมใหญ่ ปัจจุบันเหลือป่าไม้ไม่มากนัก เนื่องจากเกิดการบุกรุกของชาวบ้านในพื้นที่ในอดีต
2.การท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมายถึง การท่องเที่ยวที่เน้นการเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมของชาว ชนบท โดยการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน และตัวเกษตรกร นักท่องเที่ยวได้รับความ เพลิดเพลินในกิจกรรมทางการเกษตร และมีจิตสานึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อม
–โคกหนองนาโมเดล(บ้านโนนเจริญ ไร่ตะวัน ปลัดรุ่งนาวีชุม)
3.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หมายถึง การท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยสดงดงามใน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและพักผ่อนหย่อนใจ โดยแบ่งเวลาจากการท่องเที่ยว เพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและ หรือการบำบัดรักษาฟื้นฟูสุขภาพ งานกีฬาบริหารส่วนตำบล หรือ งานกีฬา อบต.
4.การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หมายถึง การท่องเที่ยวเพื่อชมเอกลักษณ์ ความงดงามทางวัฒนธรรม ทั้งนี้จะต้องเคารพในวัฒนธรรม ของกันและกัน เพื่อก่อให้เกิดมิตรภาพ ความรู้ความเข้าใจ และความซาบซึ้งตรึงใจในวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ
เป็นสถานที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ ยังเป็นสถานที่ปฏิบัติ มีพระนอน พระใหญ่ พญานาค เทพทันใจ ซึ่งมีผู้คนมากมายจากหลายพื้นที่ให้ความสนใจ มาไหว้มาสักการบูชา เพื่อเสริมสร้างสิริมงคลประกอบไปด้วย ประเพณีบุญบั้งไฟของตำบลตูมใหญ่

ประเพณีบุญบั้งไฟ
5.การท่องเที่ยวเชิงอาหาร วิสาหกิจในชุมชน เป็นการนำแนวทางเศรษฐกิจหรือแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องและเป็นระบบวิสาหกิจชุมชนที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน กระทำเพื่อทดแทน การซื้อจากตลาดทำให้ชุมชนลดค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มรายรับซี่งวิสาหกิจในตำบลตูมใหญ่ ที่เห็นได้ว่ามีการรวมกลุ่มกันอย่างชัดเจนที่มีการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เช่น 1.กลุ่มลอยสนั่นกล้วยฉาบ 2.กลุ่มน้ำตาลอ้อยโบราณ และ 3.กลุ่มกล้วยฉาบ บ้านใหม่เจริญสุข
ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่เข้ามาในตำบลตูมใหญ่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ หลายราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากพื้นที่สีแดงทำให้มีกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านตูมน้อยส่วนใหญ่มีความระวังตัวมากขึ้นเมื่อไปพื้นที่เสี่ยง ทาง อสม และผู้ใหญ่บ้านมีการคัดกรองก่อนเข้าหมู่บ้านตูมน้อย ส่วนกลุ่มคนที่มาจากต่างจังหวัด ทาง อสม และผู้ใหญ่บ้านมีการกักตัวเพิ่มเติม 14 วัน และบังคับทุกกลุ่มคนที่มาจากจังหวัดตรวจโควิดทุกคน และทางผู้ใหญ่บ้านพร้อมอสม. ได้ให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้คนในบ้านตูมน้อย ได้ให้ลงชื่อเพื่อฉีดวัคซีนเพื่อป้องโควิด
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
จากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนกรกฎาคม ในส่วนของกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอพบปัญหาด้านการเชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ามือแต่ละกลุ่มมาเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างยากพอสมควร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่งผลให้สมาชิกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลในการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทางคณะทำงาน จึงมีการแก้ไขปัญหาโดยมีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม การให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัย และมีการจัดที่นั่งในการอบรมแบบเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ของตำบลตูมใหญ่
- ได้เรียนรู้ถึงผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน
- ได้เรียนรู้ถึงปัญหาการลงพื้นที่ในช่วงโควิดระบาด
- ได้เรียนรู้ถึงวิธีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่นในรูปแบบของการตลาดออนไลน์
- ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูลด้านต่างๆมากขึ้น
- ได้ทราบถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีในตำบลตูมใหญ่มากขึ้น
แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป คือ เดือนสิงหาคม 2564 ดังนี้
- นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่เพื่อพิจารณาการจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามและคงทนและกิจกรรมการออกแบบลายผ้าเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว หมู่ที่1บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 และบ้านปะคำดง หมู่ที่ 11
- วันที่ 16กรกฎาคม 2564 การจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามและคงทนโดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
- วันที่ 28กรกฎาคม 2564 การจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
หมายเหตุ :แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19