1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. กลุ่ม AGO1(1)การอบรมพัฒนายกระดับการทอผ้าไทย(ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และกิจกรรมการแข่งขันแฮกกาธอน

กลุ่ม AGO1(1)การอบรมพัฒนายกระดับการทอผ้าไทย(ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และกิจกรรมการแข่งขันแฮกกาธอน

บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2564

กลุ่ม AGO1(1)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การอบรมพัฒนายกระดับการทอผ้าไทย(ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และกิจกรรมการแข่งขันแฮกกาธอน

ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง

จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวอุปนันท์ ตอรบรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ   บ้านกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านโนนเจริญ        บ้านปะคำดง บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง บ้านกระทุ่มนอก บ้านโคกสำราญ บ้านเมืองกับ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองบัวพัฒนา และบ้านใหม่เจริญสุข

และในเดือนกรกฎาคม ได้ดำเนินกิจกรรมการจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ  การอบรมพัฒนายกระดับการทอผ้าไทย(ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) การลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อสำรวจพรรณไม้ชนิดต่างๆ ติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลของต้นไม้ทุกต้น ในเขตพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านตูมน้อย ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และกิจกรรมการแข่งขันแฮกกาธอน

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่  อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์     

อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคม และชี้แจงรายละเอียดกำหนดการเกี่ยวกับการจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ และกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มผ้าทอมือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) ตำบลตูมใหญ่

มีการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อขอใช้พื้นที่หอประชุมในการอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ และกิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มผ้าทอมือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) ตำบลตูมใหญ่

คณะทำงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบของตำบลตูมใหญ่ ผ่านระบบ Google Meet ในเรื่องของการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และการพัฒนากลไกทางการตลาด การพัฒนาเป็นตลาดออนไลน์

คณะทำงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ของกลุ่มผ้าทอมือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) ของตำบลตูมใหญ่ ในเรื่องของการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

คณะทำงาน AG01(1) พร้อมกับคณะผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่บางส่วน ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อสำรวจพรรณไม้ชนิดต่างๆ และติดป้ายต้นไม้พร้อมกับบันทึกข้อมูลของต้นไม้ทุกต้น ในเขตพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านตูมน้อย ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ รวมถึงการเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในตำบล การปักหมุดสถานที่โดยใช้แอปพลิเคชั่น Handy GPS

คณะทำงาน AG01(1) บางส่วนได้เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันแฮกกาธอน ได้มีการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุมที่มีการย้อมสีจากสีธรรมชาติ ซึ่งตรงกับสิ่งที่ทางกลุ่มของเราโดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพื่อปลอดภัยจากสีเคมีหรือสีสังเคราะห์ หลังจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปรายงานประจำเดือนพร้อมจัดทำบทความประจำเดือนกรกฎาคม

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และขอใช้สถานที่ในการจัดอบรม  และมีการประสานงานไปยังผู้นำชุมชน หรือหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุกครั้ง

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้ดำเนินการศึกษาทักษะทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน ด้านสังคม ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ทำแบบประเมินผ่านตามเกณฑ์ 100 เปอร์เซ็นต์ และได้เข้าไปศึกษา TDGA ในรายวิชา ดิจิทัล เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนดเรียบร้อยแล้ว

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการกิจกรรมแข่งขันแฮกกาธอนทางกลุ่มเลือกการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือ มาวิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหา พบว่า กลุ่มผ้าทอมือทั้ง 4 หมู่บ้าน มีทั้งสมาชิกที่ทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย ซึ่งสมาชิกจะทอผ้าที่บ้านของตนเอง แล้วจึงนำผลิตภัณฑ์มารวมกัน ซึ่งกลุ่มยังไม่มีความเข้มแข็ง ขาดองค์ความรู้ด้านกลไกลทางการตลาด และการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาร่วมด้วย อีกทั้งยังมีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในการย้อมผ้าอยู่ แต่กลุ่มที่คณะทำงานให้ความสนใจคือกลุ่มทอผ้าบ้านหนองดุม เพราะกลุ่มมีความสนใจ มีความกระตือรือร้น ที่จะรับการพัฒนา ทุกคนให้กลุ่มให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เป็นกลุ่มที่มีกระบวนการผลิตที่ยังคงแบบดั้งเดิม ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม จนเป็นเส้นไหม ทำการมัดย้อม ทอออกมาเป็นผืนผ้าที่มีความปราณีตสวยงามไม่แพ้การทอด้วยเครื่องจักร และเมื่อได้พูดคุยสอบถามกลุ่มมีความต้องการที่จะพัฒนาลวดลาย การมัดย้อมที่ใช้สีจากธรรมชาติ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย โดยใช้สื่อโซเชียลเข้ามาช่วย

คณะทำงาน AG01(1) พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร จึงจัดให้มีการอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ของกลุ่มทอผ้ามือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) ตำบลตูมใหญ่ ในเรื่องของการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ  ประจญศานต์ โดยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตผ้าทอให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคและผู้สวมใส่ พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) วิธีการตรวจสอบลักษณะทั่วไปของผ้าทอมือ (ผ้ามัดหมี่ ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าทอลายขัดพื้นฐาน ผ้ายกดอก หรือผ้าชนิดอื่นๆ) และการทดสอบการตกติดของสีเบื้องต้น  เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านกลไกลทางการตลาด รวมถึงการผลิตอุตสาหกรรมผ้าที่ถูกต้องและปลอดภัยให้แก่ชุมชน และการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของกลุ่ม

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา                                                                

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การลงพื้นที่แต่ละครั้งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติงานต้องเตรียมความพร้อมมีเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอลล์ สวมแมสตลอดเวลาในการลงพื้นที่เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง  อีกทั้งยังเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการอบรมมาเป็นการอบรมออนไลน์ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนการลงพื้นที่ทำกิจกรรมจิตอาสาติดป้ายต้นไม้ ยังดำเนินการได้ไม่สะดวก เพราะไม่สามารถเข้าไปบันทึกข้อมูลในระบบได้ จึงต้องทำการบันทึกในแบบฟอร์มก่อน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่         

  • ได้เรียนรู้ถึงการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
  • ได้เรียนรู้ถึงการดูแลและป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
  • ได้เรียนรู้ถึงการแก้ไขสถานการณ์ หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเมื่อเกิดปัญหาเฉพาะหน้า
  • ได้ทราบถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อคนในชุมชน
  • ได้ทราบถึงการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มของคนในชุมชน ความต้องการ ที่จะพัฒนาของกลุ่มทอผ้า

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป คือ เดือนสิงหาคม 2564 ดังนี้

  1. นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อพิจารณาการจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามและคงทน และกิจกรรมการออกแบบลายผ้าเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว หมู่ที่1 บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5 บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 และบ้านปะคำดง หมู่ที่ 11
  2. วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 การจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามและคงทน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
  3. วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 การจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

อื่นๆ

เมนู