1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน พฤษภาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) กิจกรรมจิตอาสาและสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน พฤษภาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) กิจกรรมจิตอาสาและสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

            ดิฉัน นางสาวบุณฑริกา ต้ายไธสง ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเขตพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ บ้านกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย บ้านตูมใหญ่ บ้านทุ่งสว่าง บ้านหนองดุม บ้านหนองตาด บ้านโนนเจริญ บ้านปะคำดง บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง บ้านกระทุ่มนอก บ้านโคกสำราญ บ้านเมืองกับ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองบัวพัฒนา และบ้านใหม่เจริญสุข ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มที่หน่วยงานหลักกำหนดมา

                         

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1)

วันที่ 22 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ ครั้งที่1 เพื่อชี้แจงรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคม และชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการลงพื้นที่จิตอาสาพัฒนาชุมชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

วันที่ 23 เมษายน 2564 คณะทำงาน AG01(1) พร้อมคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

วันที่ 6 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ ครั้งที่2 เพื่อชี้แจงรายละเอียดการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสาและการยกระดับการท่องเที่ยวในตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบฟอร์มที่หน่วยงานหลักกำหนดมา

ในช่วงวันที่ 24 เมษายน – 12 พฤษภาคม 2564 ทำการกรอกแบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชนและแบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 เพิ่มเติม

ในช่วงวันที่ 9-12 พฤษภาคม 2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในแบบฟอร์มใหม่ตามที่หน่วยงานหลักกำหนดมาในหัวข้อภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 สรุปรายงานประจำเดือนเมษายนพร้อมจัดทำบทความประจำเดือนพฤษภาคม

                 

การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลตูมใหญ่ ส่งผลให้ดิฉันสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้พอสมควร

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล Digital Literacy ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy ด้านการเงิน Financial Literacy และด้านสังคม Social Literacy ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100% และได้ทำการศึกษา TDGA เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และเก็บข้อมูลสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น

            จากการลงพื้นที่จิตอาสาพัฒนาชุมชนร่วมกับคณะองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ทำให้ทราบถึงป่าอนุรักษ์ในตำบลว่าปัจจุบันเหลือป่าไม้ไม่มากนัก เนื่องจากเกิดการบุกรุกของชาวบ้านในพื้นที่ในอดีต ส่งผลให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงจัดตั้งโครงการพัฒนาชุมชนนี้ขึ้น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทุกคนลงพื้นที่ติดป้ายชื่อพันธุ์พืชร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่และปราชญ์ชาวบ้านในเขตพื้นที่ปกป้องทรัพยากรท้องถิ่นบ้านตูมน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในป่าอนุรักษ์นี้จะมีต้นไม้เล็กใหญ่มากมายหลากหลายพันธุ์ ซึ่งประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด ทั้งเถาวัลย์ ไม้เลื้อย และไม้ยืนต้น อาทิ ต้นแดง ต้นมะค่า ต้นติ้ว ต้นประดู่ ต้นดูกหิน ต้นโพธิ์ ต้นเครือไทรโยง ต้นเครือผักหวาน เป็นต้น ซึ่งพันธุ์พืชแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะเด่นและมีสรรพคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไป

            ส่วนผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ มีจำนวน 10 ภูมิปัญญา ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าไหม บ้านปะคำดง หมู่ที่11 การแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่19 การทำขนมไทยพื้นบ้าน “นางเล็ด” บ้านหนองตาด หมู่ที่9 การทอเสื่อกก บ้านตูมน้อย หมู่ที่5 การทำน้ำพริกเซราะปะเกือบ บ้านปะคำสำโรง หมู่ที่4 การแปรรูปผลิตภัณฑ์แหนมหมู บ้านหนองตาด หมู่ที่8 การจักสานตะกร้าด้วยไม้ไผ่ บ้านกรูด หมู่ที่12 การทำน้ำตาลอ้อยโบราญ บ้านหนองดุม หมู่ที่8 การทำขนมไทยโบราญ บ้านหนองดุม หมู่ที่8 และการทำผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแปรรูป บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่18

ผลจากการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19

            จากการสำรวจและเก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทราบถึงข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดในรอบที่ 3 ชาวบ้านในชุมชนทั้ง 19 หมู่บ้าน ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ทราบถึงข้อมูลข่าวสารของโรคระบาดโควิด-19 และตระหนักถึงการป้องกันตนเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคระบาด เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมหมู่บ้าน การเข้าวัดทำบุญ หรือการจ่ายตลาด และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร

            ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ อาจสืบเนื่องมาจากลักษณะของการทำงาน กลุ่มอาชีพ และข้อจำกัดด้านเวลาหรือการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน รวมถึงชาวบ้านบางส่วนไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ตลอดเวลาเนื่องจากมีอากาศร้อน ทำให้การหายใจไม่สะดวก นอกจากนั้นชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีภาวะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 และการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจัดตั้งโครงการเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ เพื่อให้คนในชุมชนและกลุ่มผู้สูงอายุหันมาออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี

            แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปัจจุบันโรคระบาดโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง มีการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อยาวนาน คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์จึงได้ประกาศผ่านเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชนไปในวันที่13 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา จึงทำให้มีชาวบ้านบางส่วนในตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เดินทางไปลงทะเบียนขอฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ที่บริเวณสนามแข่งรถช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต ซึ่งเป็นจุดฉีดวัคซีนใหญ่ของจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เป็นภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไป

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

            ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม ได้ทำการลงพื้นที่พัฒนาชุมชนและสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนเพิ่มเติม พบปัญหาด้านการเก็บข้อมูล เนื่องจากตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 ราย ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้การกรอกข้อมูลลงในระบบยังไม่ครบ 100% ไม่ว่าอย่างก็ตามเจ้าหน้าที่ปฏิบัติทุกคนต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการรักษาสุขภาพของตนเองและผู้อื่นเป็นหลัก จึงมีผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทำการคัดกรองประชาชนทุกคนก่อนเข้าและออกจากพื้นที่ตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชนทุกคน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

  1. ได้เรียนรู้การประสานงานกับผู้นำชุมชนและรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
  2. ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีต่างๆ
  3. ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4. ได้เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน
  5. ได้เรียนรู้ถึงปัญหาการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด

แผนการดำเนินงานต่อไป

คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป คือ เดือนมิถุนายน 2564 ดังนี้

  • นำข้อมูลที่สำรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน นำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  • จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้า
  • ทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ
  • นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่เพื่อพิจารณา
  • หมายเหตุ แผนการดำเนินการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
  •  

อื่นๆ

เมนู