1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน เมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองไผ่ดง บ้านหนองตาด บ้านเมืองกับ บ้านปะคำดง บ้านกรูด ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน เมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองไผ่ดง บ้านหนองตาด บ้านเมืองกับ บ้านปะคำดง บ้านกรูด ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันนางสาวภัคจิรา เตไธสง  ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองไผ่ดง บ้านหนองตาด บ้านเมืองกับ บ้านปะคำดง บ้านกรูด  ของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

 กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์            

ในช่วงวันที่ 25 มีนาคม 2564  คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่เริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 กลุ่มได้แก่

  1. กลุ่มสัมมาชีพชุมชนแปรรูปอาหารบ้านหนองบัวพัฒนา
  2. กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย
  3. กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข

ในช่วงวันที่  1-9  เมษายน 2564 อบรมฝึกทักษะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านสังคม ด้านการเงิน

 ในช่วงวันที่ 9-16  เมษายน  2564 กรอกแบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ตามระยะเวลาตมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำหนด

                                      สำรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจทั้ง 3 กลุ่ม

ผลจากการลงเก็บข้อมูลในกลุ่มวิสาหกิจทั้ง 3 กลุ่มพบว่า ในแต่ละชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม มีอาชีพหลัก คือ ทำนา  อาชีพเสริม คือ การทำสวนมันสำประหลัง อ้อย ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะรวมกลุ่มหลังฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จประชาชนบ้านหนองบัวพัฒนาจะรวมกลุ่มเป็นกลุ่มวิสากิจชุม กลุ่มสัมมาชีพชุมชนแปรรูปอาหารบ้านหนองบัวพัฒนา เพื่อทำแคบหมูและแหนมหมู  ทำในช่วงเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม เอกลักษณ์ของแคบหมูแหนมหนูของบ้านหนองบัวพัฒนาคือไม่ใส่วัตถุกันเสียและมีรสชาติแบบดั้งเดิม กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข เป็นการรวมกลุ่มเพื่อทำกล้วยเบรกแตกซึ่งมี 2 รสชาติ คือรสแบบดั้งเดิม รสหวาน ซึ่งสมาชิกจะทำกล้วยเบรกแตกทั้งปี ทำเฉพาะเวลามีคำสั่งซื้อเข้ามาซึ้งประธานกลุ่ม นายสมพร ดารินรัมย์ จะเป็นผู้หาวัตถุดิบและเป็นผู้หาพ่อค้าคนกลางมาให้สมาชิกในกลุ่ม  กลุ่มวิสาหกิจตูมน้อยผ้าไทยชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ทอผ้าในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว จะทำในช่วงที่ชาวบ้านไม่ได้ออกไปทำงานนอกบ้าน ซึ่งกลุ่มทอผ้าไทยจะไม่ได้รวมกลุ่มเหมือนกลุ่มสัมมาชีพชุมชนแปรรูปอาหารบ้านหนองบัวพัฒนาและกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข สมาชิกจะทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่บ้านตนเอง ผ้าฝ้ายของกลุ่มตูมน้อยผ้าไทยจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านลายดั้งเดิมของหมู่บ้าน

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนเมษายน พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทราบข่าวโควิดรอบที่ 3 เป็นอย่างดี รู้เกี่ยวกับโรคระบาด รู้ถึงวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อของโรคโควิค-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การกินอาหาร วิธีการล้างมือ การออกจากพื้นที่เสี่ยง การเว้นระยะห่าง ทำให้คนในชุมชนตื่นตระหนกในช่วงแรกที่มีโรคระบาดเข้ามาในจังหวัดส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพค้าขายการเดินทางไปทำงานของคนในชุมชน

                             สำรวจกลุ่มวิสหกิจแหนมหมูและแคบหมูุ

 ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา                                                                       

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจในช่วงเดือนเมษายน พบปัญหาด้านการเตรียมความพร้อมของกลุ่มวิสาหกิจทั้ง 3 กลุ่ม จึงแก้ปัญหา โดยการนัดหมายอีกครั้ง เพื่อลงพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด

 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

  • ได้เรียนรู้การประสานงานกับประธานกลุ่มวิสาหกิจ
  • ได้เห็นวิถีชีวิตในชุมชน
  • ได้ทราบปัญหาการทำงานของกลุ่มวิสาหกิจ

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

  • นำข้อมูลที่สำรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม เดือน มีนาคม นำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  • จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้า
  • ทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ
  • นำเสนอโครงการต่อ อบต. ตูมใหญ่เพื่อพิจารณา

                       สำรวจกกลุ่มวิสาหกิจผ้าไทยบ้านตูมน้อย                                                                                                                       

อื่นๆ

เมนู