1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. บทความประจำเดือน พฤษภาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1)กิจกรรมจิตอาสาและสำรวจเกษตรกรในท้องถิ่น ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน พฤษภาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1)กิจกรรมจิตอาสาและสำรวจเกษตรกรในท้องถิ่น ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

  กระผม นายพงษ์เรศ จันทร์อินทร์ ประเภทประชาชน  ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตูมใหญ่  หมู่ที่ 6 บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 15 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 1   และ บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18 และบ้านประคำดง หมู่ 11 ของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์            

ในช่วงวันที่ 16 เมษายน 2564 คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่พร้อมคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนใน อบต. ตูมใหญ่ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ในช่วงวันที่ 18 เมษายน ถึง 28 เมษายน 2564 กรอกแบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19

ในช่วงวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อเกษตรกรในท้องถิ่น

ในช่วงวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 จัดทำบทความประจำเดือนพฤษภาคม

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน กระผมได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ตามระยะเวลาตมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำหนด

การพัฒนาชุมชนด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และเกษตรกรในท้องถิ่น

          ผลจากการลงพื้นที่พัฒนาชุมชนร่วมกับคณะ อบต. ตูมใหญ่ ทำให้ทราบถึงต้นไม้ในชุมชนค่อนข้างซึ่งจากการสำรวจแปลงที่ 1 ทราบถึงพืชเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งหมด 49 ชนิด แต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งการงพื้นที่พัฒนาชุมชนครั้งนี้กระผมได้ทำการติดป้ายชื่อต้นไม้มะค้า ซึ่งแต่ละต้นก็มีขนาดแตกต่างกันไป จากการสอบถามนักปราชญ์ชาวบ้านผู้รู้เรื่องของต้นไม้ทำให้ทราบว่าไม้มะค้าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีเหมาะแก่การสร้างบ้านเรือน  ในส่วนการลงพื้นที่เกษตรในท้องถิ่นภายในในตำบลตูมใหญ่ กระผมได้ทราบเกษตรกรกลุ่มๆ ไม่ค่อยมากนัก ส่วนมากจะเป็นกลุ่มรายย่อยซึ่งเกษตรกรในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะนิยมปลูกข้าวเป็นหลัก รองลงมาคือการทำไร่อ้อย มันสำประหลัง  และสวนยาง เป็นต้น

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
          ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม  พบว่า ชาวบ้านในชุมชนที่กระผมรับผิดชอบทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่เข้ามาในตำบลตูมใหญ่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 2 ราย และชาวบ้านบ้านตูมใหญ่ต้องปิดหมู่บ้านอย่างน้อย 14 วัน และหากมีผู้ติดเชื้ออาจต้องปิดหมู่บ้านไม่มีกำหนด ยิ่งส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทาน  

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา                                                                       

         ในการลงพื้นที่พัฒนาชุมชนและสำรวจเกษตรเพิ่มเติม พบปัญหาด้านเก็บข้อมูลเนื่องจากตำบลตูมใหญ่มีผู้ติดเชื้อโควิด 2 ราย ทำให้การลงพื้นที่เป็นได้ค่อยข้างยากเนื่องจากมีบ้างหมู่บ้านปิดไม่ให้เข้าไปสำรวจ  การแก้ปัญหาในการลงพื้นที่คณะทำงาน AG01(1) ได้รอให้ครบกำหนด 14 วัน เพื่อให้ที่จะให้เข้าหมู่บ้านได้ และสามารถเก็บข้อมูลได้ตามกำหนด                                                                                                                                         

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

  • ได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลด้านเกษตรเพิ่มเติม
  • ได้เห็นถึงกระบวนการเพื่อสำรวจต้นไม้ ของชุมชน
  • ได้ทราบปัญหาการทำงานขณะโรคโควิดระบาด

                   ประชุมกลุ่มเพื่อเตรียมความพร้อมการลงพื้นครั้งต่อไป                                 

   ลงพื้นที่จิตอาสาติดป้ายต้นไม้                                             

                   การลงพื้นติดป้ายต้นไม้                                              

 แผนการในการดำเนินงานต่อไป

  • นำข้อมูลที่มี เดือน มีนาคม นำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  • จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้า
  • ทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ
  • นำเสนอโครงการต่อ อบต. ตูมใหญ่เพื่อพิจารณา

อื่นๆ

เมนู