1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ที่ 3 บ้านปะคำสำโรง หมู่ที่ 4 บ้านกระทุ่มนอก หมู่ที่ 14 บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 19 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ที่ 3 บ้านปะคำสำโรง หมู่ที่ 4 บ้านกระทุ่มนอก หมู่ที่ 14 บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 19 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

กลุ่ม AGO1(1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ที่ 3 บ้านปะคำสำโรง หมู่ที่ 4

บ้านกระทุ่มนอก หมู่ที่ 14 บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 19

ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

 

          ดิฉันนางสาวดวงฤทัย  อินทร์แก้ว ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ที่ 3 บ้านประคำสำโรง หมู่ที่ 4 บ้านกระทุ่มนอก หมู่ที่ 14 และบ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 19  ของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1)

          ในช่วงวันที่ 1-5กุมภาพันธ์ 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมออนไลน์ทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการมอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ

          ในช่วงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564  อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมกลุ่ม AG01(1)ที่มหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อฟังแนวทางการปฏิบัติงานและชี้แจงหน้าที่ และบทบาทของการทำงานของแต่ละบุคคล เพื่อให้งานบรรลุตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้

          ในช่วงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ทีมงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าพบรองปลัด อบต. ตูมใหญ่ เพื่อแนะนำโครงการชี้แจงรายละเอียด

          ในช่วงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ทีมงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่และอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01(1)  เข้าพบนายก อบต. ตูมใหญ่ เพื่อนำเรียนโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น หลังจากเข้าพบนายกอบต.ตูมใหญ่เสร็จ ทางสมาชิกภายในกลุ่มที่ไปเข้าพบในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีการปรึกษากันต่อว่าจะไปลงพื้นที่จริงกันวันไหน

ภาพที่ 1 เข้าพบท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

          ในช่วงวันที่ 11-18 กลุ่ม AG01(1) ทีมงานปฏิบัติงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย ได้แก่ บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ที่ 3 บ้านประคำสำโรง หมู่ที่ 4 บ้านกระทุ่มนอก หมู่ที่ 14 และบ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 19 ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือดีเป็นบางส่วน บางคนก็ไม่ให้ความร่วมมือ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 119  ครัวเรือน และได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 4 หมู่บ้าน

          ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ การเลี้ยงไหม การทอผ้า การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของบ้านปะคำสำโรงได้โดดเด่นเรื่องการเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เช่น การเลี้ยงสุกร การเลี้ยงโค การเลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน ความยากจน ปัญหาของชุมชนส่วนใหญ่ จะเป็นในเรื่อง ความยากจน เนื่องจากหลังหมดฤดูการทำนา ชาวบ้านจะมีการว่างาน นำมาซึ่งความยากลำบากในการดงรงชีพ การจับจ่ายซื้อของ ภายในครัวเรือน

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

          ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านปะคำดงทุกคนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG01(1) จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนเดิมอีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. ได้เรียนรู้การทำงานกันเป็นทีม
  2. ได้เรียนรู้การลงพื้นที่ในตำบล
  3. ได้เรียนรู้การทำงานกับทางมหาวิทยาลัย
  4. ได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชน
  5. ได้ทาบถึงปัญหาภายในชุมชน

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

          ทีม AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ มีแผนการดำเนินงานในเดือน มีนาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

 

ภาพที่ 2 ถ่ายรูปกับสมาชิกผู้รับผิดชอบในตำบลตูมใหญ่

 

ภาพที่ 3 ถ่ายรูปกับผู้นำชุมชุนบ้านทุ่งสว่าง

 

ภาพที่ 4 สำรวจข้อมูลชาวบ้าน

 

 

อื่นๆ

เมนู