ดิฉันนางสาวพรรณิภา หิรัญโท ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลของ 5 หมู่บ้านในตำบลตูมใหญ่ ได้แก่ หมู่บ้านหนองบัว หมู่บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่บ้านสวายสอ หมู่บ้านโคกสำราญ และหมูบ้านปะคำดง ส่วนตัวดิฉันได้รับมอบหมายงานในกลุ่มย่อยให้ดำเนินการเก็บข้อมูลของ บ้านปะคำดง หมู่ 11 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม คือ แบบฟอร์ม 01แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน และแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ชุดโดยทำการกรอกข้อลมูลผ่านระบบออนไลน์
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01
ในช่วงวันที่ 22 มีนาคม 2564 ทางทีมผู้ปฏิบัติงานเข้าพบผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของแต่ละหมู่บ้านในตำบลตูมใหญ่
ในช่วงวันที่ 24 มีนาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่ดูกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 3 กลุ่ม คือ ลอยสนั่นกล้วยฉาบ บ้านใหม่เจริญสุข กลุ่มตูมน้อยผ้าไทย บ้านตูมน้อย และกลุ่มสัมมาชีพชุมชนแปรรูปอาหาร บ้านหนองบัวพัฒนา เพื่อให้ทราบถึงความถึงความต้องการและปัญหาในด้านการผลิตรวมไปถึงด้านการตลาดของแต่ละกลุ่ม
ในช่วงช่วงที่ 25-28 มีนาคม 2564 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมโดยแบ่งกลุ่มที่รับผิดชอบเพื่อความสะดวกประหยัดเวลาในการเก็บข้อมูลและให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็นจริงมากที่สุด ทีมงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ
ในช่วงวันที่ 4 -10 เมษายน 2564 กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม01แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้ทำการเข้าไปเรียนรู้ฝึกทักษะ เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากที่ดิฉันได้รับมอบหมายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบในหมู่บ้านปะคำดงเพื่อทำการสำรวจเก็บข้อมูลและกรอกแบบฟอร์ม 01แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน จากการลงสำรวจพื้นที่ในชุมชน ด้านการประกอบอาชีพพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ซึ่งเกษตรที่นิยมทำในพื้นที่แห่งนี้มี 2 อย่างคือ สวนยาง และ ไร่อ้อย เหตุผลที่ประชาชนในพื้นที่แห่งนี้นิยมสองอย่างนี้ทำคือ สวนยางจะสามารถเก็บผลผลิตได้ในทุกๆวัน ส่วนอ้อย เก็บผลผลิตได้ในรอบปี แต่ได้ผลผลิตในจำนวนมากๆและได้รายได้ดี ซึ่งด้านปัญหาในชุมแห่งนี้พบว่าชุมชนแห่งนี้ยังขาดแคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคและบริโภคอยู่
และในการสำรวจเก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าทัน มีการเตรียมรับมือกับโรคระบาดนี้เป็นอย่างดี แต่ยังมีประชาชนบางส่วนคือ คนแก่ และ เด็กเล็ก ที่ยังได้รับข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึงอยู่
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
การลงพื้นที่ในช่วงเดือนเมษายน ดิฉันได้พบเจอกับปัญหาในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลคือการที่ประชาชนในหมู่บ้านออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้ช่วงเวลาของการเก็บข้อมูลไม่ตรงกับเวลาว่างของคนในชุมชน และมีการเเพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกใหม่จึงทำให้ผลของการดำเนินการเก็บข้อมูลดำเนินไปอย่างล่าช้า แต่ดิฉันก็ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่
ได้พบเจอกับประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบที่หลากหลาย แต่ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่น่ารักเป็นกันเองมากๆ ได้รับความร่วมมือกับทีมงานเป็นอย่างดีและได้เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานอย่างเป็นระบบ
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์มีแผนการดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม 2564 ดังนี้
- นำข้อมูลที่สำรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม เดือน มีนาคม นำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้า
- ทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ
- นำเสนอโครงการต่อ อบต. ตูมใหญ่เพื่อพิจารณา