ดิฉันนางสาวภัคจิรา เตไธสง ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องการดูแลผลตอบรับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ละลุ บ้านหนองกระทุ่ม และการลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) อบรมออนไลน์ เรื่องการทำ marketing ภายใต้สินค้าของตำบลตูมใหญ่
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) อบรมการพัฒนายกระดับการทอผ้าไทยเพื่อผ่านมาตรฐาน (มผช)
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่บ้างส่วนลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) อบรมออนไลน์เพื่อหาข้อสรุปการจัดอบรมเรื่องผ้าไหมในหัวข้อการย้อมสีธรรมชาติ
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) อบรมออนไลน์เพื่อปรึกษาการจัดหาสถานที่การอบรม
คณะผู้ปฎิบัติงาน AG01(1) จัดทำบทความประจำเดือนกรกฎาคมพร้อมส่งรายงานปฎิบัติงาน
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ตามระยะเวลาตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ละลุ บ้านหนองกระทุ่ม
การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ละลุ” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ทะลุ” เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ละลุเกิดจากน้ำฝนกัดเซาะยุบตัวหรือพังทลายของดิน เนื่องจากสภาพดินแข็งจะคงอยู่ไม่ยุบตัวเมื่อถูกลมกัดกร่อน จึงมีลักษณะเป็นรูปต่าง ๆ มองคล้ายกำแพงเมือง หน้าผาบ้างมีลักษณะเป็นแท่งๆ จึงทำให้ละลุมีความสวยงาม และแปลกตาแตกต่างกันตามจินตนาการของแต่ละคน ในทุก ๆปี ละลุจะเปลี่ยนรูปร่างของมันไปเรื่อย ๆ ตามแต่ลมและฝนที่ช่วยกันตกแต่งชั้นดิน และในบางพื้นที่ ก็จะมีละลุที่มีสีน้ำตาลทองตัดกับสีเขียวสดของต้นข้าวกลางพื้นที่ทำนาของชาวบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่สวยงามมาก จนได้รับขนานนามว่าเป็นแกรนด์แคนยอน ซึ่งจากการทางทีมได้ลงรูป ละลุ เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติค่ะ ด้วยน้ำฝนที่กัดเซาะ และการพังทลายของดินและยุบตัว ดินที่แข็งจะยังคงอยู่ เมื่อถูกลมกัดกร่อนจะมีลักษณะเป็นรูปต่างๆ ดูคล้ายกับกำแพงสวยงาม รูปลักษณ์แปลกตา น่าอัศจรรย์มากๆ ค่ะ เรียงรายเป็นบริเวณกว้างอยู่กลางทุ่ง เต็มไปด้วยซอกหลืบต่างๆ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นการสะสมของตะกอนดิน ละลุมีบุคคลสนใจที่ในการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก
ผลการสำรวจโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูลในกรกฎาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ซึ่งเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อ 2 ราย ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้นทำให้ชาวบ้านเลิกกังวล แต่ว่าทุกคนในชุมชนก็ไม่ประมาณว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทาน
ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่สำรวจการท่องเที่ยว ละลุในตำบลตูมใหญ่ พบปัญหาด้านการสอบถามเส้นทางในการ สถานที่ ละลุ เนื่องจากว่า ละลุ ตูมใหญ่ อยู่ในพื้นที่ไม่สะดวกในการเดินทางเข้าไป จึงแก้ปัญหาโดยการเดินเท้าป่าวเพื่อเข้าไปสำรวจ เพื่อที่จะได้รวดเร็วในการสำรวจ
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่
- ได้เรียนรู้ถึงการทำงานเป็นทีม
- ได้เห็นวิถีชีวิตในชุมชน
- ได้ทราบถึงการท่องเที่ยวภายในตำบลตูมใหญ่
- ได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน
แผนการดำเนินงาน เดือนสิงหาคม 2564
- นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่เพื่อพิจารณาการจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามและคงทนและกิจกรรมการออกแบบลายผ้าเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่18 บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5 บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 และบ้านปะคำดง หมู่ที่ 11
- วันที่ 16กรกฎาคม 2564 การจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามและคงทนโดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
- วันที่ 28กรกฎาคม 2564 การจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
หมายเหตุ :แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19