บทความประจำเดือน พฤษภาคม 2564
กลุ่ม AGO1-(1)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่นและอาหารที่น่าสนใจในท้องถิ่น
ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์
กระผมนายทิวัตถ์ โสละมัค ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่นและอาหารที่น่าสนใจในท้องถิ่น ของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มที่หน่าวยงานหลักกำหนดมา ฟอร์มเก็บข้อมูลใบประกาศนียบัตร ทักษะด้าน Social Literacy แบบฟอร์มบันทึกข้อมูล สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมทักษะทาง Financial Literacy (SET e-Learning) และ แบบฟอร์มบันทึกข้อมูล สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมทักษะทาง Digital Literacy (TDGA e-Learning)
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
ในช่วงวันที่ 14 เมษายน 2564 ประสานงานกับรองปลัด อบต. ตูมใหญ่ เพื่อดำเนินการขอลงพื้นที่จิตอาสาพัฒนาชุมชนร่วมกับ อบต.ตูมใหญ่ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ในช่วงวันที่ 15 เมษายน 2564 คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่ได้เข้าไปช่วยงานจิตอาสาพัฒนาชุมชน อบต. ตูมใหญ่ เพื่อจัดเตรียมป้ายชื่อไว้เพื่อติดต้นไม้ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ในช่วงวันที่ 16 เมษายน 2564 คณะทำงาน AG01(1) ตำบลตูมใหญ่พร้อมคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนใน อบต. ตูมใหญ่ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ในช่วงวันที่ 23 เมษายน ถึง 12 พฤษภาคม 2564 กรอกแบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 เพิ่มเติม
ในช่วงวันที่ 9-12 พฤษภาคม 2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในแบบฟอร์มแบบใหม่ในหัวข้อพืชประจำถิ่นและอาหารในท้องถิ่นที่น่าสนใจ
ในช่วงวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 สรุปรายงานประจำเดือนเมษายนพร้อมจัดทำบทความประจำเดือนพฤษภาคม
การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัด อบต. ตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่เก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่นและอาหารที่น่าสนใจในท้องถิ่น ส่งผลให้กระผมสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้พอสมควร
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน กระผมได้เข้าไปฝึกทักษะครบทั้ง 4 ด้าน และได้เข้าไปศึกษา TDGA เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%
กิจกรรมจิตอาสาและการยกระดับการท่องเที่ยวในตำบล
ผลจากการลงพื้นที่จิตอาสาพัฒนาชุมชนร่วมกับคณะ อบต. ตูมใหญ่ ทำให้ทราบถึงป่าอนุรักษ์ในตำบลว่าปัจจุบันเหลือป่าไม้ไม่มากนักเนื่องจากการบุกรุกของชาวบ้านในพื้นที่ในอดีต ส่งผลให้ทาง อบต. มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเกิดโครงการพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่ติดป้ายชื่อพันธุ์พืชร่วมกับ อบต.และปราชญ์ชาวบ้านในเขตพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่นบ้านตูมน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 26 ไร่ แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนวัดบ้านปะคำสำโรงและงานประจำปีประเพณีบุญบั้งไฟ (ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม) เนืองจากสถานการณ์โควิด-19 จึงงดจัดงานในปีนี้
ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดในรอบที่ 3 ที่เข้ามาในตำบลตูมใหญ่ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 2 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากพื้นที่สีแดงทำให้มีกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านหนองบัวพัฒนาส่วนใหญ่มีความระวังตัวมากขึ้นเมื่อไปพื้นที่เสี่ยง ทาง อสม และผู้ใหญ่บ้านมีการคัดกรองก่อนเข้าหมู่บ้านหนองบัวพัฒนา ส่วนกลุ่มคนที่มาจากต่างจังหวัด ทาง อสม และผู้ใหญ่บ้านมีการกักตัวเพิ่มเติม 14 วัน และบังคับทุกกลุ่มคนที่มาจากจังหวัดตรวจโควิดทุกคน และทางผู้ใหญ่บ้านพร้อม อสม. ได้ให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้คนในบ้านหนองบัวพัฒนา ได้ให้ลงชื่อเพื่อฉีดวัคซีนเพื่อป้องโควิด
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่พัฒนาชุมชนและสำรวจพืชในท้องถิ่นและอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่นเพิ่มเติม พบปัญหาด้านเก็บข้อมูลเนื่องจากตำบลตูมใหญ่มีผู้ติดเชื้อโควิด 2 ราย ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้ไม่เต็มที่ส่งผลให้การกรอกข้อมูลลงระบบยังไม่ครบ 100% ไม่ว่าอย่างก็ตามเจ้าหน้าที่ปฏิบัติทุกคนต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและรักษาสุขภาพ จึงมีผู้นำชุมชนและ อสม.คัดกรองก่อนเข้าและออกจากพื้นที่ตลอดเวลา
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่
- ได้เรียนรู้การประสานงานกับรองปลัด อบต. ตูมใหญ่
- ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูลด้านอาหารในท้องถิ่น
- ได้เรียนรู้ถึงปัญหาการลงพื้นที่ในช่วงโควิดระบาด
- แผนการในการดำเนินงานต่อไป
- นำข้อมูลที่สำรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม เดือน กุมภาพันธ์-เมษายน นำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้า
- ทำโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ
- นำเสนอโครงการต่อ อบต. ตูมใหญ่เพื่อพิจารณา
- แผนการดำเนินการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ประชุมวางแผนงานก่อนลงปฏิบัติงาน เทพทันใจ วัดปะคำสำโรง ติดป้ายชื่อพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น พระนอน วัดบ้านปะคำสำโรง พระนอน วัดบ้านปะคำสำโรง เจ้าแม่ตะเคียนทอง กิจกรรมจิตอาสาและการยกระดับการท่องเที่ยว ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์