กระผมนายณัฐภาส ดวงกระโทก ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ 1 บ้านหนองลุมพุก หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01
ในช่วงวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ มอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ
ในช่วงวันที่ 7-28 กุมภาพันธ์ 2564 ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร AG01 เข้าพบนายก อบต. บ้านคู เพื่อแนะนำโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น รวมทั้งทีมงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1 บ้านหนองลุมพุก หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกระผมสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 40 ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่
จากการที่กระผมได้ลงพื้นที่ในช่วงวันที่ 7-28 ก.พ. 2564 พร้อมกับทีมงาน จากการสอบถามได้ข้อมูลว่า ประชาชนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดี ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งรายได้หลักของครัวเรือนคือรายได้จากการทำนา และเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมที่กระผมจะขอยกมาพูดคือแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ ของชุมชนโนนสะอาด ซึ่งเป็นโครงการของชุมชนที่มีความร่วมมือกันของทุกครัวเรือนในบ้านโนนสะอาด แปลงปลูกผักปลอดสารพิษตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 3 ไร่ซึ่งเป็นที่ดินของชุมชนเองและมีการจัดการวางแผนของสมาชิกในชุมชน มีการแบ่งพื้นที่แปลงปลูกผักให้เท่า ๆ กันของทุกครัวเรือน โดยชนิดผักที่ปลูกก็คือผักที่ประชาชนใช้เป็นอาหารในครัวเรือน การปลูกจะใช้รูปแบบอินทรีย์ทั้งหมด ไม่มีการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือปุ๋ยเคมี โดยชาวบ้านมีการหมักปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง เรียกได้ว่าเป็นผักปลอดสารพิษที่ดีต่อสุขภาพมากๆ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านโนนสะอาดมีสุขภาพที่แข็งแรงนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การจัดการเรื่องการตลาดของผลผลิตจากแปลงผัก ซึ่งยังไม่มีตลาดรองรับที่ชัดเจน มีเพียงพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อในพื้นที่ และไม่ได้มีการรับซื้อที่ต่อเนื่อง ปัญหาของชุมชนอีกด้านหนึ่งก็คือ ไม่มีไฟฟ้าตามถนนหนทางต่างๆ นำมาซึ่งความยากลำบากในการสัญจรไปมาและความไม่ปลอดภัยในเวลากลางคืน
ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
ผลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านมีการสวมหน้ากากอนามัยทุกคน และมีจุดบริการเจลล้างมือในชุมชน ตามร้านค้าและตลาดนัด มีการวัดอุณหภูมิก่อนการรวมกลุ่มตามสถานที่ต่างๆ ประชาชนส่วนใหญ่ทราบข่าวการแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด-19 เป็นอย่างดี
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้องเดินทางออกไปจากบ้าน ส่งผลให้เกิดปัญหาในการให้ข้อมูล ทำให้เกิดปัญหาต้องลงพื้นที่ซ้ำอีกครั้ง การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางทีมงานได้ประสานงานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนล่วงหน้าก่อนเข้าเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามเป้าหมาย
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ในเดือนมีนาคม 2564 ทีม AG01 มีแผนการดำเนินงานโดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบทุกครัวเรือน เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและเพื่อให้สามารถวางแผนการดำเนินงานในเดือนต่อ ๆ ไป
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน
กระผมได้ทำการลงอบรม รายวิชาดิจิทัลและภาษาอังกฤษ

ลงสำรวจแปลงปลูกผักบ้านโนนสะอาด

ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน บ้านโนนสะอาด

เก็บข้อมูลบ้านโนนสะอาด