1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน มีนาคม 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองแอ่ หมู่ 5 บ้านคู หมู่ 6 และ บ้านดอนกลาง หมู่ 7 บ้านคู หมู่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ 15 ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์

บทความประจำเดือน มีนาคม 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองแอ่ หมู่ 5 บ้านคู หมู่ 6 และ บ้านดอนกลาง หมู่ 7 บ้านคู หมู่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ 15 ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์

ดิฉันนางสาวจิตรเลขา  เจนไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองแอ่ หมู่ 5  บ้านคู หมู่ 6 และ บ้านดอนกลาง หมู่ 7 บ้านคู หมู่ 14  บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ 15 ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่

ดิฉันได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ลงพื้นที่สัมภาษณ์ สำรวจและเก็บข้อมูลเป็นบ้านของคุณยายท่านหนึ่งซึ่งอายุ 60 กว่าปี จากแบบฟอร์ม 01 และแบบฟอร์ม 02 เราได้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบของโควิด ความเสี่ยงของ covid และสัมภาษณ์ถึงภาระหนี้สิน ปัญหาหน้าที่การงานที่คนในหมู่บ้านต้องประสบ อีกทั้งเราได้สอบถามถึงความต้องการที่ท่านและคนในชุมชนอยากทำเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ทำให้เราทราบถึงปัญหาผลกระทบจากโควิดและปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ปัญหาที่พบใน 5 หมู่บ้านที่รับผิดชอบ คือ ยาเสพติด ซึ่งคนในชุมชนต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและจริงจัง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ให้หมดไปอีก

ทั้งในเรื่องของหน้าที่การงานอาชีพของคนในชุมชนซึ่งเมื่อมีโควิตคนในชุมชนไม่มีรายได้ ไม่มีอาชีพ ทำให้เกิดความยากลำบากในการหาเลี้ยงคนในครอบครัว นอกจากนี้ดิฉันยังได้ไปสำรวจ สอบถามและสัมภาษณ์จากชาวบ้านอีกหลายหลัง พบว่ามีปัญหาและความต้องการที่คล้ายคลึงกัน คนในชุมชนต้องการการช่วยเหลือจากภาครัฐและหน่วยงานที่จะช่วยยกระดับชุมชน ให้คนในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ที่จะเลี้ยงคนในความครัวเพื่อบรรเทาความยากลำบากในการใช้ชีวิต

และมีสภาพแห้งแล้งและระบบจัดการขยะไม่ค่อยดีนัก คนในชุมชนต้องการการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนในเรื่องการจัดการขยะ อีกทั้งในเรื่องการงานและอาชีพ ซึ่งผู้คนในชุมชนได้กล่าวถึงเจตนารมย์ อยากจะให้คนในชุมชนมีอาชีพเป็นของตัวเองเพื่อที่จะไม่ต้องเข้าไปหางานทำในตัวเมือง เพื่อที่คนที่มีความสามารถจะอยู่ในชุมชนของตนและช่วยพัฒนาชุมชนน ข้าพเจ้ายังได้เห็นการทำเสื่อ การทำมัดหมี่ การทำหัตถกรรมจากไม้ไผ่ ในแต่ละหมู่บ้าน แต่มีเพียงกลุ่มน้อยเท่านั้นที่ได้ทำ คนในชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดอาชีพ แต่เมื่อคนในชุมชนได้เห็นทีมงานมาสำรวจ สอบถามเพื่อหาแนวทางพัฒนาชุมชน ผู้คนก็มีความหวังและมั่นใจว่าโครงการนี้จะช่วยยกระดับชีวิตของพวกเขาให้ยิ่งดีขึ้นอย่างแน่นอน

ภาพที่ 1 สัมภาษณ์เก็บข้อมูลแบบสอบถาม

ภาพที่ 2 แจกแบบสอบถาม 01 02

ภาพที่ 3 แจกแบบสอบถาม 01 02

ภาพที่ 4 นัดประชุมกันในกลุ่มที่ อบต

ภาพที่ 5 แจกแบบสอบถาม 01 02

 

อื่นๆ

เมนู