1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือนเมษายน 2564 กลุ่มAG01(2)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ในการลงพื้นสำรวจวิสาหกิจชุมชน ณ บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคร้อและบ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนเมษายน 2564 กลุ่มAG01(2)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ในการลงพื้นสำรวจวิสาหกิจชุมชน ณ บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคร้อและบ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวศิราณี เหลาเลิศ ประเภทนักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ 4 หมู่บ้าน บ้านบง หมู่ที่ 4,  บ้านโคกเมฆ หมู่ที่ 11 , บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

 

ในเดือนเมษายน ดิฉันได้ปฏิบัติงาน ดังนี้

ในช่วงวันที่ 1 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร ลงพื้นที่พร้อมกับทีมงานทั้งหมดโดยเริ่มจากบ้านโนนสะอาดซึ่งดิฉันและทีมงานได้เข้าร่วมประชุมพร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ใหญ่บ้านเพื่อสอบถามถึงรายละเอียดกับตัวแทนกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ จากการสอบถามสมาชิกในกลุ่มได้ทราบว่าสมาชิกในกลุ่มมี 55 คน  ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนและจำนวนแปลงผักมีทั้งหมด 13 ไร่ พืชที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นผักสวนครัว เช่น ผักชี กระเทียม กะหล่ำถั่วดิน มะเขือเทศ เป็นต้น โดยจะมีสระน้ำสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ปัญหาก็คือน้ำที่สำรองไว้ก็ยังไม่พอใช้เนื่องจากอากาศร้อนมากทำให้น้ำระเหยเร็ว

ภาพที่ 1 ทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรประชุมกับผู้ใหญ่บ้าน

ภาพที่ 2 สำรวจแปลงผัก

ภาพที่ 3 ทีมงานถ่ายภาพพร้อมกับผู้ใหญ่บ้าน

ต่อด้วยบ้านโนนตะคร้อ ดิฉันเเละทีมงานได้เข้าไปสอบถามกลุ่มทอผ้าไหม จากการสอบถามได้ข้อมูลคือ กลุ่มนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจ สมาชิกในกลุ่ม มี 30 คน และทำมาแล้ว 20 ปี สมาชิกในกลุ่มทำเป็นอาชีพหลัก ในการทำก็เริ่มทำตั้งแต่การเลี้ยงไหมเอง ทอเอง ทำเองทุกอย่าง และเคยมีหน่วยงานมาออกแบบลวดลายผ้าไหมให้ ลวดลายที่นิยมทำคือ ลายนกยูงและตีนเเดง ในการย้อมสีจะเป็นสีธรรมชาติเเละสีเคมี สีธรรมชาติจะมีจากเปลือกไม้ ใบยูคา ใบสมอและในการขายก็จะมีแหล่งรับซื้อ คือส่งร้านภูฟ้าเเละมีพ่อค้ามาเลือกซื้อเอง แต่ราคาที่ได้ก็จะต่างกัน

ภาพที่ 4 ผ้าไหมที่คนในกลุ่มทอ

ภาพที่ 5 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพที่ 6 ถ่ายรูปร่วมกับชาวบ้าน

 

และสุดท้ายบ้านโคกเมฆเข้าไปสอบถามกลุ่มทอผ้าไหม จากการสอบถามได้ข้อมูลดังนี้ กลุ่มนี้มีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเเล้ว เเต่ไม่ได้จดต่อเนื่องทุกปี แต่ปัจจุบันจดต่อแล้ว สมาชิกในกลุ่มมี 20 คน ในการขายก็มีเเหล่งส่งคือส่งเข้าสวนจิตรลดา รับไม่จำกัด และขายกันเอง ในการผลิต จะผลิตได้ 30 ผืน/คน/ปี และปัญหาของกลุ่มนี้ก็คล้าย กับหมู่บ้านข้างต้น คือ สีตกง่าย

ภาพที่ 7 สอบถามชาวบ้านบ้านโคกเมฆ

ในส่วนของการฝึกทักษะ ดิฉันได้ทำการฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษ ด้านสังคมและด้านดิจิตอลเรียบร้อยแล้วส่วนด้านการเงินดิฉันจะฝึกให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 3 หมู่บ้าน

        ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริม คือการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ การเลี้ยงไหม การทอผ้า การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น

        แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การจัดการน้ำ แหล่งน้ำ และไฟฟ้า ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ และระบบชลประทาน ทำให้น้ำไม่พอใช้ตลอดปี ส่วนของไฟฟ้าที่มีปัญหาคือ ชาวบ้านอยากได้ไฟฟ้าไปใช้ในงานเกษตร เช่น ตามไร่นา ตามสวน

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

       มีแผนการดําเนินงานใน เดือน พฤษภาคม 2564 โดย ทําการ ลงพื้น ที่กลุ่มที่เป็นวิสาหกิจชุมชน/ที่ยังไม่เป็นวิสาหกิจชุมชนและสำรวจพื้นที่โคกหนองนาโมเดล ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดําเนินงานต่อไป

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู