1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่14 บ้านหนองผ้ามุ่ง หมู่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ หมู่ที่5 หมู่ที่ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัด บุรีรัมย์

บทความประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่14 บ้านหนองผ้ามุ่ง หมู่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ หมู่ที่5 หมู่ที่ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัด บุรีรัมย์

 

         ดิฉันนางสาว ชนัฐดา หลวงมัจฉา ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่  บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่14 บ้านหนองผ้ามุ่ง หมู่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ หมู่ที่5 หมู่ที่ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG02

          ในช่วงวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ มอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ

          ในช่วงวันที่ 7-28 กุมภาพันธ์ 2564 ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร AG02 เข้าพบนายก อบต. บ้านคู เพื่อแนะนำโครงการและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น รวมทั้งทีมงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้านคือ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่14 บ้านหนองผ้ามุ่ง หมู่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ หมู่ที่5 ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ130ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูต ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

        

                                                                                                                                                                                                                                    

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน

          ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ การเลี้ยงไหม การทอผ้า การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จำทำนา

          แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การจัดการน้ำ แหล่งน้ำ ปัญหาของชุมชนส่วนใหญ่ จะเป็นในเรื่อง น้ำและไฟฟ้า เรื่องน้ำที่ใช้ในการอุปโภค การทำการเกษตร ไม่เพียงพอในหน้าแล้ง ส่วนของไฟฟ้า ไม่มีไฟฟ้าตามถนนหนทางต่างๆ นำมาซึ่งความยากลำบากในการสัญจรไปมาและความไม่ปลอดภัยในเวลากลางคืน (ลองเรียบเรียงเขียนให้เข้าใจง่ายครับ)

                                   

              

 

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

          ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบเว้นระยะห่างอาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชน

 

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG02 จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนเดิมอีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้ 

 

 

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

          ทีม AG02 มีแผนการดำเนินงานในเดือน มีนาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป 

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ได้รู้ปัญหาในชุมชน ได้รับรู้ความต้องการของชุมชน 

 

อื่นๆ

เมนู