1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน เมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 บ้านบง หมู่ที่ 4 บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8 บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9 และบ้านหนองจาน หมู่ที่ 10 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน เมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 บ้านบง หมู่ที่ 4 บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8 บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9 และบ้านหนองจาน หมู่ที่ 10 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

      ดิฉันนางสาวพัชราภรณ์ มั่งไธสง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลา 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 บ้านบง หมู่ที่ 4 บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8 บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9  และบ้านหนองจาน หมู่ที่ 10 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)

      ในช่วงวันที่ 1 เมษายน 2564 ทีมงานตำบลบ้านคูAG01(2)และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงไปทำการสำรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านโนนสะอาด การปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนตะคร้อและบ้านโคกเมฆ การทอผ้าไหม 

รูปภาพที่ 1. พูดคุยกับผู้นำกลุ่ม การปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด

รูปภาพที่ 2. ลงพื้นที่สำรวจแปลงผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด

รูปภาพที่ 3. ทีมงานตำบลบ้านคูAG01(2)ถ่ายภาพรวมร่วมกับผู้นำกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษและอาจารย์ประจำหลักสูตร

รูปภาพที่ 4. พูดคุยกับผู้นำกลุ่ม การทอผ้าไหม บ้านโนนตะคร้อ

รูปภาพที่ 5. ลงสำรวจการทอผ้าไหม 

รูปภาพที่ 6. ทีมงานตำบลบ้านคูAG01(2)ถ่ายภาพรวมร่วมกับผู้นำกลุ่มทอผ้าไหมและอาจารย์ประจำหลักสูตร

รูปภาพที่ 7. พูดคุยกับผู้นำกลุ่ม การทอผ้าไหม บ้านโคกเมฆ

รูปภาพที่ 8. ลงสำรวจการทอผ้าไหม 

รูปภาพที่ 9.ทีมงานตำบลบ้านคูAG01(2)ถ่ายภาพรวมร่วมกับผู้นำกลุ่มทอผ้าไหมและอาจารย์ประจำหลักสูตร

      ในช่วงวันที่ 5 เมษายน 2564 ทีมงานที่ได้รับผิดชอบ ได้ลงไปสำรวจพื้นที่ บ้านบง เรื่องโคกหนองนาโมเดล เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ โดย ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” เช่น ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ ต้องเป็น“คลองไส้ไก่”

รูปภาพที่ 10. ลงสำรวจพื้นที่ โคกหนองนาโมเดล บ้านบง

รูปภาพที่ 11. ลงสำรวจพื้นที่ โคกหนองนาโมเดล บ้านบง

รูปภาพที่ 12. ลงสำรวจพื้นที่ โคกหนองนาโมเดล บ้านบง

รูปภาพที่ 13. ลงสำรวจพื้นที่ โคกหนองนาโมเดล บ้านบง

      ในช่วงวันที่ 6-9 เมษายน 2564  ทีมงานที่ได้รับผิดชอบ ได้ทำการลงพื้นที่ปฎิบัติงาน สำรวจและเก็บข้อมูลในชุมชนโดยใช้แบบฟอร์ม 01 และ 02 เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ  5  หมู่บ้านคือ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 บ้านบง หมู่ที่ 4 บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8 บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9 และบ้านหนองจาน หมู่ที่ 10 โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบและเก็บข้อมูลให้ได้ทุกครัวเรือน

รูปภาพที่ 14. ลงไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและไปแจกแบบฟอร์ม (01) ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม (02) ผลกระทบจากโรคโควิด-19

รูปภาพที่ 15. ลงไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและไปแจกแบบฟอร์ม (01) ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม (02) ผลกระทบจากโรคโควิด-19

      ในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 50 ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูต ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนเมษายน 

      ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้ทำการฝึกทักษะทั้ง 4  ด้าน ครบ 20 ชั่วโมงเรียบร้อยแล้ว คือ ด้านภาษาอังกฤษ ด้านสังคม  ด้านดิจิทัล ส่วนด้านการเงิน 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน 

      ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ การเลี้ยงไหม การทอผ้า การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น 

     แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การจัดการน้ำ แหล่งน้ำ และไฟฟ้า ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ และระบบชลประทาน ทำให้น้ำไม่พอใช้ตลอดปี ส่วนของไฟฟ้าที่มีปัญหาคือ ชาวบ้าน อยากได้ไฟฟ้าไปใช้ในงานเกษตร เช่น ตามไร่นา ตามสวน

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 

     ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

      ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG01(2) จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนเดิมอีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้ 

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

    ทีม AG01(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน เมษายน 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

อื่นๆ

เมนู