ดิฉัน นางสาวชฎาพร  ชูชีพ  ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

กิจกรรมและผลการดำเนินงานในเดือนพฤศจิกายน มีดังนี้

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับทีมงาน AG01(2) เรื่องการจัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ก่อนการจัดอบรม

วันที่ 30 ตุลาคม 2564 จัดอบรมอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ ให้ความรู้เรื่องการทำหญ้าหมักสำหรับโคและการทำอาหารข้นสำหรับไก่พื้นบ้าน จัดอบรม ณ หอประชุมอบต.บ้านคู ในการจัดอบรมทางทีมงานได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติการเฝ้าระวังของโควิด-19  โดยก่อนการเข้าอบรมได้มีการลงชื่อ ตรวจวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ให้กับผู้เข้าร่วมอบรม และมีผู้เข้าร่วมอบรมไม่เกิน 50 คน

ในการอบรมได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านปศุสัตว์มาให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมอบรม ในช่วงเช้าจะเป็นการให้ความรู้ด้านทฤษฎี เกี่ยวกับการให้อาหารโคและไก่พื้นบ้าน และวิธีการเพิ่มโปรตีนให้กับอาหาร

หลังจากนั้นวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมแต่ละกลุ่มซึ่งแบ่งตามการเลี้ยงเป็นกลุ่มเลี้ยงโคและกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน โดยให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละกลุ่มระบุหัวข้อปัญหาในการเลี้ยง อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงและวัคซีนที่เคยได้รับ โดยมีทางทีมงานเป้นผู้เขียนลงในกระดาษนำเสนอให้และนำไปสรุปเป็นข้อมูลโดยรวม พร้อมทั้งนำเสนอให้กับทางวิทยากรและอาจารย์ประจำหลักสูตรฟัง

ในช่วงบ่ายเป็นการให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากรได้สาธิตวิธีการทำหญ้าหมักสำหรับโคและอาหารข้นสำหรับไก่พื้นบ้านที่สามารถเพิ่มโปรตีนให้กับอาหาร

การทำหญ้าหมัก 100 กิโลกรัม สำหรับโค

วัตถุดิบ

  1. หญ้าสับ
  2. กระถิน
  3. ถั่วฮามาต้า
  4. เกลือ

วิธีการทำ

นำหญ้าที่สับไว้ กระถิน ถั่วฮามาต้า  มาเติมเกลือ 2 % จากน้นคนให้เข้ากัน  และนำใส่ถุงปุ๋ยอัดให้แน่น ไล่อากาศออกมาให้หมดและมัดปากถุงให้สนิท ระยะเวลาในการหมักไว้ 21 วัน และห้ามวางตากแดด

การทำอาหารข้น 100 กิโลกรัม สำหรับไก่

วัตถุดิบ

  1. ข้าวโพด 
  2. รำละเอียด 
  3. ปลายข้าว 
  4. ปลาป่น
  5. กากถั่ว

วิธีการทำ

นำข้าวโพด 50 กก. รำละเอียด 25 กก. ปลายข้าว 10 กก. ปลาป่น 15 กก. และกากถั่ว ( กากถั่วต้องผสมน้ำมันพืชเพื่อเป้นการลดฝุ่น) มาผสมให้เข้ากัน และนำใส่ถังเปิดฝาไว้ให้สนิท เวลาเก็บอย่าให้ใกล้ความชื้น 

หลังจากสาธิตวิธีการทำเสร็จ ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานได้จัดเตรียมอาหารข้นและหญ้าหมักใส่ถุงไว้ และช่วงท้ายการอบรมได้มีกิจกรรมการตอบคำถามเพื่อรับของรางวัลคืออาหารข้นและหญ้าหมักไว้ให้กับทางผู้เข้าร่วมอบรม และของรางวัลอย่างอื่นที่อาจารย์ประจำหลักสูตรได้เตรียมมา

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 จัดอบรมเรื่องการสร้างนักเล่าเรื่อง ณ หอประชุมอบต.บ้านคู ในการจัดอบรมทางทีมงานได้เชิญวิทยากรผู้เชียวชาญมาให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมแบ่งเป็นกลุ่มเพื่อเป็นการแบ่งกันเล่าเรื่องของแต่ละกลุ่มที่มีความเข้าใจและชำนาญในเรื่องนั้น มีกลุ่ม ดังนี้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แบ่งออกเป็น 1.โคกหนองนาโมเดล 2.ฟาร์มโคขุน 3.ผักปลอดสารพิษ 4.สวนอินทผลัม ด้านวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น หลวงพ่ออูป ด้านผลิตภัณฑ์งานฝีมือ แบ่งออกเป็น กลุ่มทอเสื่อบ้านหนองผักบุ้ง กลุ่มผ้าไหมบ้านโคกเมฆ กลุ่มผ้าไหมบ้านทุ่งบ่อ กลุ่มผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อ และสุดท้ายด้านการท่องเที่ยวแบบชิล ๆ

หลังจากแบ่งกลุ่มกันเรียบร้อยแล้ว วิทยากรได้ให้ทางทีมงานเข้าร่วมประจำกลุ่ม เพื่อสอบถามข้อมูล และจดบันทึกเรื่องราวการเล่าเรื่องของผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อที่จะนำข้อมูลที่เรียบเรียงแล้วไปนำเสนอ และระะหว่างนี้วิทยากรก็ได้เข้ามารับฟังการเล่าเรื่องของแต่ละกลุ่มด้วย

หลังจากเรียบเรียงข้อมูลเรียบร้อย ทุกกลุ่มก็ได้ออกมาเล่าเรื่องในด้านที่ตัวเองเชี่ยวชาญหรือสถานที่ที่ตัวเองรู้จักได้เป็นอย่างดี หลังจากเล่าเสร็จแต่ละกลุ่ม      วิทยากรก็ได้ให้คำแนะนำ รูปแบบในการเล่าหรือส่วนที่ต้องปรับในการเล่าให้น่าฟังให้กับผู้ที่เล่าเรื่องนั้นทุก ๆ คนเป็นอย่างดี

การฝึกอบรมทักษะต่าง ๆ 
ได้ทำการฝึกทักษะเสร็จครบทุกด้านแล้ว ได้แก่
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy

แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือนธันวาคม 2564 คณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีแผนการดำเนินงานดังนี้
1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล การจัดกิจกรรม One Day Trip การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และสรุปแผนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือบ้านโนนสะอาด และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติประจำตำบล
3. จัดกิจกรรม One Day Trip โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ และคืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้แก่ชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู