ดิฉัน นางพนารัตน์ ชำนิกล้า ประชาชนทั่วไป ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
กลุ่มทอผ้าไหมย้อมสีที่ได้จากธรรมชาติเป็นความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจากปู่ย่าตายาย แหล่งวัตถุดิบสีธรรมชาติยังสามารถหาได้จากต้นไม้ใบไม้ที่ให้สีสันสวยงามตามที่เราต้องการและหาได้ไม่ยาก ซึ่งปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติกันมากขึ้น เพราะผิดพันธ์ที่ได้จากธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมากและกรรมวิธีที่แตกต่างกันทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสวยงามหลากหลาย
วัตถุประสงค์ในการตั้งศูนย์เรียนรู้ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ
- เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพและรายได้เสริม
- เพื่อสืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย
- เพื่อนำทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- เพื่อให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและยางไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและบริโภค
วัตถุดิบธรรมชาติได้แก่
โคลนตม แก่นขนุน แก่นฝาง ขมิ้น ตัวครั่ง เปลือกมะพร้าว และใบแก้ว
ขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติ
- ต้มน้ำให้เดือดในภาชนะที่ใหญ่พอประมาณขึ้นอยู่กับจำนวนผ้าที่จะย้อมด้วยใส่เกลือลงไปพร้อมกับน้ำเพื่อให้สีติดทนนานและสีสดขึ้น
- นำวัตถุดิบให้สีที่เตรียมไว้มาสับให้เล็กพอประมาณแล้วใส่ในถุงผ้าหรือตาข่ายที่เตรียมไว้แล้วนำไปต้มกับน้ำที่เดือดเพื่อสกัดเอาสารที่มีอยู่ในนั้นออกมาให้สังเกตสีที่ออกมาถ้าเข้มพอแล้วเป็นที่พอใจ
- นำผ้าที่ผูลายเสร็จลงไปในหม้อต้มสีให้กับด้านภาพหรือกวนให้ตลอดเพื่อให้สีผ้าดูสีสม่ำเสมอทั้งผืนให้สังเกตสีที่ซึมเข้าไปในเนื้อผ้า ถ้าพอใจหรือเหมาะสมแล้วจึงนำออกมาวางให้เย็นก่อน
- แล้วค่อยเอามาลงล้างขยี้เบาๆในน้ำตัวทำปฏิกิริยาเพื่อให้เกิดสีใหม่เช่นน้ำสนิม น้ำสายส้ม น้ำปูนใส น้ำด่างขี้เถ้า ในขณะที่แช่น้ำในตัวทำปฏิกิริยาแต่ละชนิดให้สังเกตถึงความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงสีของแต่ละชนิดไว้ด้วยเพราะแต่ละตัวจะให้สีแตกต่างกันถ้าพอใจแล้วให้แกะลายออกแล้วนำไปตากแดดให้แห้งถ้ายังไม่พอใจในสีที่ปรากฏให้นำไปล้างน้ำสะอาดแล้วนำกลับไปย้อมกับตัวทำปฏิกิริยาชนิดอื่นๆอีกแต่ข้อควรระมัดระวังคือในระหว่างที่ผ้าาเปลี่ยนตัวทำปฏิกิริยาให้ล้างน้ำเปล่าก่อนเพื่อไม่ให้ผสมกันหรือถ้าไม่พอใจอีกอาจนำไปต้มกับน้ำเปลือกไม้อีกครั้งเพื่อย้อมใหม่จนเป็นที่พอใจแล้วแก้ผ้าที่มัดไว้นำไปตากแดดให้แห
การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ย้อมสีธรรมชาติจะสืบทอดจากลูกสู่หลานเป็นวัฒนธรรมของชาวบ้านที่สมควรดำรงไว้เป็นเอกลักษณ์ของในหมู่บ้านที่หาดูได้ยาก
สิ่งที่ได้เรียนรู้
– มีความรู้ด้านการพัฒนาอาชีพด้านปศุสัตว์
– มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)