กระผม นายสิริมงคล รอบคอบ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมการอบรมส่งเสริมอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์(สัตว์น้ำ)
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
“อบรมส่งเสริมอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ)”
กิจกรรมการอบรมส่งเสริมอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ สัตว์น้ำ ชาว U2T ได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร ท่าน ผศ. ดร. บรรเจิด สอนสุภาพ ร่วมกับชาวบ้านในตำบลบ้านคู โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน เริ่มกิจกรรมด้วยการบรรยายการจัดการสัตว์น้ำพันธุ์ รูปแบบของการเลี้ยงปลาน้ำจืด อาหาร โรค และอาชีพเสริมด้านสัตว์น้ำที่น่าสนใจ โดยมีเนื้อหา ดังนี้
“กิจกรรมบรรยายอาชีพใหม่ด้านปศุสัตว์ (สัตว์น้ำ)”
การเลี้ยงปลาในบ่อ (pond culture) คือ การเลี้ยงในสภาพที่ปรับแต่งโดยการขุดหรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สภาพทีนั้นสามารถเก็บกักน้ำไว้เลี้ยงปลาได้ รูปร่างขนาดและความลึกของบ่อขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการเลี้ยง เช่น บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ บ่อเลี้ยงปลาขนาดตลาด เป็นต้น บ่อที่ใช้เลี้ยงปลามี 2 ชนิด ได้แก่ บ่อซีเมนต์และบ่อดิน
การเลี้ยงปลาในบ่อดินอาจจะแบ่งวิธีเลี้ยงออกได้เป็น 2 รูปแบบ 1.) การเลี้ยงปลาแบบเดี่ยว (mono culture) เป็นการเลี้ยงปลาในบ่อเพียงชนิดเดียว เช่น การเลี้ยงปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลานิล ปลาหมอเทศ ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาสลิด 2.) การเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกัน (polyculture) เป็นการเลี้ยงปลาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยเลือกชนิดที่มีการหากินต่างระดับความลึกของาหรือหากินอาหารต่างประเภทกัน โดยมีผลประโยชน์ร่วมกันจะต้องไม่ทําอันตรายต่อกัน และไม่แย่งอาหารงกันและกัน เช่น การเลี้ยงปลาสวายร่วมกับปลานิลและปลาไน ปลาตะเพียนขาวกับปลาใน ปลาช่อนกับปลานิล ปลาช่อนกับปลาดุก การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับปลานิล เป็นต้น
การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับอาชีพอื่น (integrate farm)
- การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการปลูกพืช เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงปลาในร่องสวนผลไม้ หรือการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืชผัก
- การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์อื่น เช่น การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด ไก่ สุกร โดยการเลี้ยงสัตว์ไว้ใกล้บ่อปลาหรือบนบ่อปลา เพื่อให้มูลสัตว์และเศษอาหารตกลงในบ่อเป็นอาหารของปลาโดยตรง
การเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด ปัจจุบันการเลี้ยงปลาน้ำจืดได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทำให้มีการผสมปลาสายพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา รวมถึงการนำเข้าชนิดพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งก่อนที่จะทำการเลี้ยงปลาผู้ประกอบการควรที่จะศึกษาว่าปลาที่จะเลี้ยงมีพฤติกรรมการกินอาหารอย่างไรหรือกินอาหารชนิดใดเป็นหลัก ชนิดปลานํ้าจืดที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันมีประมาณ 14 ชนิด ตัวอย่างเช่น ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาแรดและปลานวลจันทร์เทศ เป็นต้น
ขั้นตอนการปล่อยพันธุ์ปลา นําลูกปลาดุกใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ค่อยๆนำน้ำในโอ่งเติมไปทีละน้อย เพื่อปรับอุณหภูมิค่อย ๆ ปล่อยลูกปลาดุกลงในโอ่งซีเมนต์ เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่จํากัดการเคลื่อนไหวและการใช้พลังงานก็น้อยและในการเลี้ยงปลาแบบนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือนจะได้ปลาขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม และในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใช้นํ้าหนักชีวภาพ เพื่อช่วยในการปรับคุณภาพน้ำได้อีกด้วย โดยจะใส่ทุกครั้งหลังจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือตามความเหมาะสมหมักชีวภาพที่นำมาใช้จะผลิตขึ้นมาเอง
“กิจกรรมการผลิตอาหารสัตว์น้ำต้นทุนต่ำ”
หลังจากฟังบรรยายแล้ว ช่วงบ่ายเราจะทำกิจกรรมการผลิตอาหารสัตว์น้ำต้นทุนต่ำ วัตถุดิบและขั้นตอนกระบวนการผลิต โดยใช้กลุ่มเดิมทั้ง 5 กลุ่มดำเนินการผลิตอาหารสัตว์น้ำ ซึ่งทางวิทยากรได้กำหนดสูตรให้กับชาวบ้านได้ชั่งตวงวัตถุดิบตามสูตรที่กำหนด ประกอบด้วย
- ปลาบ่น 1.3 กิโลกรัม ให้โปรตีน 13 เปอร์เซ็นต์
- กากถั่วเหลือง 3.3 กิโลกรัม ให้โปรตีน 33 เปอร์เซ็นต์
- ปลายข้าว 4.7 กิโลกรัม ให้โปรตีน 47 เปอร์เซ็นต์
- รำละเอียด 0.5 กิโลกรัม ให้โปรตีน 5 เปอร์เซ็นต์
- วิตามินและแร่ธาตุรวม 0.05 กิโลกรัม ให้โปรตีน 0.5 เปอร์เซ็นต์
- น้ำมันพืช 0.3 กิโลกรัม ให้โปรตีน 3 เปอร์เซ็นต์
รวม 10 กิโลกรัม
หลังจากได้วัตถุดิบตามกำหนดแล้ว ชาวบ้านก็ทำการผสมวัตถุดิบให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5-10 นาที ก่อนจะได้นำไปสู่ขั้นตอนต่อไป นั้นก็คือ ขั้นตอนการอัดเม็ดอาหาร โดยใช้เครื่องอัดเม็ดอาหารสำเร็จรูป หลังจากที่ได้อาหารสัตว์น้ำแบบอัดเม็ดแล้ว ชาวบ้านก็แบ่งกันเป็นสัดส่วนอย่างเท่าเทียมกัน
“กิจกรรมคืนองค์ความรู้สู่ชุมชนและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้”
“ลงพื้นที่สำรวจศูนย์การเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาดประจำตำบลบ้านคู”
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มด้วยความสามัคคีเพื่อแสดงออกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิก U2T ตำบลบ้านคู
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนที่ดีต่อคณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน
- วิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบระเบียบของคณะทีมงานผู้ปฏิบัติงาน
- ได้เรียนรู้กระบวนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ เพื่อสร้างประโยขน์ต่อสังคม
- ได้เรียนรู้กระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำต้นทุนต่ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
- คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
- จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
- จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
- นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)