ดิฉัน นางสาวชฎาพร ชูชีพ ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
กิจกรรมและผลการดำเนินงานในเดือนสิงหาคม มีดังนี้
วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ดิฉันและทีมงานนักศึกษาช่วยพี่บัณฑิตทำรายงานสรุปผลการทำงาน ไตรมาสที่ 1-2 และแผนการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 และผลงานที่คาดว่าจะบรรลุเป้าหมาย เพื่อไปนำเสนอรายงานให้กับทางคณะกรรมการประเมินหลักสูตร AG01
วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับทางอว.และอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อเข้ารับฟังการแนะนำวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน
วันที่ 25 กรกฎาคม 2564 เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับทีมงาน AG01 (2) และอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อรับฟังคำชี้แจงแก้ไขรายงานการสรุปผลการทำงาน
วันที่ 26 – 28 กรกฎาคม 2564 สรุปผลการทำงานในไตรมาสที่ 1 (เดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม) และไตรมาสที่ 2 (เดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม) แผนงานดำเนินงานและผลงานที่คาดว่าจะบรรลุเป้าหมายในไตรมาสที่ 3 พร้อมทั้งนำเสนอรายงานให้กับทางคณะกรรมการประเมินหลักสูตรผ่านทางระบบออนไลน์
วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 เข้าร่วมอบรมออนไลน์ เรื่อง มาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มปลอดโรคกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดย สพ. ญ. เบญญา เบญจศรีรักษ์
การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- เตรียมโรงเรือน อุปกรณ์ แปลงหญ้า อาหารและน้ำให้พร้อมก่อนนำไก่เข้ามาเลี้ยง
- พื้นที่เลี้ยงภายในโรงเรือน
- ไก่ขุน 8 ตัว/ 1 ตารางเมตร และไก่พ่อแม่พันธุ์ 5-6 ตัว/ 1 ตารางเมตร
- สัดส่วนตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัวเมีย 5 ตัว
- ต้องมีรังไข่อย่างน้อย 1 ช่อง/แม่ไก่ 4 ตัว
- มีขอนนอนสำหรับไก่ ยกสูงจากพื้น 50 เซนติเมตร
- แกลบใช้ปูพื้นต้องใหม่และแห้ง
การจัดการอาหาร น้ำ และยาสัตว์
- มีการเก็บอาหารที่สะอาด แห้ง ไม่อับชื้น ต้องไม่มีเชื้อราหรือวัตถุที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ปนเปื้อนในอาหาร สามารถป้องกันการเสื่อมสภาพของอาหารสัตว์ได้
- น้ำที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมือง/ไก่ชน ต้องสะอาด
- ภาชนะหรืออุปกรณ์ให้น้ำและอาหารต้องสะอาด
- มีการจัดเก็บและรักษาคุณภาพวัคซีนและรักษาโรคอย่างเหมาะสม
- มีการใช้ยา วิตามิน และผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อที่มีทะเบียนถูกต้อง
- มีการใช้ยารักษาโรคภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์
โรคที่สำคัญในไก่พื้นเมืองและการควบคุมป้องกันโร
1.โรคนิวคาสเซิล
อาการ
- อ้าปากหายใจ ไอ
- บวมที่รอบดวงตาและคอ
- หัวและคอบิด ปีกห้อย เดินลากขา
- อัตราการออกไข่ลดลงอย่างรวดเร็วหรือหยุดให้ไข่ เปลือกไข่บางหรือหยาบ ไม่มีสี ไข่ขาวเหลวเป็นน้ำ
- อุจจาระมีสีเขียว
การป้องกัน
ใช้วัคซีน สเตรนเอฟ. หยอดจมูกหรือตาลูกไก่พื้นเมืองที่มีอยู่ 1-3 วัน ทำวัคซีน เสตรนเอฟ. ซ้ำอีกเมือไก่พื้นเมืองมีอายุ 21 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 3 เดือน เมื่อไก่พื้นเมืองมีอายุ 2-3 เดือน ใช้วัคซีนสเตรนเอ็ม.พี. แทงผนังปีก 1-2 ครั้ง สามารถป้องกันโรคได้ 6 เดือน
2.โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ
อาการ
- มีอาการทางระบบหายใจ หายใจไม่สะดวก อ้าปากหายใจ หายใจเสียงดังน้ำมูกไหล ตาแฉะ
การป้องกัน
ทำวัคซีนหลอดลมอักเสบโดยหยอดจมูกหรือตา 1-2 หยดในลูกไก่พื้นเมืองเมื่อมีอายุ 14 วัน และทำวัคซีนหลอดลมอักเสบซ้ำอีกเมื่อลูกไก่พื้นเมืองมีอายุ 28 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 3 เดือน
ข้อควรระวัน ห้ามใช้วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ควรใช้
วัคซีนชนิดนี้ห่างกันไม่น้อยกว่า 1 อาทิตย์
3.โรคฝีดาษ
อาการ
- มีเม็ดขึ้นตามใบหน้าหรือหงอน บางครั้งพบเม็ดสีเหลืองในบริเวณปากและลิ้น ไก่พื้นเมืองจะเจ็บปากและลิ้น กินอาหารไม่ได้ ถ้าเกิดมีโรคแทรกก็จะตายไปในที่สุด
การป้องกัน
ทำวัคซีนฝีดาษไก่โดยการแทงผนังปีก 1-2 ครั้ง กับลูกไก่พื้นเมืองที่มีอายุ 7 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 1 ปี
4.โรคอหิวาต์เป็ด-ไก่
อาการ
- จะแสดงอาการตัวร้อนจัด หายใจไม่สะดวก หงอนเหนียงเปลี่ยนเป็น สีดำคล้ำ
การป้องกัน
ทำวัคซีนอหิวาต์ไก่พื้นเมืองโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ซี.ซี. กับไก่พื้นเมืองที่มีอายุ 2 เดือนการรักษา ช่วยได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะหรือซัลฟาคิวน็อกซาลีนละลายน้ำให้กิน
แผนการปฏิบัติงานในเดือนถัดไปทีม AG01(2) มีแผนการดําเนินงานในเดือน กันยายน 2564 โดยทําการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ ให้กับกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด และลงพื้นที่สำรวจข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูล U2T และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดําเนินงานต่อไป