ดิฉัน นางพนารัตน์  ชำนิกล้า ประเภท ประชาชนทั่วไป ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 2, บ้านโคกเมฆ หมู่ 11, บ้านโนนตะคร้อ หมู่ที่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13  ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายลงพื้นที่ติดตามกลุ่มการทอผ้าไหมมัดหมี่และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ

               กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)


ภาพถ่ายรวมการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ

              วันที่ 28 เดือน กรกฎาคม 2564 ดิฉันและทีมงานได้นำเสนอการทำงานที่ผ่านมาต่อคณะกรรมการ วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ทางทีมงานได้จัดอบรมการออกแบบลายผ้าไหมจากลายเก่าที่นำมาผสมผสานเป็นรายใหม่ที่เกิดจากฝีมือของตนเองและได้ติดตามการทำผ้าไหมลายใหม่จากกลุ่มผ้าไหมเพื่อส่งขอมาตรฐานของผ้า และได้ลงพื้นที่เพื่อเชิญกลุ่มผ้าไหมเพื่อจัดอบรมการออกแบบโครงสีในวันที่ 6 สิงหาคม 2564 หัวข้อจัดอบรมคือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ  การจัดโครงสีคือการใช้สีตามหลักการทางศิลปะเพื่อให้เกิดคุณค่าความงามโดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้

             สีเอกรงค์ หมายถึง การใช้สีเพียงสีเดียวที่มีความแตกต่างของน้ำหนักอ่อนแก่ของสีนั้นจากระดับอ่อนสุดไปจนถึงความเข้มสุดโดยใช้วิธีการนำสี หนึ่งผสมด้วยสีขาวหรือการนำสีหนึ่งมาผสมด้วยสีดำ และการนำสีหนึ่งมาผสมด้วยสีเทาหรือสีกลาง


ภาพการทำกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีเอกรงค์

             สีพหุรงค์ หมายถึง การใช้สีหลาย ๆ สีประกอบเป็นโครงสี ได้แก่
               1. สีที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน หมายถึง สีที่มีส่วนผสมของแม่สีวัตถุธาตุทำให้เกิดความกลมกลืนเป็นหลัก แบ่งออกเป็น 3 ตระกูล คือ  
                   – ตระกูลสีเหลือง คือ  สีเขียว – เขียวเหลือง – เหลือง – ส้มเหลือง – ส้ม – ส้มแดง 
                   – ตระกูลสีแดง     คือ  สีม่วงน้ำเงิน – ม่วง – ม่วงแดง – แดง – ส้มแดง – ส้ม  
                   – ตระกูลสีน้ำเงิน  คือ สีเขียว – เขียวน้ำเงิน – น้ำเงิน – ม่วงน้ำเงิน – ม่วง – ม่วงแดง
2. สีที่มีอยู่ในวรรณะเดียวกัน หมายถึง กลุ่มของสีที่ให้ความรู้สึกแตกต่างกันในวงจรสี
– สีวรรณร้อน คือ สีใด ๆ ในวงจรสีที่มีส่วนผสมของสีแดงและสีเหลือง ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รุนแรง ฉูดฉาด เป็นสีที่มีความสดใส และร้อนแรง มีสี 7 สี ได้แก่ สีเหลือง – ส้มเหลือง – ส้ม – ส้มแดง – ม่วง – แดง – ม่วงแดง


ภาพการทำกิจกรรมเกี่ยวกับโครงสีวรรณะร้อน

                   – สีวรรณเย็น คือ สีใด ๆ ในวงจรสีที่มีส่วนผสมของสีน้ำเงินและสีเหลือง ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ ชุ่มชื่น สบายตา เฉื่อยชา มี 7 สี ได้แก่ สีเหลือง – เขียวเหลือง – เขียว – เขียวน้ำเงิน – น้ำเงิน – ม่วงน้ำเงิน – ม่วง


ภาพกิจกรรมเกี่ยวกับโครงสีวรรณะเย็น

สิ่งที่ได้เรียนรู้
           1.​ ได้​เรียน​รู้วิธีการทอผ้าไหมการย้อมสีเส้นไหม

           2​.​ ได้​เรียน​รู้การออกแบบโครงสีเพื่อนำมาปรับการย้อมสีผ้าไหม

แผนการในการดำเนินงานต่อไป
          การทำงานในช่วงเดือนกันยายน ทีมงานจะได้จัดอบรมกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ ในวันที่ 3 กันยายน 2564 เรื่องการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ และลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผ้าไหมในวันที่ 10 กันยายน 2564 และการลงข้อมูลการท่องเที่ยว U2T  พร้อมติดตามลายผ้าไหมลายใหม่เพื่อส่งขอมาตรฐานผ้าของกลุ่มผ้าไหม และทีมงานได้ออกแบบโลโก้ของตำบลบ้านคูให้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มผ้าไหมให้เป็นมาตรฐานในทางทิศเดียวกัน


ภาพการทำกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ วันที่ 6 สิงหาคม 2564

 


ภาพถ่ายลงพื้นที่ติดตามกลุ่มการทอผ้าไหม บ้านโนนตะคร้อ

 

อื่นๆ

เมนู