1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564 กลุ่ม AG01(2) เทคนิคการออกแบบสี วงจรสี และความหลากหลายของสี จากผ้าไหมทอมือร่วมสมัยของตำบลบ้านคู

บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564 กลุ่ม AG01(2) เทคนิคการออกแบบสี วงจรสี และความหลากหลายของสี จากผ้าไหมทอมือร่วมสมัยของตำบลบ้านคู

          ดิฉัน นางสาวพัชราภรณ์  มั่งไธสง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบในเดือนกรกฎาคมเพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนและรับผิดชอบดำเนินการอบรมชาวบ้านเพื่อพัฒนายกระดับการทอผ้าไทย

          กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)

  •           วันที่ 25 กรกฏาคม 2564 ประชุมออนไลน์กับอาจารย์เพื่อวางแผนในการปฎิบัติงาน
  •           วันที่ 26-28 กรกฏาคม 2564 สรุปรายงานผลไตรมาสที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม  สรุปงานไตรมาสที่ 2 เดือนมิถุนายนและกรกฏาคม พร้อมกับนำเสนอต่อคณะกรรมการผ่านทางออนไลน์ ผ่านทาง Google meet   และทำแผนพัฒนาต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 เกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์และการออกแบบตราบรรจุภัณฑ์ประจำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  •           วันที่ 2 สิงหาคม 2564 ประชุมออนไลน์กับอาจารย์เพื่อวางแผนในการปฎิบัติงาน เช่นการทำรายงานผลการทำงานในทุกๆเดือน
  •           วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่ติดตามขั้นตอนการทอผ้าไหม(ออกแบบลายผ้ามัดหมี่) บ้านโนนตะคร้อ

รูปภาพที่ (1)

ภาพนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการมัดหมี่ ทำลายผ้าไหม

       ขั้นตอนการทอผ้าไหม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ออกแบบลาย
  2. กวักไหม
  3. โยกหมี่
  4. มัดหมี่
  5. ย้อมสี
  6. ย้อมสีกลับมามัดหมี่(เพื่อเอาสี)
  7. ย้อมสีอีกรอบ
  8. แกะเชือกฟาง
  9. กวักไหม
  10. ปั่นหลอด
  11. ทอผ้าไหม
  12. ทอเสร็จเป็นผ้าซิ่น พร้อมที่จะจำหน่าย
  •           วันที่ 5 สิงหาคม 2564 เตรียมจัดสถานที่จัดกิจกรรมอบรมการออกแบบโครงสีที่ โรงเรียนวัดสระทอง
  •           วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือกับกลุ่มทอผ้าไหม  โดยวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ   รองศาสตราจารย์สมบัติ ประจญศานต์ มีกลุ่มที่เข้าร่วม ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน คือ บ้านโนนตะคร้อ บ้านทุ่งบอ และบ้านโคกเมฆ ที่ โรงเรียนวัดสระทอง อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

          รูปภาพที่ (2)

เปิดงานการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือกับกลุ่มทอผ้าไหม

รูปภาพที่ (3)

ให้ชาวบ้านทำแบบทดสอบความรู้ก่อนที่จะพาไปทำความรู้จักกับวงจรของสี การจัดโครงสี

รูปภาพที่ (4)

ให้ชาวบ้านทำแบบทดสอบความรู้ก่อนที่จะพาไปทำความรู้จักกับวงจรของสี การจัดโครงสี และช่วยตรวจดูคำถามให้กับแม่กลุ่มทอผ้าไหมเพราะบางคนไม่ได้สวมใส่แว่นตา

          เรื่องวงจรสี

ความเป็นสีแท้ คือ สีที่อยู่ในวงจรสีทุกสีจะไม่มีสีขาวหรือสีดำเข้าไปผสม กับความเป็นสีแท้

รูปภาพที่ (5)

ขั้นแรกลงสี เรียกว่าแม่สี จะมีทั้งหมด 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน

รูปภาพที่ (6)

ขั้นที่สอง คือ สีที่เกิดจากสีขั้นแรก หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
สีส้ม + สีเหลือง = สีแดง
สีเขียว + สีน้ำเงิน = สีเหลือง
สีม่วง + สีน้ำเงิน = สีแดง

รูปภาพที่ (7)  ภาพสำเร็จของขั้นที่สาม

 ขั้นที่สาม เกิดจากนำเอาแม่สีมาผสมกับสีขั้นที่ 2 โดยจะได้สีใหม่เพิ่มอีก 6 สี ดังนี้
สีแดง + สีม่วง = สีม่วงแดง
สีแดง + สีส้ม = สีส้มแดง
สีเหลือง + สีส้ม = สีส้มเหลือง
สีเหลือง + สีเขียว = สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน + สีม่วง = สีม่วงน้ำเงิน
สีน้ำเงิน + สีเขียว = สีเขียวน้ำเงิน

          เรื่องการจัดโครงสี

  1. สีเอกรงค์ คือ การใช้สีเพียงสีเดียวทีมีความแตกต่างของน้ำหนักอ่อนแกของสีนั้นจากระดับอ่อนสุดไปจนถึงความเข้มสุด โดยการนำสีใดสีหนึ่งมาผสมกับสีขาวหรือการนำสีใดสีหนึ่งมาผสมกับสีดำ

รูปภาพที่ (8)

 ในภาพดังกล่าวคือการนำสีน้ำเงินไปผสมกับขาวและผสมกับสีดำ และสีที่ได้จะอยู่ในวรรณะเย็น คือให้ความรู้สึกเยือกเย็น

สงบ ชุ่มชื่น สบายตา

รูปภาพที่ (9)

ภาพการระบายสีเอกรงค์ ที่อยู่ในสีวรรณะเดียวกัน จัดอยู่ในสีวรรณะเย็น

รูปภาพที่ (10)

ภาพรวมของของการทำสีเอกรงค์ ที่อยู่ในสีวรรณะเดียวกัน จัดอยู่ในสีวรรณะเย็น

  1. สีพหุรงค์ คือ การใช้สีหลายๆ สีประกอบ เป็นโครงสี ได้แก่

สีที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน

  • ตระกูลสีเหลือง
  • ตระกูลสีแดง
  • ตระกูลสีน้ำเงิน

สีที่อยู่ในวรรณะเดียวกัน

  • สีวรรณะเย็น ได้แก่  สีเหลือง – เขียวเหลือง – เขียว – เขียวน้ำเงิน – น้ำเงิน – ม่วงน้ำเงิน – ม่วง
  • สีวรรณะร้อน ได้แก่  สีเหลือง – ส้มเหลือง – ส้ม – ส้มแดง – ม่วง – แดง – แดงม่วง

สีตรงข้าม หรือสีคู่ประกอบ

  • สีคู่ใกล้เคียง
  • สีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม 2 สี
  • สีที่อยู่เป็นระยะเท่าๆกัน 4 สี

ตัวอย่าง ของ สีตรงข้าม หรือสีคู่ประกอบ  สีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม 2 สี  เป็นการใช้สีที่ลดการตัดกันหรือลดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง โดยใช้สีดังนี้ สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีม่วง แต่ละคนจะใช้สีที่แตกต่างกัน และยังจัดอยู่ในสีวรรณะร้อน

รูปภาพที่ (11)

สีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม 2 สี โดยใช้สีดังนี้ สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีม่วง จัดอยู่ในสีวรรณะร้อน

รูปภาพที่ (12)

ภาพรวม สีหนึ่งกับสีที่อยู่ติดกับสีคู่ตรงข้าม 2 สี จัดอยู่ในสีวรรณะร้อน

รูปภาพที่ (13)

ทีมงานตำบลบ้านคูถ่ายภาพรวมร่วมกับอาจารย์และกลุ่มทอผ้าไหม

  •           วันที่ 7 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่ถ่ายภาพนิ่งและถ่ายวิดิโอ เรื่อง ขั้นตอนการทอผ้าไหม ในการเอาไปทำวิดิโอประจำเดือนสิงหาคม ของตำบลบ้านคู
  •           วันที่ 8 สิงหาคา 2564 ประชุมออนไลน์ ผ่าน Google meet ร่วมกับอาจารย์ กับ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เรื่อง มาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มปลอดโรค ชนิด ไก่พื้นเมือง
  •           วันที่ 14 สิงหาคม  2564 ประชุมออนไลน์ร่วมกับอาจารย์เพื่อวางแผนในการปฎิบัติงาน และชี้แจงงาน เพื่อการดำเนินงานอย่างเป็นนระบบ

         ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้ทำการฝึกทักษะสำเร็จ  ครบทุกด้านแล้ว ได้แก่

1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy

          สิ่งที่ได้เรียนรู้     

  1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงจรสี การจัดโครงสร้างสี การผสมสี ผสมยังไงถึงจะได้สีแบบตามที่เราต้องการ
  2. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกตน้ำหนักของสี และการเปลี่ยนค่าของสีด้วยเส้นยืนสีกลาง
  3. ได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของผ้ามัดหมี่ ผ้าไหม นอกจากจะใช้เป็นผ้าถุง ตัดชุดไหม แล้วยังสามารถที่จะทำเป็นกระเป๋า เครื่องประดับต่างๆ เช่น หมวก กำไล ต่างหู เป็นต้น

          แผนการในการดำเนินงานต่อไป

ทีมงาน AG01(2) แผนการดำเนินงานในเดือนกันยายน 64 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการดำเนินงานต่อไป

  1. วันที่ 17 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่ไปประสานงานกับ  นายนิติงพงษ์  มนต์ไธสง  เป็นผู้ใหญ่บ้านโนนสะอาด  เรื่อง  การทำปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยอินทรีย์
  2. วันที่ 17  สิงหาคม – 9 กันยายน 2564  ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของกลุ่มทอผ้าไหม  บ้านโนนตะคร้อ  และบ้านโคกเมฆ
  3. วันที่ 3 กันยายน 2564  การจัดอบรมเชิงปฎิบัติการ การให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง  การทำน้ำหมัก  ปุ๋ยหมักชีวภาพ  และปุ๋ยอินทรีย์  ณ  ศาลาแปลงผักอินทรีย์  บ้านโนนะสะอาด  อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรีมย์
  4. วันที่ 10 กันยายน 2564  ลงพื้นที่รวบรวมผ้าไหม  กับกลุ่มทอผ้าไหม  ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโนนตะคร้อ  บ้านโคกเมฆ  และบ้านทุ่งบ่อ  เพื่อไปขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

 

อื่นๆ

เมนู