1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน สิงหาคม 2564 กลุ่ม AG01(2) เรื่อง มาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มปลอดโรคกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน สิงหาคม 2564 กลุ่ม AG01(2) เรื่อง มาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มปลอดโรคกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

   ดิฉันนางสาวศิราณี เหลาเลิศ ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

 กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)

วันที่ 25 ก.ค. 2564 ประชุมออนไลน์กับอาจารย์เพื่อชี้แจงและแก้ไขงานที่จะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการ
วันที่ 28 ก.ค. 2564 สรุปรายงานผลไตรมาสที่ 1-2 พร้อมกับนำเสนอต่อคณะกรรมการ โดยนำเสนอผ่านทางระบบ online
วันที่ 2 ส.ค. 2564 ประชุมออนไลน์กับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลเรื่องสถานที่ที่จะจัดกิจกรรมในวันที่ 6 ส.ค. 2564

วันที่ 8 ส.ค. 2564 อบรมออนไลน์ เรื่อง มาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มปลอดโรคกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ โดย สพ. ญ. เบญญา เบญจศรีรักษ์

มาตรฐานฟาร์มไก่พื้นเมือง
– เพื่อป้องกันโรคระบาดและโรคสัตว์สู่คน
– เพื่อลดหรือป้องกันการสูญเสียทางธุระกิจ
– เพื่อผลผลิตปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างยาสัตว์ ยาฆ่าแมลง และสารเคมีตกค้างต่าง ๆ
– เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยของผู้บริโภค

    ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ปัญหาโรคเป็นปัญหาสำคัญที่จะทำให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่ประสบผลสำเร็จ  และจะเกิดการสูญเสียไก่พื้นเมืองจึงต้องมีการสุขาภิบาลที่ดี และการให้วัคซีนป้องกันโรค ดังนี้

การสุขาภิบาลการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
1. ต้องดูแลทำความสะอาดโรงเรือนและภาชนะต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค พยายามอย่าปล่อยให้โรงเรือนชื้นแฉะ
2. สร้างโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
3. กำจัดแหล่งน้ำสกปรก รอบ ๆ บริเวณโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียง
4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพ อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าบูดเสีย
5. มีน้ำสะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
6. ถ้ามีไก่พื้นเมืองป่วยไม่มากนักให้กำจัดเสีย และจัดการเผาหรือฝังให้เรียบร้อย จะช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี
7. อย่าทิ้งซากไก่พื้นเมืองที่เป็นโรคลงแหล่งน้ำเป็นอันขาดเพราะเชื้อโรคจะแพร่ระบาดได้
8. ไก่พื้นเมืองที่ซื้อมาใหม่ ควรแยกเลี้ยงไว้ต่างหาก โดยกักขังไว้ประมาณ 15 วัน หากไม่เป็นโรคจึงนำมาเลี้ยงในบริเวณเดียวกันได้
9. เมื่อมีโรคระบาดไก่พื้นเมืองเกิดขึ้น ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่สามารถจะดูแลหรือป้องกันรักษาเองได้ ควรปรึกษาผู้รู้
การให้วัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่พื้นเมือง ควรปฏิบัติดังนี้
การเลี้ยงไก่พื้นเมือง แม้ว่าจะมีการสุขาภิบาลที่ดี แต่โดยปกติสิ่งแวดล้อมจะมีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ไก่พื้นเมืองเป็นโรคได้ทุกเวลา ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจึงต้องสร้างความต้านทานโรคโดยการให้วัคซีนป้องกันโรค ซึ่งควรให้ตั้งแต่ไก่พื้นเมืองอายุยังน้อยและสม่ำเสมอตามตารางที่กำหนด การให้วัคซีนจะให้ผลดีที่สุดต่อเมื่อ
– สุขภาพของไก่พื้นเมืองแข็งแรง ไม่เป็นโรค
– วัคซีนที่ใช้มีคุณภาพดี
– เครื่องมือที่ใช้กับวัคซีนสะอาด และผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคแล้ว
– ให้วัคซีนไก่พื้นเมืองครบตามขนาดที่กำหนด
– ให้วัคซีนอย่างสม่ำเสมอและพยายามให้วัคซีนไก่พื้นเมืองที่มีสุขภาพดีทุกตัวในฝูงเดียวกัน
– การให้วัคซีนแต่ละชนิดควรเว้นระยะห่างกันประมาณ 5-7 วัน

โรคระบาดไก่พื้นเมืองที่สำคัญและวิธีป้องกัน
โรคนิวคาสเซิล (โรคห่า)
โรคนิวคาสเซิล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “โรคห่า” ถ้าไก่พื้นเมืองเป็นโรคนี้แล้ว ไก่พื้นเมืองจะมีอาการทางระบบหายใจและระบบประสาท คือ ไก่จะหายใจลำบาก น้ำมูกไหล หายใจดัง ชักกระตุก คอบิดเบี้ยว ขาปีกเป็นอันพาต เดินเป็นวงกลม เบื่ออาหาร และภายใน 2-4 วัน ไก่พื้นเมืองอาจจะตายหมด เป็นได้ทั้งไก่พื้นเมืองตัวเล็กและตัวใหญ่
 การป้องกัน ใช้วัคซีน สเตรนเอฟ. หยอดจมูกหรือตาลูกไก่พื้นเมืองที่มีอยู่ 1-3 วัน ทำวัคซีน เสตรนเอฟ. ซ้ำอีกเมือไก่พื้นเมืองมีอายุ 21 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 3 เดือน เมื่อไก่พื้นเมืองมีอายุ 2 – 3 เดือน ใช้วัคซีนสเตรนเอ็ม.พี. แทงผนังปีก 1-2 ครั้ง สามารถป้องกันโรคได้ 6 เดือน
โรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบ ถ้าไก่พื้นเมืองเป็นโรคนี้แล้ว ไก่พื้นเมืองจะมีอาการทางระบบหายใจ หายใจไม่สะดวก อ้าปากหายใจ หายใจเสียงดังน้ำมูกไหล ตาแฉะ
           การป้องกัน ทำวัคซีนหลอดลมอักเสบโดยหยอดจมูกหรือตา 1-2 หยดในลูกไก่พื้นเมืองเมื่อมีอายุ 14 วัน และทำวัคซีนหลอดลมอักเสบซ้ำอีกเมื่อลูกไก่พื้นเมืองมีอายุ 28 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 3 เดือน
ข้อควรระวัง ห้ามใช้วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ควรใช้
วัคซีนชนิดนี้ห่างกันไม่น้อยกว่า 1 อาทิตย์
โรคฝีดาษ
โรคฝีดาษ ถ้าไก่พื้นเมืองเป็นโรคนี้แล้ว ไก่พื้นเมืองจะมีเม็ดขึ้นตามใบหน้าหรือหงอน บางครั้งพบเม็ดสีเหลืองในบริเวณปากและลิ้น ไก่พื้นเมืองจะเจ็บปากและลิ้น กินอาหารไม่ได้ ถ้าเกิดมีโรคแทรกก็จะตายไปในที่สุด
           วิธีป้องกัน ทำวัคซีนฝีดาษไก่โดยการแทงผนังปีก 1-2 ครั้ง กับลูกไก่พื้นเมืองที่มีอายุ 7 วัน สามารถป้องกันโรคได้ 1 ปี
โรคอหิวาต์
โรคอหิวาต์ จะพบมากในไก่พื้นเมืองที่มีอายุเกิน 2 เดือนขึ้นไปถ้าเป็นขั้นรุนแรง ไก่พื้นเมืองจะตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้าเป็นชนิดธรรมดา ไก่พื้นเมืองจะแสดงอาการตัวร้อนจัด หายใจไม่สะดวก หงอนเหนียงเปลี่ยนเป็น สีดำคล้ำ
           การป้องกัน ทำวัคซีนอหิวาต์ไก่พื้นเมืองโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ซี.ซี. กับไก่พื้นเมืองที่มีอายุ 2 เดือน
การรักษา ช่วยได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะหรือซัลฟาคิวน็อกซาลีนละลายน้ำให้กิน

         การแยกไก่ที่ป่วยออกจากฝูง                               การเลี้ยงไก้พื้นเมืองผสมกับไก่บ้าน

              การเลี้ยงไก่แบบปล่อย

แผนปฏิบัติงานต่อไป
ทีมงาน AG01(2) มีแผนการดำเนินงาน จัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 และยกระดับสินค้า OTOP ใน​วันที่ 3 กันยายน 2564 จะมีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงวิชาการ การออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผ้าไหมทอมือ และวันที่ 10 กันยายน 2564 จะมีการลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อให้ความรู้แก่ชาวบ้านควบคู่ไป​กับ​การ​วิเคราะห์​ข้อ​มูล​และ​สรุป​ผล​ของ​ข้อมูล​เพื่อ​ใช้เป็น​ข้อมูล​พื้น​ฐาน​ใน​การ​วางแผน​ดําเนิน​งาน​ต่อ​ไป

อื่นๆ

เมนู