ดิฉัน นางสาวชฎาพร  ชูชีพ  ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

กิจกรรมและผลการดำเนินงานในเดือนกันยายน มีดังนี้

-วันที่ 3 กันยายน 2564 ทีมงานตำบลบ้านคูลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพให้กับทางสมาชิกกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด ณ บ้านโนนสะอาด โดยได้เชิญวิทยากร อาจารย์เลิศภูมิ จันทร์เพ็ญกุล มาให้ความรู้ในการจัดอบรม ให้ความรู้เรื่องการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย การทำปุ๋ยหมัก การทำระบบน้ำหยด ก่อนการอบรมทางทีมงานได้จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการอบรมไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว เช่น หน่อกล้ววย ขวดน้ำ แกลบ ปุ๋ยคอก

  • สูตรการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

วัสดุ

  1. น้ำจากแหล่งธรรมชาติ
  2. ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตรหรือมากกว่า
  3. ไข่ไก่ 1 ฟอง
  4. น้ำปลา
  5. ถ้วย,ช้อนโต๊

วิธิการทำ

  1. เตรียมน้ำ 1.5 ลิตร
  2. ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาลง 1 ช้อนโต๊ะ (ใส่เปลือกไข่บดลงไปด้วยได้เพื่อเพิ่มแคลเซียม)
  3. นำไข่ที่ผสมไว้มาใส่ในน้ำที่เตรียมไว้ 1 ช้อน ไม่ควรเกินนั้น และเขย่าขวดเล็กน้อย
  4. นำขวดไปตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่แดดส่องถึงทุกวัน ใช้ระยะเวลา 7 วัน น้ำจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

ในการทำได้ให้สมาชิกกลุ่มปลูกผักได้ลองทำเอง ในส่วนของการดูแลระหว่างการนำไปตากแดด ถ้ามีฟองเกิดขึ้น ให้บีบปากขวดเพื่อเอาฟองออก

  • สูตรการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย

ส่วนผสม

  1. หน่อกล้วยสูงไม่เกิน 7 กิโลกรัม หั่นสับให้ละเอียด
  2. กากน้ำตาล 1 ถ้วยตวง
  3. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ผสมน้ำ 1 บัว

วิธีการทำ

  1. ผสมหน่อกล้วย ครั้งละ 7 กิโลกรัม กับกากน้ำตาล 1 ถ้วยตวง
  2. ใช้เวลาในการหมัก 30-45 วัน ขึ้นอยู่กับการสับละเอียดของหน่อกล้วย
  3. สามารถเพิ่มอย่างอื่นเข้าไปด้วยได้นอกจากหน่อกล่วย เช่น กล้วยสุก ออกจะเน่า ๆ เพื่อช่วยให้พืชมีรสชาติที่ดีขึ้น

ในส่วนของการดูแล ช่วง 7 วันแรก พยายามเปิดดูตลอดและคน เพื่อเป็นการระบายแก็ส

  • สูตรการทำปุ๋ยหมัก

ส่วนผสม

  1. แกลบ 4 กระสอบ
  2. ปุ๋ยคอก 2 กระสอบ
  3. สารเร่งซุปเปอร์ พด.1

วิธีการทำ

  1. ผสมสารเร่ง พด.1 กับน้ำและกากน้ำตาล แล้วเอาไปเทลงแกลบเพื่อให้ความชุ่มและผสมกับปุ๋ยคอก
  2. นำน้ำที่ผสมกับสารเร่งและกากน้ำตาลมารดให้ชุ่มผสมให้เข้ากัน
  3. หาผ้ามาคลุมไว้ให้มิดชิด ใช้เวลาในการย่อย 30-45 วัน

ในส่วนของการดูแล 3 วันแรก ควรเปิดและคน ๆ เพื่อเป็นการระบายความร้อน และสำรวจความชื้น ถ้าแห้งเกินไป ควรรดน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้น

  • การทำระบบน้ำหยด

อุปกรณ์

  1. หัวน้ำหยด
  2. ท่อพีอีขนาด 20 มิลลิเมตร ยาว 200 เมตร
  3. ปากกาเจาะท่อพีอี
  4. ข้อต่อ 3 ทาง ข้อต่องอ 90องศา

อุปกรณ์ในการทำระบบน้ำหยด ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เตรียมไปให้ทั้งหมด

วิธีการทำ

วิทยากรได้สอนวิธีการทำคือ การนำปากกาเจาะท่อและนำหัวน้ำหยดมาใส่ และแนะนำวิธีการวางท่อ และได้ให้สมาชิกกลุ่มปลูกผักได้ลองทำเอง

หลักจากจัดกิจกรรมอบรมเสร็จ ทางทีมงานตำบลบ้านคูและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่ไปติดตามลายผ้าไหมที่บ้านโนนสะอาดและบ้านโนนตะคร้อต่อ

-วันที่ 10 กันยายน 2564 จัดกิจกรรมอบรมเรื่องโลโก้ผลิตภัณฑ์และการทำผ้าลื่น ผ้าหอม ณ โรงเรียนวัดสระทอง ในการอบรมทางทีมงานได้ให้สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมเลือกลายโลโก้ที่ทีมงานออกแบบมาให้เลือก และออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าไหม

และตรวจเช็คผ้าไหมที่จะนำไปยื่นขอผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. โดยการทดสอบการตกสีโดยการแช่น้ำกลั่น และน้ำเปล่า และตรวจสอบขนาดของผ้า

ก่อนเริ่มการอบรมวิธีการทำผ้านุ่ม ผ้าหอม วิทยากรได้ให้แม่ ๆสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

วิธีการตกแต่งสำเร็จให้นุ่มลื่นด้วยสารตกแต่งทำให้ผ้านุ่ม + ลื่น

สารเคมี

สารทำนุ่ม (Softener) + สารทำลื่น (Silicone)

อัตราส่วนผสม

อัตราส่วนผสม สารละลายตดแต่งสำเร็จผ้านุ่มลื่น

น้ำหนักผ้า (ขีด) ปริมาณน้ำ (ลิตร) สารทำนุ่ม (กรัม) สารทำลื่น (กรัม) สารตกแต่ง (กรัม)
ไม่เกิน 1 0.5 2.5 2.5
1-2 1 5 5
2-3 1.5 7.5 7.5 ผสมรวมกัน 1 ช้อนแกง เท่ากับ 15 กรัม
3-4 2 10 10

ขั้นตอนการตกแต่งสำเร็จให้ผ้านุ่มลื่น
1)  แยกผ้าสีเดียวกัน หาน้ าหนักของผ้าโดยใช้ตาชั่ง
2)  หาปริมาณน้ำ (อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส) ตวงน้ำใส่กะละมังที่ล้างสะอาดแล้ว
3)  ตวงสารทำนุ่ม และสารทำลื่น ตามอัตราส่วนในตารางที่ 1
4)  นำสารทำนุ่ม และสารทำลื่นไปให้ความร้อน โดยละลายผสมสารในน้ำอุ่น (อุณหภูมิ 50 องศา
เซลเซียส) คนให้เข้ากัน
5) นำผ้าไหม หรือผ้าฝ้ายลงแช่ให้ทั่ว บีบด้วยมือเบา ๆ แช่ไว้นาน 20-30 นาที
6)  ยกผ้าขึ้นกางออกวางบนโต๊ะ นวดผ้าด้วยไม้นวดแป้ง เพื่ออัดน้ำยาเข้าเส้นใยทั้งสองด้านของผืน
ผ้า
7)  นำผ้าผึ่งไว้ในที่ร่ม ให้หมาด ๆ
8)  นำผ้ามารีดด้วยเตารีด จนผ้าเรียบทั้งสองด้าน

การตกแต่งสำเร็จให้ผ้ามีกลิ่นหอมด้วยไมโครแคปซูล

ส่วนผสม

สารเคมี ปริมาณ เตรียม 1 ลิตร เตรียม 2 ลิตร เตรียม 3 ลิตร เตรียม 4 ลิตร
ไมโครแคปซูล กลิ่นต่าง ๆ 10 กรัม 20 กรัม 30 กรัม 40 กรัม 50 กรัม
สารช่วยยึดติด (ไบเดอร์) 5 กรัม  10 กรัม 15 กรัม 20 กรัม 25 กรัม

ขั้นตอนการทำ

  1. เตรียมส่วนผสม
  2. นำผ้าที่ต้องการตกแต่งให้หอมแช่ลงในสารละลายที่เตรียมไว้ในข้อ 1 เป็นเวลา 10-15 นาที โดยในระหว่างการแช่ให้ทำการบีบผ้าเบาประมาณ 1 นาที เพื่อให้สารละลายซึมลงไปในผ้า
  3. นำผ้าขึ้นมาตากแห้ง

หลังจบการอบรม ทางอาจารย์ประจำตำบลและทีมงานบ้านคูได้มอบสารทำผ้านุ่ม ผ้าหอมให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าไว้ เพื่อไว้นำไปใช้

แผนการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม 2564 คือ ยื่นเรื่องขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.ของผ้ามัดหมี่และผ้าคลุมไหล่และติดตามกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด เรื่องน้ำหมักชีวภาพและเรื่องการดำเนินการทำระบบน้ำหยด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู