1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน กันยายน พ.ศ 2564 กลุ่มAG01(2)การทำปุ๋ยหมักชีวภาพและการทำผ้านุ่มผ้าหอม ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน กันยายน พ.ศ 2564 กลุ่มAG01(2)การทำปุ๋ยหมักชีวภาพและการทำผ้านุ่มผ้าหอม ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายเกรียงไกร กระฉอดนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG01(2) บ้านหนองลุมพุค หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ที่ 2 บ้านโคกเมฆ หมู่ 11 บ้านโนนตะคล้อ หมู่ที่ 12 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร : AG01(2) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเวลา 08:45 นาที ร่วมกับทีมงานประจำหลักสูตร AG01(2) เมื่อวันที่ 20-31สิงหาคมและวันที่ 3-17 กันยายน 2564 ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจผ้าไหมที่ชาวบ้านที่จะส่งเข้าตรวจมาตรฐานมีทั้งหมด 4 กลุ่มชาวบ้านทุ่งบ่อ บ้านโคกเมฆ บ้านโนนตะคล้อ บ้านโนนสะอาดและยังได้นัดอบรมชาวชุมชนในวันที่ 3 กันยายนอบรมเรื่องการทำผ้าไหมมัดหมี่ให้เป็นผ้านุ่มผ้าหอมและวันที่ 10 กันยายนนัดอบรมเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพทีมงาน AG01(2) ยังได้สอบถามกลุ่มชุมชนเรื่องการเตรียมเอกสารว่ามีครบหรือไม่ เช่น ใบรับรองกลุ่มวิสาหกิจขาดการต่อการรับรองหรือไม่กลุ่มที่ยื่นขอใบรับรองมาตรฐาน มีบ้านทุ่งบ่อ บ้านโนนตะคล้อ บ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมที่ได้ทำ

ลงพื้นที่ในเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน 2564 ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบรายผ้าไหมมัดหมี่โดยได้นำผ้าไปแช่ในน้ำกลั่นบริสุทธื์ประมาณ 15 นาทีและรอดูว่าสีจะออกไม่แต่เท่าที่ได้ทดสอบผ้าไหมมัดหมี่ที่ย้อมด้วยสีเคมีสีจะออกให้เห็นชัดมากส่วนผ้าไหมมัดหมี่ที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติที่แช่ด้วยน้ำกลั่นบริสุทธิ์สีจะไม่ค่อยสักเท่าไรหลังจากการทดสอบผ้าไหมแล้วได้นัดวันอบรมกับชาวบ้านโดยมีอาจารย์จากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏและทีมงาน AG01(2)มาอบรมในวันที่ 10 กันยายน 2564 ที่จะได้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผ้านุ่มผ้าหอมให้กับชาวชมชุนบ้านทุ่งบ่อบ้านโคกเมฆ บ้านโนนตะคล้อและยังได้นัดอบรมบ้านโนนสะอาดที่ให้ความสนใจในด้าการทำปุ๋ยหมักชีวภาพในวันที่ 3 กันยายน 2564

ส่วนการทำปุ๋ยหมักด้วยน้ำหมักชีวภาพที่มีขั้นตอนการทำจากหน่อกล้วยหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุลินทรีย์  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.หน่อกล้วยเล็กๆสูงประมาณ 1 เมตร 3 กิโลกรัม 2. กากน้ำตาล 1 ลิตร 3. น้ำฝนหรือน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน 3 ลิตร 4. EM จำนวน 3 ฝา 5. ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด 1 ใบ

วิธีการหมักชีวภาพ

1.สับหน่อกล้วยให้ละเอียด

2.เติมน้ำเปล่าลงถัง เติมกากน้ำตาลและ EM จำนวน 3 ฝาลงไป คนให้ละลายเข้ากันประมาณ 15 นาที่

3.เติมหน่อกล้วยที่สับละเอียดลงไป คนให้เข้ากันอีกกดวัสดุให้จมลงและปิดฝานำไปวางไว้ในร่ม 10 วัน หลังจากครบ 10 วันกรองเอาเฉพาะน้ำใช้ได้เลยส่วนกากที่เหลือให้นำไปทำปุ๋ยหมักหรือนำไปกระจายโคนต้นไม้ได้เลย

ในส่วนของการทำ จุลินทรีสังเคราะห์ เตรียม

1.น้ำจากแหล่งธรรมชาติ

2.ขวดขนาด 1.5 ลิตรหรือมากกว่า

3.ไข่ไก่ 1 ฟอง

4.น้ำปลา

5.ถ้วย,ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ

1.ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาลง 1 ช้อนโต๊ะคนให้เข้ากัน

2.นำน้ำใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตรไปตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก่อนเติมไข่ไก่ที่เตรี่ยมไว้ลงไป 1 ช้อนโต๊

3. นำไปตั้งกลางแดดส่องทุกวันจนกว่าน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีแดงน้ำตาลแล้วนำมาใช้ได้

ในส่วนการตกแต่งผ้านุ่มลื่นด้วยสารตกแต่งทำให้ผ้านุ่มลื่น

ขั้นตอน:เตรียมสาร-แช่น้ำอุณภูมิ 50 องศาน้ำอุ่น เวลา 20-30 นาที-ผึ่งลมให้แห้งแล้วนำมารีด ส่วนสารทำนุ่ม/สารลื่นในส่วนอัตราส่วนผสมน้ำหนักผ้าไม่เกิน 1-2 ขีดใชัปริมาณน้ำ1ลิตรสารทำนุ่ม 7.5 กรัม สารทำลื่น 5 กรัม  ขั้นตอนการตกแต่งในผ้านุ่มลื่น

1.แยกผ้าสีเดียวกัน หาน้ำหนักของผ้าโดยใช้ตราชั่งหาปริมาณน้ำอุณภูมิ 50 องศาเซลเซียสตวงน้ำที่ใส่กะละมังที่สะอาดแล้ว

2.ตวงสารทำนุ่มและสารทำลื่นตามอัตราส่วนที่กำหนดใว้แล้ว

3.นำสารทำนุ่มและสารทำลื่นละลายผสมในน้ำอุ่นที่เตรี่ย

4.นำผ้าลงไปแช่ไว้นาน20นาทียกผ้าขึ้นกางบนโต๊ะแล้วนวดผ้าด้วยไม้นวดแป้งนวดท้งสองด้าน 5.นำผ้าผึ่งในที่ร่มให้หมาดๆ

5.แล้วนำผ้ามารีดให้เรียบทั้งสองด้าน  

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่เกี่ยวกับผ้าไหมมัดหมี่ทั้งหมด 15 หมู่บ้าน

 ตำบลบ้านคูมีเพียง 4 หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่ที่มีด้วยกันคือ บ้านทุ่งบ่อ บ้านโนนตะคล้อ บ้านโนนสะอาด บ้านโคกเมฆ แต่ชาวชุมชนยังไม่มีกลุ่มไหนที่ได้ส่งผ้าเข้าตรวจสอบมาตรฐาน (มผช) ส่วนอีก 11 หมู่บ้านไม่ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผ้าไหมนอกจากนี้ยังได้ข้อมูลจากแปลงเกษตรอินทรีย์ของบ้านโนนสะอาดที่จะเริ่มทำแปลงผักในเดือนปลายเดือนตุลาคม 2564 จึงได้ติดต่อกับทางชุมชนเพื่อทางทีม AG01(2) จะได้เข้ามาพัฒนาส่วนที่ชาวบ้านต้องการต่อไป

แนวทางแก้ไขปัญหาในเดือนต่อไป

การแก้ไขของเดือน ตุลาคม 2564 ทางทีมงาน AG01(2) ได้นำเสนอทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์แก้ไขปัญหาของชาวชุมชนเรื่องกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าไหมที่ไม่ได้ก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาแต่ยังไม่มีกลุ่มไหนที่ใส่ใจในเรื่องมาตรฐาน(มผช)ทางทีมงาน AG01(2) จึงได้ประสานงานกับหน่วยงานอุตสหกรรมมาตรฐานเพื่อจะได้ช่วยให้ชาวชุมชนได้ทำผ้าไหมที่ได้มาตรฐานตามสากลของชุมชนตำบลบ้านคูและจะเสนอกับทางวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เกี่ยวกับการพัฒนาแปลงเกษตรอินทรีย์ให้เป็นอาชีพหลักเพราะตอนนี้ยังทำกันไม่ต่อเนื้องของบ้านโนนสะอาด ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์

แผนการในเดือนตุลาคม 2564 ที่จะทำต่อไป

1.ทางทีมงานได้จัดทำสื่อออนไลน์เพื่อใว้โปรโมทสินค้าขายสินค้าประจำถิ่นให้กับทางชุมชนบ้านคูและยังได้ติดตามเพจออนไลน์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ชาวชุมชนใกล้เคียงได้เป็นที่รู้จักสินค้าประจำท้องถิ่นตำบลบ้านคูเพื่อช่วยชาวชุมชนมีรายได้หลายๆช่องทาง

2.ได้มีการวางแผนในเรื่องอาชีพใหม่โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้ให้อาจารย์ประจำหลักสูตร U2T ของตำบลบ้านคูและทีมงาน AG01(2) ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้อาชีพใหม่ให้กับทางชุมชนให้มีความรู้แล้วนำไปสร้างอาชีพให้กับครัวเรือนนั้นๆ

3ได้วางแผนติดตามชาวบ้านโนนสะอาดที่จะถึงฤดูการจะปลูกผักอินทรีย์ในเดือนตุลาคม 2564 และติดตามกลุ่มชาวบ้านที่ได้มาอบรมเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพและน้ำจุรินทรีย์ว่าได้นำกลับไปทดลองทำหรือไม่โดยเฉพาะในเขตบ้านโนนสะอาด ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

รูปภาพประกอบเนื้อเรื่องและคำบรรยายใต้ภาพ

ตัดหญ้าบริเวณศาลาเพื่ออบรมกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ศาลาบ้านโนนสะอาด

ก่อนลงพื้นที่จัดอบรมทางทีมงานAG01(2)ได้ลงพื้นที่ไปเตรียมความพร้อมเรื่องสถานที่จัดอบรมที่แปลงผักอินทรีย์ของบ้านโนนสะอาด ตำบลบ้านคู

หลังจากนวดผ้าทั้งสองด้านเสร็จให้นำมาตากในที่ร่ม ให้หมาดๆแล้วนำไปรีดให้เรียบ

รองศาสตราจารย์สมบัติ ประจญศานต์และอาจารย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์สอนการนวดผ้านุ่มผ้าหอม

อาจารย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์ สอนวิธีการตวงน้ำยาผสมผ้านุ่มตามอัตราส่วนที่เหมาะสม

น้ำหมักชีวภาพที่ผสมเสร็จเรีบยแล้วจำนวน 1 ถังมีส่วนผสมหน่อกล้วย กากน้ำตาล น้ำฝน น้ำยา EM

 

หน่อกล้วยสับเป็นชิ้นๆจำนวน 7 กิโลกรัมต่อ 1 ถัง 50 ลิตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู