ดิฉัน นางพนารัตน์ ชำนิกล้า ประเภท ประชาชนทั่วไป ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 2, บ้านโคกเมฆ หมู่ 11, บ้านโนนตะคร้อ หมู่ที่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
(1) การทำน้ำหมักชีวภาพ
ภาพการสับหน่อกล้วยให้เป็นชิ้นเล็กๆ
ภาพน้ำหมักชีวภาพที่ทำมาจากหน่อกล้วย
ดิฉันได้ลงพื้นที่จัดเตรียมสถานที่จัดอบรมที่แปลงผักอินทรีย์บ้านโนนสะอาด โดยมีสมาชิกกลุ่มเข้าอบรมในทางนี้มีสมาชิกในกลุ่มให้ความสนใจในการทำน้ำหมักชีวภาพพอสมควร
การทำน้ำหมักชีวภาพเป็นสูตรทำน้ำหมักชีวภาพที่ทำมาจากหน่อกล้วย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจุลินทรีย์หน่อกล้วยมีวัสดุที่ต้องเตรียม
1. หน่อกล้วยเล็กๆสูงประมาณ 1 เมตร 3 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3 น้ำฝนหรือน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน 3 ลิตร
4. cm จำนวน 3 ฝา
5. ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด 1 ใบ
ภาพ วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ
วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ
1. สับหน่อกล้วยให้ละเอียด
2. เติมน้ำเปล่าลงถังเติมกากน้ำตาลและ e m จำนวน 3 ฝาลงไปคนให้ละลายเข้ากันประมาณ 15 นาที
3 เติมหน่อกล้วยที่สับละเอียดลงไปคนให้เข้ากันอีกครั้งกดวัสดุหมักให้จมลงปิดฝาถังนำไปวางไว้ที่ร่ม 10 วันและนำไปกรองเอาเฉพาะน้ำใช้ได้เลยส่วนกาดที่เหลือให้นำไปทำปุ๋ยหมักหรือนำไปใส่กระจายลอบโคนต้นไม้ได้เลย
การสังเกตน้ำหมักชีวภาพ
ในการสังเกตน้ำหมักชีวภาพที่พร้อมใช้นั้นหลังจากที่เราหมักครบ 10 วันแล้วน้ำหมักจะมีสีน้ำตาลเข้มมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวนิด ๆ และจะมีราขาวเกิดขึ้นบริเวณผิวของน้ำหมักให้เรานำมากรองเอาเฉพาะน้ำเก็บใส่ขวดหรือถังพลาสติกปิดฝาแบบหลวม ๆ ก่อน เพราะในช่วงแรก ๆ จะมีก๊าซเกิดขึ้นและต้องเก็บไว้ในร่มไม่ให้โดนแสงแดดด้วย
ภาพกระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพ
การใช้น้ำหมักชีวภาพ
ให้เราผสมน้ำหมัก 10 ซีซีหรือประมาณ 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นหรือรถพืชผักพืชไร่ไม้ผลไม้ยืนต้นต่างๆในตอนเช้าที่แสงแดดอ่อนทุกๆ 2 สัปดาห์จะทำให้พืชผักพืชไร่หรือไม้ผลที่เราปลูกโตไวมีใบเขียวทนโรคไม่มีแมลงมารบกวนได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดีและที่สำคัญเป็นน้ำหมักชีวภาพปลอดสารพิษ 100% ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
(2) การทําจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
วัสดุ มีดังนี้
1. น้ำจากแหล่งธรรมชาติ
2. ขวดขนาด 1.5 ลิตรหรือมากกว่า
3. ไข่ไก่ 1 ฟอง
4. น้ำปลายี่ห้อใดก็ได้
5. ถ้วยและช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาลง 1 ช้อนโต๊ะคนให้เข้ากัน
2. นำน้ำใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตรไปตากแดดประมาณ 4-5 วันก่อนเติมไข่ไก่ที่เตรียมไว้ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ
3. นำไปตั้งไว้บริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่งถึงทุกวัน
การใช้น้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง น้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1 . 5 ลิตรผสมน้ำสามารถใช้กับพืชไร่ได้ 1 ไร่เช่นไร่ข้าวจะช่วยให้ข้าวแตกกอดีน้ำหนักเมล็ดข้าวหนักเต็มเม็ดสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้และช่วยปรับสภาพหน้าดินได้ดี
ภาพกระบวนการทำน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.ได้เรียนรู้การตกแต่งสำเร็จผ้าด้วยนาโนเทคโนโลยี
2. ได้เรียนรู้การผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักกลับกอง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และการบริหารจัดการน้ำทางการเกษตรโดยใช้ระบบน้ำหยด
แนวทางการดำเนินงานต่อไป
การดำเนินงานต่อไปในเดือน ตุลาคม ยื่นเรื่องขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าคลุมไหล่ และติดตามกลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด เรื่อง น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักกลับกอง
ภาพถ่ายร่วมกัน