ดิฉัน นางสาวพัชราภรณ์ มั่งไธสง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 2, บ้านโคกเมฆ หมู่ 11, บ้านโนนตะคร้อ หมู่ที่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายลงพื้นที่จัดกิจกรรมการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าทอมือ การพัฒนานวัตกรรมผ้าทอมือ และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
- วันที่ 31 สิงหาคม 2564 รายงานประจำเดือนต่อคณะกรรมการผ่านทาง ระบบ Google Meet เพื่อสรุปผลการทำงานในแต่ละเดือนและความคืบหน้าตลอดการทำงาน
- วันที่ 3 กันยายน 2564 ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักกลับกอง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และการบริหารจัดการน้ำทางการเกษตรโดยใช้ระบบน้ำหยด โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล ณ โรงเรือนปุ๋ยหมักชีวภาพ แปลงผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด
- วันที่่ 6 กันยายน 2564 ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนสะอาด เพื่อดูการตกสีของผ้า โดยการนำผ้าไหมไปแช่น้ำเปล่า และแช่น้ำกลั่น
- วันที่ 9 กันยายน 2564 ประชุมร่วมกับทีมงานตำบลบ้านคู เพื่อแบ่งหน้าที่การจัดเตรียมสถานที่อบรม ณ โรงเรียนวัดสระทอง
- วันที่ 10 กันยายน 2564 ลงพื้นที่อบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์สินค้าทอมือ การพัฒนานวัตกรรมผ้าทอมือ (นาโนเทคโนโลยี) และ การออกแบบโลโก้ – บรรจุภัณฑ์ โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ ณ โรงเรียนวัดสระทอง ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
ก่อนที่จะเข้าไปทำการรู้จักวิธีการทำน้ำหมัก และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เรามารู้จัก 5 ผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาดินกันค่ะ
กลุ่มที่ 1 จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช ได้แก่
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุ เหลือใช้จากการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อ ผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อราและแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสาร
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสด
ุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูง
เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ ไม่มีอากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชเพื่อเพิ่ม
ความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมนส่งเสริม การเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 4 สายพันธุ์
กลุ่มที่ 2 จุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช ได้แก่
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
กลุ่มที่ 3 จุลินทรีย์รักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารสำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ
น้ำหมักชีวภาพ : น้ำหมักที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพด้านการเกษตร : ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน
น้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วย
1. สับหน่อกล้วยให้ละเอียด
2.เติมน้ำเปล่าลงบัวรดน้้ำ และเติมกากน้ำตาล EM จำนวน 3 ฝาคนให้ละลายเข้ากันประมาณ 15 นาที
3. เติมหน่อกล้วยสับละเอียดลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้ง กดวัสดุหมักให้จม ปิดฝาถัง นำไปวางไว้ในที่ร่ม 10 วัน แล้วสามารถนำไปกรองเอาแค่เฉพาะน้ำนำไปใช้ได้เลย ส่วนกากก็สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักใส่กระจายรอบโคนต้นได้
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จุลินทรีย์มีบทบาทที่สำคัญต่อดินและพืชหลายประการ ไม่ได้เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชโดยตรง แต่ทำหน้าที่ “เป็นผู้ย่อยสลาย” ย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนให้มีขนาดเล็กและกลายเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งปรับสมดุลและสภาพแวดล้อมต่างๆ ในดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
1.ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาลงไป 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
2. กรอกใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตร ที่น้ำข้างในมีน้ำธรรมชาติจากลำห้วย พร้อมกับเขย่าเอาฟองออกให้หมด
3. นำไปตั้งทิ้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่องถึงทุกวัน
4. คณะทีมงานและคณะอาจารย์ถ่ายภาพร่วมกับกลุ่มผักปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด
การฝึกอบรมทักษะ
ได้ทำการฝึกทักษะสำเร็จครบทุกด้านแล้ว ได้แก่
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ได้เรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักจากวัสดุธรรมชาติ และ จากสิ่งที่หาได้จากในครัว
- ได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของปุ๋ยที่ใช้ในการพัฒนาดิน และยังมีอีกอย่างที่ทำได้คือ การป้องกันยุงลายมาวางไข่ได้
- ได้ความรู้เกี่ยวกับการผสมน้ำยาในการทำผ้านุ่มลื่น ผ้าหอม และผ้าสะท้อนน้ำ
แผนปฏิบัติงานต่อไป
ทีม AG01(2) มีแผนการดําเนินงานในเดือน ตุลาคม 2564 มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ลงพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ 2. ประชุมวางแผนในการดำเนินการ และมอบหมายหน้าที่ในการปฎิบัติงาน 3. ติดตามยื่นเรื่องขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้กับหลุ่มทอผ้าไหม 4. พัฒนาตลาดออนไลน์ของตำบลบ้านคูผ่านเพจ Facebook และควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลของข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป