กระผมนายอดิศักดิ์ โชตินอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ลงไปถ่ายทำภาพนิ่งการทำงานของทีมงาน พร้อมทั้งถ่ายวีดีโอการทำงาน ความคืบหน้าของการปฏิบัติงงานในแต่ละหมู่บ้าน โดยได้หัวของในเดือนนี้ คือ กิจกรรมเสริมสร้างความดีและจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน พร้อมทั้งได้เก็บข้อมูล จากกลุ่มเลี้ยงหม่อนไหมในหมู่บ้านโนนสะอาด หมู่ 10 ครับ
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
ในช่วงวันที่ 1-10 พฤษภาคม 2564 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลแบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน และแบบฟอร์ม 02 โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของหมู่บ้านบง และบ้านเก่าโก ครับ
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 กะผมและทีมงานตำบลบ้านคู ได้ลงพื้นที่หมู่บ้านโนนสะอาด พร้อมทั้งผู้นำชุมชน ทำกิจกรรมเสริมสร้างความดีและจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยมีพื้นที่เป้าหมายกวาดวัดทำความสะอาดบริเวณการจัดการแหล่งน้ำ แปลงผักอินทรีย์ ให้เกิดความเป็นระเบียบสวยงามเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
รูปที่ 1. ล้างบริเวณหน้าห้องน้ำวัดบ้านโนนสะอาด
รูปที่ 2. ขัดล้างห้องน้ำวัดบ้านโนนสะอาด
วันที่ 13 – 18 พฤษภาคม 2564 กะผมก็ได้จัดทำข้อมูลเทมเพลของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งตัดต่อคลิปวีดีโอกิจกรรมเสริมสร้างความดีและจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อนำไปอัพโหลดและเผยแพร่ ลงในยูทูปครับ
แหล่งท่องเที่ยวตำบลบ้านคู เรื่องการเลี้ยงไหม
เส้นใยที่นำออกมาทอเป็นผ้าไหมนั้นได้มาจากใยที่ห่อหุ้มดักแด้ที่เรียกว่า “รังไหม” ซึ่งรังไหมนี้ก็คือ ช่วงชีวิตหนึ่งของผีเสื้อกลุ่ม Lepidoptera ที่อยู่ในวงศ์ Bombycidae สำหรับไหมที่ใช้เลี้ยงเพื่อผลิตเส้นใยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx Mori
ตัวหนอนวัยที่ 1-2 ไข่ไหมจะฟักออกมาเป็นตัวหนอนเล็กๆกินใบหมอนหั่นฝอยละเอียดอยู่ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะลอกคราบเพื่อให้ลำตัวยาวโตขึ้น หลังจากการลอกคราบแล้วตัวหนอนไหมจะนอนเหยียดตรง นิ่ง ไม่กินอาหารเป็นเวลา1วัน1คืน เรียกว่า “ไหมนอน” เมื่อครบกำหนดจึงกินอาหารต่อเป็นหนอนระยะที่สอง ประมาณ2-3วัน แล้วลอกคราบอีกครั้ง จากนั้นจะนอนต่อ 1 วัน 1 คืน เมื่อตื่นมาก็จะเป็นหนอนระยะที่สาม
ตัวหนอนวัยที่ 3 หนอนวัยนี้จะสามารถกินใบหม่อนทั้งใบไม่ต้องหั่นฝอยระยะนี้ใช้เวลา 3-4 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบนอน 1 วัน 1 คืน แล้วจะเข้าสู่ระยะที่สี่
รูปที่ 3. สัมภาษณ์เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงตัวไหม
ตัวหนอนระยะที่ 4 นี่จะกินอาหารจำนวนมากโตเร็วใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้ายเพื่อเข้าสู่ระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายใช้เวลาประมาณ 7-8 วันเป็นระยะที่หนอนไหมกินใบหมอนมาก
รูปที่ 4. ให้อาหารตัวไหม
เมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีต่อมไหมเกิดขึ้นภายในตัวไหม ทำให้ตัวหนอนไหมมีสีเหลืองเรียกว่า “ไหมสุก” ตัวไหมสุกจะมีลำตัวสั้นและเล็กลงเล็กน้อย ตัวโตใสและหยุดกินใบหมอนเริ่มชูหัวส่ายหาที่ทำรังตัวหนอนไหมที่สุกเต็มที่จะถูกเก็บรักษาเข้า “จ่อ” เพื่อชักใยทำรังเป็น ”รังไหม” ที่เรานำมาสาวเส้นใย นำไปทอเป็นผ้าไหมนั่นเอง
รูปที่ 5. ตัวหม่อนไหม
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1. ได้รู้วิธีการเลี้ยงหม่อนไหม เช่ง การให้อาหาร การดูแล และการป้องกัน
2. ได้รู้ว่าในพื้นที่ ที่รับผิดชอบมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างให้เราได้ศึกษาและหาความรู้
3. ได้รู้ถึงการทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่
รูปที่ 6. ถ่ายวีดีโอกิจกรรมเสริมสร้ามความดีและจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้องชุมชน