บทความประจำเดือน มีนาคม 2564
กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์
และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
กระผมนายศุภจิต แก้วพวง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลา 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
ในช่วงวันที่ 1 – 9 กุมภาพันธ์ 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ มอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ
ในช่วงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ – 18 มีนาคม 2564 ทีมงาน เริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบเพิ่มเติม 5 หมู่บ้านคือ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผับุ้ง หมู่ที่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกระผมสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 480 ครัวเรือน ของครัวเรือนทั้งหมดและจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมกับทีมงานท่านอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน
กระผมได้ทำการลงอบรม รายวิชาดิจิทัลและภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษได้ผ่านการอบรมแล้ว
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน
ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ เกษตรกร อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ ไก่ สุกร การเลี้ยงไหม การทอผ้า ทอเสื่อ การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลักและอาชีพเสริมที่เป็นจุดเด่นของชุมชนได้แก่ การทอผ้าและทอเสื่อ แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การจัดการน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ ที่ทิ้งขยะมูลฝอย ถนนทางการทางเกษตรหน้าฝนเดินทางสัญจรไม่สะดวก วัยรุ่นติดยาเสพติด ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG01(2) จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนเดิมอีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ทีม AG01(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน เมษายน 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป
สรุปแผนเดือนมีนาคม-เมษายน
สัปดาห์แรก ประชุมชี้แจงการทำงาน วิธีการดำเนินงาน
สัปดาห์ 2–3 ทำงานลงพื้นที่โดยแบ่งเขตรับผิดชอบ และแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อให้สะดวกต่อการลงพื้นที่
สัปดาห์ 4–5 ประชุมเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการรายงานต่ออาจารย์ประจำตำบล และสรุปผลการดำเนินงานจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ดังนี้