บทความประจำเดือน เมษายน 2564

กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์

และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

กระผมนายศุภจิต แก้วพวง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลา 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)

ในช่วงวันที่ 1 เมษายน 2564 ลงพื้นที่พร้อมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรดูวิสาหกิจชุมชน  3 หมู่บ้าน บ้านโนนสะอาดเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนตะคร้อและบ้านโคกเมฆเรื่องการทอผ้าไหม

ในช่วงวันที่ 2 เมษายน – 10 เมษายน2564 ทีมงาน เริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบเพิ่มเติม 5 หมู่บ้านคือ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผับุ้ง หมู่ที่ 15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 และบ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคูอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ และเก็บข้อมูลเเหล่องท่องเที่ยวเพิ่มเติม

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน

1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชน

สถานที่ : บ้านโนนสะอาด ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 1 เมษายน 64 ณ บ้านโนนสะอาด สอบถามตัวแทนกลุ่มปลูกผักอินทรีย์

สมาชิกทั้งหมด 55 คน อายุระหว่าง 40-50 ปี (เริ่มก่อตั้งปี 39 มีมาได้ประมาณ 25 ปีแล้ว)

เมื่อก่อนเป็นกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกแบบภูมิปัญญา (โดยจะปลูกช่วงฤดูหนาว) เริ่มทำตั้งแต่เดือนพ.ย.-มี.ค. ของแต่ละครั้ง/ปี ปลูกประมาณ 45 วัน ได้เก็บ ไม่ใช้สารเคมีแต่ยังใช้ยาฆ่าแมลงอยู่ทำให้ผักอยู่ได้ไม่นาน

การจดทะเบียน

การจดทะเบียนเป็นการจดทะเบียนแบบไม่ต่อเนื่องบางปีก็ไม่ได้จด ทำเป็นกลุ่มแต่ยังไม่เป็นวิสาหกิจชุมชน

วิธีดำเนินการ/กระบวนการทำงาน

แปลงผักมีมากกว่า 13 ไร่ ปลูกแบบขั้นบันได รอบหนองน้ำหนองสระ ความกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร แบ่งทำคนละ 1 งาน การเตรียมแปลงผักจะเตรียมพร้อมกันส่วนเมล็ดพันธุ์จะเก็บเมล็ดพันธุ์เองและซื้อจากตลาด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะซื้อเมล็ดพันธุ์เองรวมไปถึงการทำน้ำหมักเองไว้เพื่อฉีดน้ำหมักและกากน้ำตาลทำให้ผักกรอบและอยู่ได้นาน

สถานที่ : บ้านโนนตะคร้อ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 1 เมษายน 64 ณ บ้านโนนตะคร้อ สอบถามวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม

สมาชิกทั้งหมด 30 คน

การจดทะเบียน

ยังไม่เป็นวิสาหกิจชุมชน แต่ในอนาคตอยากขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน

วิธีดำเนินการ/กระบวนการทำงาน

ทำเป็นอาชีพหลัก ทำมาประมาณ 20 ปี ขั้นตอนการทำแผ่นไข่ไหม 1 แผ่น จะได้ประมาณ 30-40 กระด้ง การเลี้ยงหม่อนไหมเลี้ยงเอง ทอเอง ทำทุกอย่างเอง มีมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เข้ามาออกแบบลวดลายให้เรียกว่าลายต้นตะคร้อ ส่วนลายที่นิยม คือ ลายนกยูง ตีนแดง โดยส่วนใหญ่แล้วจะทำลายทั่วไป ผ้า 1 ผืน ใช้เวลาทำประมาณ 3-4 วัน ขนาด : กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร (ราคา 1,800-2,500 บาท/ผืน)

สถานที่ : บ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 1 เมษายน 64 ณ บ้านโคกเมฆ สอบถามวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม

สมาชิกทั้งหมด 20 คน

การจดทะเบียน

เป็นวิสาหกิจชุมชน แต่ยังไม่ต่อเนื่อง (ปัจจุบันจดต่อแล้ว)

วิธีดำเนินการ/กระบวนการทำงาน

ทำเป็นกลุ่มแต่จะทำใครทำมัน นิยมทำลายมัดหมี่ เลี้ยงหม่อนไหมเอง สาวเอง (สาวแบบพื้นบ้าน) เลี้ยงไหมประมาณ 22 วัน แผง 1 ได้ 50 กระด้ง ทำผ้ามัดหมี่ 30 วัน (ผืนหนึ่งใช้เวลาทำ 3 เดือน) เริ่มจากการนำรังไหมที่สุกแล้วมาทำการคัดแยกรังดีและรังเสียออกจากกัน การต้มรังไหมทำให้กาวซิริซิน ละลาย และอ่อนตัว เพื่อให้การดึงเส้นไหมจากเปลือกสาวไหมออกได้ง่าย น้ำสำหรับต้มรังไหมต้องเป็นน้ำจืด ใส สะอาด มีค่าความเป็นกรด-เบส อยู่ในระดับที่เป็นกลางและต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือสกปรก เพื่อควบคุมคุณภาพด้านสีของเส้นไหม

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG01-(2)  จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนเดิมอีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

ทีม AG01(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน พฤษภาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

สรุปแผนเดือนเมษายน- พฤษภาคม

สัปดาห์แรก  ประชุมชี้แจงการทำงาน วิธีการดำเนินงาน

สัปดาห์ 23 จัดโครงการ

สัปดาห์ 45 ประชุมเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการรายงานต่ออาจารย์ประจำตำบล  และสรุปผลการดำเนินงานจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ดังนี้

อื่นๆ

เมนู