1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่ม AGO1(2)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านคู หมูที่6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่7  บ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่ม AGO1(2)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านคู หมูที่6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่7  บ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

กระผม นายอิทธิพร ปุริเส ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคู หมู่ที่ 6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 บ้านบ้านดอนกลาง หมู่ที่ 7  และบ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01

          ได้เข้าร่วมประชุมจำนวน4 ครั้งโดย Online 2 ครั้งและประชุมที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร 2 ครั้ง เพื่อติดตามการทำงานและแบ่งงานในการลงพื้นที่ และมอบหมายงานต่างๆ

ภาพที่1 เข้าร่วมประชุมออนไลน์

กระผมและทีมงานได้ลงพื้นที่ในการทำงานเมื่อวัน ศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ ที่ผ่านมา โดยให้คำแนะนำในการกรอกแบบสอบถามกับชาวบ้านก่อนและแจกแบบสอบถามเพื่อเก็บ รวบรวมข้อมูล บ้านคู หมูที่6 บ้านคู หมู่ที่ 14 บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่15 บ้านดอนกลาง หมู่ที่บ้านหนองแอ่ หมู่ที่ 5  โดยมีแบบสอบถามประมาณ 150 ชุดเพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นมาเป็นแนวทางในการพัฒนาตามนโยบายของโครงการ โดยชาวบ้านให้ความร่วมมือกรอกแบบสอบถามกันเป็นอย่างดี และกระผมกับทีมงานได้เดินแจกแบบสอบถามการตามบ้านแต่ละหลังจึงมีโอกาสได้สำรวจสภาพแวดล้อมของชุมชนซึ่งตามหมู่บ้านมีถนนคอนกรีต ทุกสายตามซอยหมู่บ้านมีศาลาสำหรับ การประชุมชาวบ้าน มีแหล่งน้ำให้ ให้อุปโภคและบริโภค มีโรงเรียนในหมู่บ้าน และกระผมได้รับมอบหมายให้นำแบบสอบถามที่รวบรวมจากหมู่บ้านอื่นๆเรียบร้อยแล้วมาคีย์ข้อมูลลงใน Google form

ภาพที่2 ลงพื้นที่บ้านคู หมู่ที่ 6

ภาพที่2.1 ลงพื้นที่บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15

กระผมได้รับผิดชอบดำเนินงานในการทำแบบฟอร์ม ที่ 05 TPMAP เพื่อทำการสำรวจพื้นที่ต่างๆ ในหมู่บ้าน กระผมได้ช่วยประสานงานระหว่างทีมและอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานในพื้นที่เพื่อสะดวกต่อการเดินทาง

ภาพที่3 ประชุมเรื่องแบบฟอร์ม 05

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน

          ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ การเลี้ยงไหม การทอผ้า การค้าขาย การทอเสื่อ และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น ซึ่ง ผมจะยกตัวอย่างบ้านหนองผักบุ้ง คือส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำการทอเสื่อพับ เป็นส่วนมาก

ภาพที่4 การทอเสื่อของชาวบ้าน

ภาพที่ 4.1 ผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน

          แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้านการรวมกลุ่มกันทำอาชีพ เพราะชาวบ้านมีผลิตภัณฑ์แต่ไม่มีผู้สนับสนุนในการส่งออกไปขายหรือทำเป็นสินค้า OTOP เพื่อให้ชาวบ้านเกิดการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน และการจัดการน้ำ ซึ่งปัญหาของชุมชนส่วนใหญ่ จะเป็นในเรื่อง น้ำและไฟฟ้า เรื่องน้ำที่ใช้ในการอุปโภค การทำการเกษตร ไม่เพียงพอในหน้าแล้ง ส่วนของไฟฟ้า ไม่มีไฟฟ้าตามถนนหนทางต่างๆ นำมาซึ่งความยากลำบากในการสัญจรไปมาและความไม่ปลอดภัยในเวลากลางคืน และการจัดการขยะภายในชุมชน ซึ่งไม่มีบ่อขยะ และไม่มีท่อบำบัดน้ำเสียในชุมชนทำให้ชุมชนเกิดความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

          ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนบ้านคู หมู่ที่6 ทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป

ภาพที่5 ลงพื้นที่สำรวจ

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และมีผู้สูงอายุอยู่บ้านจึงทำให้เก็บข้อมูลไม่ได้มาก และทางทีมงาน AG01 จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูลในครัวเรือนเดิมอีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายประชาชนก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้

ภาพที่6 ลงพื้นที่เก็บข้อมูล

แผนการในการดำเนินงานต่อไป   

     จากข้อความที่กล่าวมากับผมคิดว่า บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่ 15 และบ้านคู หมู่ที่ 6 เป็นหมู่บ้านที่เจริญแต่เป้าหมายของโครงการนี้เพื่อพัฒนาจุดด้อยของแต่ละตำบล หรือเสริมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นดังนั้นการเก็บข้อมูลในครั้งนี้เพื่อ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อไปเพื่อที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนา  ซึ่งทีม AG01 มีแผนการดำเนินงานในเดือน มีนาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

อื่นๆ

เมนู