1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน เมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ในการลงพื้นสำรวจวิสาหกิจชุมชน ณ บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคร้อและบ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน เมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ในการลงพื้นสำรวจวิสาหกิจชุมชน ณ บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคร้อและบ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวชฎาพร  ชูชีพ  ประเภท นักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ 5 หมู่บ้าน ในตำบลบ้านคู คือ บ้านจาน บ้านเก่าโก บ้านโสกดินเเดง บ้านโคกพะงาดและบ้านบง โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

ในเดือนเมษายน ดิฉันได้ปฏิบัติงาน ดังนี้

-วันที่ 1 เมษายน 2564 ดิฉัน ทีมงานเเละอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่สำรวจวิสาหกิจชุมชน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคร้อ และบ้านโคกเมฆ หมู่บ้านเเรกบ้านโนนสะอาด ดิฉันเเละทีมงานนัดประชุมกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อสอบถามตัวเเทนกลุ่มปลูกผักกอินทรีย์ จากการสอบถามได้ข้อมูลดังนี้ สมาชิกในกลุ่มมี 55 คน และเริ่มก่อตั้งกลุ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2539  ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน จำนวนแปลงผักมีทั้งหมด 13 ไร่ ความกว้าง 4 เมตร ยาว 100 เมตร แบ่งกันคนละ 1 งาน เก็บค่าบำรุง คนละ 100 บาท/ปี ค่าน้ำมันปีละ 4 ครั้ง ครั้งละ 100 บาท ในการปลูกผัก มีการเก็บเมล็ดพันธ์ุเองเเละซื้อมาจากตลาดแต่ส่วนใหญ่สมาชิกในกลุ่มก็ซื้อมาจากตลาด ปลูกผักหลายชนิดและมีระยะเวลาในการปลูกผัก   ดังนี้ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก มะเขือพวง มะเขือเทศ พริก มะละกอ ถั่วฝักยาว ใช้ระยะเวลาในการปลูก  2 เดือน  แตงกวา คะน้า สลัด ผักชีจีน ผักชีลาว ขึ้นฉ่าย หัวไชเท้า กวางตุ้ง เรดิช ใช้ระยะเวลาในการปลูก 45 วัน ผักบุ้ง ใช้ระยะเวลาในการปลูก 15 วัน มีแหล่งรองรับซื้อ มีออเดอร์มาจากส่วนกลาง แต่ว่าไม่สามารถทำผลผลิตให้ได้เนื่องจากปัจจัยในการผลิตไม่เพียงพอ น้ำไม่เพียงพอและพื้นในการปลูกไม่ได้ใหญ่พอ และถ้าขายส่งให้เขาจะต้องทำทั้งปีแต่ว่ากลุ่มนี้ทำแค่ฤดูหลังเก็บเกี่ยวคือช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคม จึงขายได้เฉพาะในหมู่บ้านเเละอาจจะมีพ่อค้าขายผักมารับซื้อบ้าง

ต่อไปบ้านโนนตะคร้อ ดิฉันเเละทีมงานได้เข้าไปสอบถามกลุ่มทอผ้าไหม จากการสอบถามได้ข้อมูลคือ กลุ่มนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจ สมาชิกในกลุ่ม มี 30 คน และทำมาแล้ว 20 ปี สมาชิกในกลุ่มทำเป็นอาชีพหลัก ในการทำก็เริ่มทำตั้งแต่การเลี้ยงไหมเอง ทอเอง ทำเองทุกอย่าง และเคยมีหน่วยงานมาออกแบบลวดลายผ้าไหมให้ แต่ส่วนมากจะทำลายทั่วไป มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์มาออกแบบลายต้นตะคร้อ ระยะเวลาในการทำ 1 ผืน ใช้เวลา 3-4 วัน ขนาดความกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ราคา 1,800-2,500 บาท/ผืน ลวดลายที่นิยมทำคือ ลายนกยูงและตีนเเดง ในการขายก็จะมีแหล่งรับซื้อ คือส่งร้านภูฟ้าเเละมีพ่อค้ามาเลือกซื้อเอง แต่ราคาที่ได้ก็จะต่างกัน ในการส่งร้านภูฟ้า จะมีออเดอร์มา 4 เดือน/ครั้ง ขายได้ 70,000/ครั้ง แต่พ่อค้าที่มาเลือกซื้อเอง ยอดซื้ออยู่ที่ประมาณ 60,000/ปี ในการย้อมสีจะเป็นสีธรรมชาติเเละสีเคมี สีธรรมชาติจะมีจากเปลือกไม้ ใบยูคา ใบสมอ ปัญหาของกลุ่มทอผ้าไหมคือ เส้นยืนราคาเเพง สีตกง่าย และปัญหาในการเลี้ยงหม่อนคือไม่มีใบหม่อนเนื่องจากแล้ง

และหมู่บ้านสุดท้ายที่ดิฉันเเละทีมงานเข้าไปสำรวจคือบ้านโคกเมฆ  เข้าไปสอบถามกลุ่มทอผ้าไหม จากการสอบถามได้ข้อมูลดังนี้ กลุ่มนี้มีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเเล้ว เเต่ไม่ได้จดต่อเนื่องทุกปี แต่ปัจจุบันจดต่อแล้ว สมาชิกในกลุ่มมี 20 คน ในการขายก็มีเเหล่งส่งคือส่งเข้าสวนจิตรลดา รับไม่จำกัด และขายกันเอง ในการผลิต จะผลิตได้ 30 ผืน/คน/ปี และปัญหาของกลุ่มนี้ก็คล้าย ๆ กับหมู่บ้านข้างต้น คือ สีตกง่าย   

-ช่วงวันที่ 3-10 เมษายน 2564 กรอกข้อมูลแบบฟอร์ม 01 เเละ 02 ลงระบบ Google Form และอบรมทักษะทั้ง 4  ด้าน

ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ดิฉันเเละทีมงานจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เเละสรุปผลเพื่อเป็นเเนวทางในการวางเเผนงานของเดือนถัดไป

ในส่วนด้านการอบรมทักษะ ดิฉันอบรมทักษะผ่านครบทั้ง 4 ด้านเเล้ว 

อื่นๆ

เมนู