ฉันนางสาว ชนัฐดา หลวงมัจฉา ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) จัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียด
ลงพื้นที่จัดอบรม เรื่อง การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ (กลุ่มทอผ้าไหม/กลุ่มผักอินทรีย์) ณ แปลงผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
เขียนหัวข้อแบบสอบถามและกรอกข้อมูลแบบสอบถาม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เป้าหมาย ณ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
สีธรรมชาติได้จากต้นไม้ในป่า โดยได้จากบางส่วนของต้นไม้ เช่น ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ เป็นต้น โดยมีที่มาของสีจากธรรมชาติ ดังนี้ แก่นขนุน แก่นฝาง ตัวครั่ง เปลือกมะพร้าว ใบแก้วตัวครั่ง โคลนตม และขมิ้น
ขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติ
- ต้มน้ำให้เดือด ในภาชนะที่ใหญ่พอประมาณ (ขึ้นอยู่กับจำนวนผ้า ที่จะย้อมด้วย) ใส่เกลือลงไปพร้อมกับน้ำเพื่อให้สีติดทนนานและสีสดขึ้น
- นำวัตถุดิบให้สีที่เตรียมไว้มาสับๆ ให้เล็กพอประมาณ แล้วใส่ ใน ถุงผ้าหรือตาข่ายที่เตรียมไว้ แล้วนำเอาไปต้มกับน้ำที่เดือด เพื่อสกัดเอาสารที่มี อยู่ในนั้นออกมา ให้สังเกตสีที่ออกมาจากถ้าสีเข้มแล้วจึง
- นำผ้าที่ผูกลายเสร็จลงไปในหม้อต้มสี ให้กลับด้านผ้าหรือกวน ให้ตลอดเพื่อให้สีผ้าดูดสีสม่ำเสมอกันทั้งผืน ให้สังเกตสีที่ซึมเข้าไปในเนื้อผ้า ถ้าพอใจหรือเหมาะสมแล้วจึงนำออกมา วางให้เย็นก่อน (ประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหถูมิของน้ำ)
- แล้วค่อยเอาลงล้างขยี้เบาๆ ในน้ำตัวทำปฏิกิริยาเพื่อทำให้เกิดสีใหม่ เช่น น้ำสนิม น้ำสารส้ม น้ำปูนใส น้ำด่างขี้เถ้า (ในขณะที่แช่ผ้าในตัวทำปฏิกิริยาแต่ละชนิดให้สังเกตถึงความต่างและการเปลี่ยนแปลงสีของแต่ละชนิดไว้ด้วยเพราะแต่ละตัวจะให้สีแตกต่างกัน) ถ้าพอใจแล้วให้แกะลายออกแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หรือถ้ายังไม่พอใจในสีที่ปรากฏให้นำไปล้างน้ำ สะอาดแล้วนำกลับไปย้อมกับตัวทำปฏิกิริยาชนิดอื่นๆ อีก แต่ข้อควรระวัง คือในระหว่างที่นำผ้าเปลี่ยนตัวทำปฏิกิริยาให้ล้างน้ำเปล่าก่อน เพื่อไม่ให้ผสมกัน หรือถ้าไม่พอใจอีกอาจนำไปต้มกับน้ำเปลือกไม้อีกครั้ง เพื่อย้อมใหม่ จนเป็นที่พอใจแล้วแก้ผ้าที่มัดไว้นำไปตากแดดให้แห้ง
การรักษาผ้าไหมสีธรรมชาติ
- ผ้าไหมที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ มีความสวยงามและลักษณะของผ้าต่างจากผ้าชนิดอื่น ๆ การดูแลรักษาการซัก-รีด จึงแตกต่างและพิถีพิถันกว่าผ้าทั่วไป
- ผ้าไหมไม่ควรซักด้วยเครื่องซักผ้า และไม่ควรใช้สบู่หรือผงซักฟอกที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ควรเลือกใช้ชนิดที่เป็นกรดอ่อนๆ หรือเป็นกลาง ไม่ควรบิดผ้าไหม และควรตากในร่มเท่านั้น
- การรีดผ้าไหม ควรรีดผ้าไหมขณะที่ยังหมาดน้ำอยู่และควรใช้ผ้าชิ้นอื่นทับบนผ้าไหม แล้วรีดบนผ้าผืนนั้น หรือรีดด้านในของผ้าไหม ถ้าต้องการใช้น้ำยารีดผ้าเรียบควรเลือกชนิดคุณภาพดี
- เมื่อสวมใส่ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ควรหลีกเลี่ยงอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดนานเกินไป เนื่องจากสีธรรมชาติบางสีซีดจางง่ายกว่าปกติ
ข้อดีของสีธรรมชาติ
- ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค
- น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม
- วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
- การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น
- สีธรรมชาติมีความหลากหลาย ตามชนิด อายุและส่วนของพืชที่ใช้ ตลอดจนชนิดของสารกระตุ้นหรือขั้นตอนการย้อม
- การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ
- ความสัมพันธ์ระหว่างคนย้อมสีกับต้นไม้ ย่อมก่อให้ เกิดความรัก ความหวงแหน และเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์ และปลูกทดแทนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน
แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
- คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
- จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
- จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
- นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
แผนการดำเนินงานต่อไป
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(2) ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ดังนี้
1. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
2. จัดกิจกรรม One Day Trip ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบล โดยการพาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจแบบวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ ตามแผนที่วางไว้
3. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
4. นำเสนอผลการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมต่อคณะกรรมการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)