บทความเดือนมิถุนายน
ดิฉัน นางสาวกุลธิดา ลาขุมเหล็ก ประเภทนักศึกษา ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในเดือนนี้ดิฉันเเละทีมงานได้รับมอบหมายงานให้จัดกิจกรรมรณรงค์ฉีดวัคซีน ลงพื้นที่ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่เสี่ยงเเละจัดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 และยกระดับสินค้า O-TOP
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(2)
วันที่ 20 พฤษภาคมและวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับทีมงาน ประชุมเรื่องที่จะจัดกิจกรรมรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 และเรื่องการลงพื้นที่ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่เสี่ยง
วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ประชุมและสอบถามชาวบ้าน บ้านโนนตะคร้อเรื่องการยกระดับผ้าไหม ลายผ้าไหม สีย้อมผ้าไหม เรื่องโควิด-19และเรื่องการฉีดวัคซีนโดยให้คุณหมออนามัยบ้านคูมาให้ความรู้ มีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 50 คน
วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ไปทำความสะอาดโรงเรียนวัดสระทอง บริเวณโรงอาหาร ห้องประชุม ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 และได้มอบหน้ากากอนามัยเเละเจลล้างมือเพื่อป้องกันโรคโควิด-19
วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ประชุมออนไลน์กะอาจารย์ประจำหลักสูตร
วันที่ 11 มิถุนายน 2564 อบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 และยกระดับสินค้า O TOP ณ บ้านโนนสะอาด หัวข้อที่อบรมคือผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ในการอบรมก็เป็นไปตามมาตราการการป้องกันโควิด 19 คือผู้เข้าร่วมอบรมไม่เกิน 50 คนและผู้เข้าร่วมอบรมคือกลุ่มสมาชิกที่ทอผ้าไหมทั้งที่เป็นกลุ่มที่จดทะเบียนวิสาหกิจเเล้วเเละที่ยังไม่จดทะเบียน โดยมีวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้มาให้ความรู้กับกลุ่มชาวบ้านที่ทอผ้าไหม
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.ได้รู้เรื่องของการทอผ้าไหม ขนาดของผ้าไหม
2.ได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาของชุมชน
แนวทางแก้ไขปัญหาในเดือนต่อไป
ในเดือน กรกฎาคม 2564 มีการวางแผนการพูดคุยให้ชาวบ้านมีความเชื่อมั่นของการลงพื้นที่ ของทีมงานเพื่อมาช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 และการพัฒนาต่อยอดอาชีพเสริมของการเป็นอยู่และสัมมาอาชีพ/รัฐวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่นที่ทำกันอยู่ให้พัฒนาเพิ่มขึ้น เช่น การทอผ้าปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แม้กระทั่งแปลงเกษตรอินทรีย์หรือการยกระดับสัมมาอาชีพและภูมิปัญญาชาวบ้านให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของชาวชุมชนให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามท้องตลาดที่ต้องการต่อไป