ดิฉันนางสาวนงลักษณ์ แก้วคำชาติ ประเภทประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองลุมพุก หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 และระบบจัดเก็บข้อมูล U2T เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว(U2T)
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01
ช่วงวันที่ 1-18 ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บพิกัด U2T ของหมู่บ้านที่รับผิดชอบ
วันที่ 6 พฤษภาคม 2564 มีการจัดประชุมออนไลน์ชี้แจงการปฎิบัติงานและการลงข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านระบบแอพ U2T
วันที่ 7-10 พฤษภาคม 2564 ได้ทำการลงพื้นที่ปฎิบัติงานสำรวจและเก็บข้อมูลในชุมชนที่ได้รับผิดชอบ โดยใช้แบบฟอร์ม 01 และ 02 เก็บข้อมูลในพื้นที่
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ทีมงานตำบลบ้านคู ได้ลงพื้นที่หมู่บ้านโนนสะอาด พร้อมทั้งผู้นำชุมชน ทำกิจกรรมเสริมสร้างความดีและจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน
ได้ลงสํารวจพื้นที่เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในตําบลบ้านคู 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโคกเมฆ บ้านโนนตะคร้อ และบ้านโนนสะอาด

ภาพที่ 1 ประชุมกลุ่มเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ภาพที่ 2 กิจกรรมทำความดีทำความสะอาดที่วัดใหม่สามัคคีบ้านโนนสะอาด

ภาพที่ 3 กิจกรรมทำความดีทำความสะอาดที่วัดใหม่สามัคคีบ้านโนนสะอาด
แหล่งท่องเที่ยวตำบลบ้านคู คือ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อ หมู่ที่ 12 ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
อาชีพทอผ้าไหมเป็นอาชีพเสริมมานาน แต่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการ ต่อมาสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาโพธิ์ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาสตรีในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอขึ้นครบทุกพื้นที่ จึงได้รวมตัวกันอย่างเป็นทางการ ส่วนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อมีการรวมกลุ่มกันทอผ้าไหมมานานกว่า20ปีแล้ว แต่ยังไม่จดวิสาหกิจชุมชน แต่มีกลุ่มการเลี้ยงหม่อนไหมที่เป็นวิสาหกิจชุมชนแล้ว ถึงยังไงก็ตามชาวบ้านก็ยังคงทอผ้าไหมสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน กลุ่มทอผ้าไหมมีสมาชิกทั้งหมด 49 คน ทั้ง 49 คนนี้ยังคงทอผ้าไหมตลอด
ส่วนเรื่องตลาดส่งออกของชาวบ้านคือ ร้านภูฟ้า ทางร้านจะสั่งผ้าทุกๆ4เดือนและจะมีขายตามพ่อค้าทั่วไป
ขั้นตอนการผลิต
1.การเลี้ยงไหม ชาวบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมด้วยตนเองตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยงตามขั้นตอนที่ได้รับสืบทอดต่อเนื่องกันมาจากบรรพบุรุษ
2.การตีเกรียว(กวักไหม) ขั้นตอนในการทอผ้าไหมให้ได้คุณภาพ เพื่อให้เส้นไหมมีความสม่ำเสมอ
3.การค้น เป็นขั้นตอนการแยกเส้นใยไหม เป็นเส้นพุ่ง และเส้นยืน ก่อนนำไปสู่การย้อม-ทอ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญพิเศษ เพื่อให้ได้ขนาดความยาวของเส้นใยเท่ากัน การควบคุมความตึงของเส้นใยให้สม่ำเสมอ
4.การมัด ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการสร้างลายด้วยการมัดลายที่คิดค้นขึ้นด้วยเชือกฟางก่อนนำไปย้อมสีตามที่ต้องการ
5.การย้อม เหมือนกับการย้อมสีทั่วไปแต่ต้อง นำส่วนต่าง ๆ ของพืชมาแช่น้ำ และนำไปต้มให้ได้สีตามที่
6.การทอผ้าไหมเป็นขั้นตอนของการนำเส้นพุ่ง(ที่มีการสร้างลาย) ไปทอกับเส้นยืนโดยใช้กี่ทอผ้า ด้วยวิธีการสอดเส้นพุ่งให้ขวางไปกับเส้นยืนโดยการกระทบด้วยฟืมทอผ้าทีละเส้นๆ จนกว่าจะได้ออกมาเป็นผืนผ้าซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความชำนาญ และความอดทนเป็นพิเศษ
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
1.เลือกเส้นไหมที่มีความสม่ำเสมอ
2.การสาวไหม(ตีเกรียว) ต้องตีเกรียวให้แน่นเพื่อให้เส้นไหมกลมไม่แตก เมื่อนำไปทอผ้าไหมจะมีเนื้อที่สม่ำเสมอ
3.การย้อมเพื่อให้สีติดทนนาน และไม่ตกสี ใช้เหล้าขาว หรือน้ำส้มสารชู หรือน้ำส้มสารชูเติมลงไปผสมกับน้ำสีธรรมชาติ
4.ออกแบบลายโดยการใช้ลายโบราณและคิดค้นเพิ่มเติมผสมผสานกันให้ออกมาเป็นลายใหม่ที่มีความสวยงามและทันสมัยเป็นที่ต้องการของตลาด
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.ได้รู้พืชในชุมชนว่ามีอะไรบ้าง
2.ได้รู้ว่าแต่ละหมู่บ้านมีอาหารอะไรที่น่าสนใจ
3.ได้รู้ว่าแต่ละหมู่บ้านมีแหล่งท่องเที่ยวอะไรบ้าง
4.ได้รู้เกี่ยวกับการเลี้ยงหม่อนไหมและลายผ้าไหม
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
มีแผนการดําเนินงานในเดือน มิถุนายน 2564 โดยทําการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูล U2T และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดําเนินงานต่อไป

ลายขอบันได

ลายดาวล้อมเดือน

ผ้าสไบ

ผ้าขาวม้า