ข้าพเจ้านางสาวเมธวี แคว้นไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG 02 (02) ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์
หลักสูตร: AG02-(01-03) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่บ้านหนองหว้า หมู่11 ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 เวลา 08:00-16:30
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ นาข้าวอินทรีย์ ของคุณแม่เฉลา อุตทา บ้านหนองหว้า หมู่11 ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ เพื่อทำการเก็บข้อมูลความรู้เกี่ยวการทำนาข้าวเหนียวอินทรีย์ ขั้นตอนการทำ และการใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยชีวภาพ
การทำนาข้าวปลอดสารพิษ เป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลอดภัย ไร้สารพิษ รักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แข็งแรง ปราศจากโรคหรือมีโรคน้อยที่สุด
ขั้นตอนการทำนาข้าวอินทรีย์
1. คัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่นา เช่น ข้าวพันธุ์ กข. 6 จะชอบพื้นที่ในที่ลุ่มมีน้ำ ขังตลอด
2. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว คัดเลือกแปลง ข้าวที่มีต้นข้าว รวงข้าว เมล็ดข้าวที่โตแข็งแรง เมล็ดข้าวแก่จัด เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ ถอนออกเป็นรวงๆ ที่สมบูรณ์ที่สุด เก็บไว้ จากนั้นนำเมล็ดมาฝัด เพื่อคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ที่ไม่สมบูรณ์ออก แล้วนำเมล็ดข้าวที่คัดเลือกว่าดีแล้วตากแห้ง แล้วเก็บไว้ทำพันธุ์ในปีต่อไป
3. ปรับพื้นที่นา ไถนาให้เสมอเพื่อเตรียมการ ดำ หรือหว่าน แต่พื้นที่นาต้องมีนํ้าขัง จากนั้นนำปู๋ยหมักจุลินทรีย์ไปผสมน้ำพ่นพื้นที่นาเพื่อกระตุ้น เชื้อจุลินทรีย์ที่หว่านตอนเตรียมดิน ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวแข็งแรงเติบโต
4. คอยหมั่นดูแลต้นข้าว และดูแลระดับน้ำอย่าให้ขาดในนาข้าวหมั่นรักษาไม่ให้วัชพืช ขึ้นในนาข้าว และพ่นจุลินทรีย์ในทุกๆ 20 วัน จนถึงข้าวตั้งท้องแล้วจึงงดการพ่นจุลินทรีย์ แต่ยังคงรักษา ระดับน้ำในคันนาอย่าให้ขาด
5. พอข้าวแก่พอสมควรก็ปล่อยน้ำออกจากคันนา และเตรียมเก็บเกี่ยวต่อไป
ส่วนมากแม่เฉลา จะทำนาข้าวเหนียวมากกว่าข้าวหอมมะลิ เพราะนิยมกินแต่ข้าวเหนียวมาตั้งแต่ดั่งเดิม 1 ปีจะทำนา 1 ครั้ง เริ่มทำตั้งแต่พฤษภาคม-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูการทำนา