รายงานผลการปฏิบัติงานของนายอาทิตย์ กมุลทะรา ตำแหน่ง กพร.
ประจำเดือนมีนาคม 2564
AG02(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม 01 และ 02 บ้านหนองโก หมู่ 12 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมี 98 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 338 เป็นชาย 158 คน หญิง 180 คน  ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจและเก็บแบบสอบถามในพื้นที่ประจำเดือนมีนาคม ข้าพเจ้าได้ลงเก็บข้อมูลครัวเรือน 01 และข้อมูลโควิค 02 เพิ่มเติมจากเดือนกุมภาพันธ์ และได้สำรวจความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชน เพื่อให้คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นำข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป โดยประชาชนส่วนใหญ่ต้องการหลักสูตรการตลาดออนไลน์ เพื่อส่งต่ออาชีพการทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์ มรดกจากรุ่น…สู่รุ่น ชาวบ้านนาโพธิ์ มักทอผ้าชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะทอเป็นผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น ใช้โครงหูก หรือโครงกี่พื้นบ้านในการทอผ้า ยังคงรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ได้ดี ชาวบ้านจึงต้องการนำเสนอผ้าประจำท้องถิ่น คือ ผ้าไหมมัดหมี่ตีนแดง หรือ ผ้าซิ่นตีนแดง ให้เป็นสินค้าแนะนำเพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP

ควรทําการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ 1) การขาย (Sell) ช่องทางการขายที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รองรับลูกค้าเก่าและใหม่ที่จะเกิดขึ้น 2) การบริการ (Service) ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา 3) การพูดคุย (Speak) ช่วยลดพื้นที่ว่างตรงกลางระหว่างสินค้ากับผู้บริโภค ทําให้เกิดการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น ผู้บริโภคจึงมีพื้นที่สําหรับการพูดคุยมากขึ้น 3) ประหยัด (Save) ช่วยลดค่าใช้หรือทดแทนค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานต่าง ๆตัวอย่างเช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แทนการส่งจดหมายแบบเดิม 5) ประกาศ (Sizzle) สร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เบื้องต้นได้แนะนำการใช้ Facebook Business Manager เพื่อช่วยให้การทำการตลาดออนไลน์ผ่าน Facebook เพื่อการขายสินค้าอย่างเป็นระบบ และการใช้ LINE เพื่อผสมผสานบริการ Messaging และ Voice Over IP ที่สามารถแชท สร้างกลุ่ม ส่งข้อความ โพสต์รูปต่างๆ  หรือจะโทรคุยกันแบบเสียงก็ได้  โดยข้อมูลทั้งหมดไม่ต้องเสียเงิน แก่ชาวบ้านไว้เบื้องต้น และในกิจกรรมถนัดไปจึงนำข้อมูลชุมชนมาวิเคราะห์และวางแผนงานร่วมกันในระยะต่อไป ณ ห้องประชุมขวัญข้าว คณะเทคโนโลยีการเกษตร ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางศักยภาพเกษตรกรยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนต่อไป และรายงานผ่านแบบฟอร์มในระบบของข้าพเจ้า เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ และเรียบเรียงในเชิงวิชาการ

Tags: ,

อื่นๆ

เมนู