รายงานผลการปฏิบัติงานของนายอาทิตย์ กมุลทะรา ตำแหน่ง กพร.
ประจำเดือนมีนาคม 2564
AG02(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
![]() |
![]() |
![]() |
จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม 01 และ 02 บ้านหนองโก หมู่ 12 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมี 98 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 338 เป็นชาย 158 คน หญิง 180 คน ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจและเก็บแบบสอบถามในพื้นที่ประจำเดือนมีนาคม ข้าพเจ้าได้ลงเก็บข้อมูลครัวเรือน 01 และข้อมูลโควิค 02 เพิ่มเติมจากเดือนกุมภาพันธ์ และได้สำรวจความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชน เพื่อให้คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นำข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป โดยประชาชนส่วนใหญ่ต้องการหลักสูตรการตลาดออนไลน์ เพื่อส่งต่ออาชีพการทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์ มรดกจากรุ่น…สู่รุ่น ชาวบ้านนาโพธิ์ มักทอผ้าชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะทอเป็นผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น ใช้โครงหูก หรือโครงกี่พื้นบ้านในการทอผ้า ยังคงรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ได้ดี ชาวบ้านจึงต้องการนำเสนอผ้าประจำท้องถิ่น คือ ผ้าไหมมัดหมี่ตีนแดง หรือ ผ้าซิ่นตีนแดง ให้เป็นสินค้าแนะนำเพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP
![]() |
ควรทําการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ 1) การขาย (Sell) ช่องทางการขายที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รองรับลูกค้าเก่าและใหม่ที่จะเกิดขึ้น 2) การบริการ (Service) ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา 3) การพูดคุย (Speak) ช่วยลดพื้นที่ว่างตรงกลางระหว่างสินค้ากับผู้บริโภค ทําให้เกิดการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น ผู้บริโภคจึงมีพื้นที่สําหรับการพูดคุยมากขึ้น 3) ประหยัด (Save) ช่วยลดค่าใช้หรือทดแทนค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานต่าง ๆตัวอย่างเช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แทนการส่งจดหมายแบบเดิม 5) ประกาศ (Sizzle) สร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เบื้องต้นได้แนะนำการใช้ Facebook Business Manager เพื่อช่วยให้การทำการตลาดออนไลน์ผ่าน Facebook เพื่อการขายสินค้าอย่างเป็นระบบ และการใช้ LINE เพื่อผสมผสานบริการ Messaging และ Voice Over IP ที่สามารถแชท สร้างกลุ่ม ส่งข้อความ โพสต์รูปต่างๆ หรือจะโทรคุยกันแบบเสียงก็ได้ โดยข้อมูลทั้งหมดไม่ต้องเสียเงิน แก่ชาวบ้านไว้เบื้องต้น และในกิจกรรมถนัดไปจึงนำข้อมูลชุมชนมาวิเคราะห์และวางแผนงานร่วมกันในระยะต่อไป ณ ห้องประชุมขวัญข้าว คณะเทคโนโลยีการเกษตร ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางศักยภาพเกษตรกรยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนต่อไป และรายงานผ่านแบบฟอร์มในระบบของข้าพเจ้า เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ และเรียบเรียงในเชิงวิชาการ
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |