กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและนวัตกรรม เพื่อหารายได้เสริมแก่ชุมชน AG02 (2) บ้านหนองโก หมู่ 12 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
มีประชากร จำหน่าย 338 คน แบ่งเป็นชาย 158 คน หญิง 180 คน รวม 98 หลังคาเรือน มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะสตรีในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเรียนทอผ้าไหม ทั้งยังมีการรับจ้างทอผ้า และขายผลิตภัณฑ์ OTOP ผ้าไหมโบราณ ผ้าไหมไทย ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมประยุกต์
![]() |
จุดเด่นของหมู่บ้านหนองโก
- ทอผ้าชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะทอเป็นผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น ใช้โครงหูก หรือโครงกี่พื้นบ้านในการทอผ้า ยังคงรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ได้ดี
- มีแหล่งน้ำชุมชนตรงข้ามชุมชน และมีลานกิจกรรม ซึ่งกำลังปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
- มีกลุ่มทอผ้าไหม ชาวบ้านรับจ้างทอผ้าเป็นอาชีพเสริมจากการทำเกษตร จากนโยบาย ประเทศไทย 4.0 หรือโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจ ของรัฐบาล เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการเปลี่ยน โครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value – Based Economy หรือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) และ เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น ประเทศไทย 4.0 จึงเป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อ ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่ ” (New Engines of Growth) ด้วยการเปลี่ยนแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ” ของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม ” ให้เป็น “ความได้เปรียบ ในเชิงแข่งขัน” โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น “5 กลุ่มเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเป้าหมาย” ประกอบด้วย 1) กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ 2) กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยี ทางการแพทย์ 3) กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และ ระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 4) กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว 5) กลุ่มอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง จากการลงพื้นอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรม ที่สามารถต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมได้ ด้วยแนวคิดพัฒนานวัตกรรม จึงได้เลือกผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าไหมของดีชาวบ้าน ผ้าซิ่นไหมตีนแดง อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มาเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม โดยจำหน่าย ผืนละ 2,000 – 2,800 บาท (ขนาด 100 x 200 เซนติเมตร)
โดยแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ แบ่งได้ 2 แบบ คือ 1. ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (tangible product) หรือ สินค้าทั่วไป (goods) 2.ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (intangible product) หรือ การบริการ (service) นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือวิธีการผลิตสินค้า หรือ การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิมนวัตกรรม กระบวนการแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ 1.นวัตกรรมกระบวนการทางเทคโนโลยี (Technological Process Innovation) เป็นสินค้าทุนที่ถูกใช้ใน กระบวนการผลิต ซึ่งหน่วยของ real capital หรือ material goods ซึ่งถูกปรับปรุงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจะทำให้สามารถ เพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ นั้นเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ 2.นวัตกรรมกระบวนการทางองค์กร (Organization Process Innovation) เป็นขบวนการที่เพิ่มประสิทธิภาพและขีด ความสามารถของการจัดการองค์กรให้สูงขึ้น โดยใช้การลองผิด ลองถูกและการเรียนรู้จากการทดลองทำด้วยตนเอง โดยไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำวิจัยและพัฒนาเพียงอย่างเดียว จากการลงพื้นที่ระดับรายตำบล ได้นำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมในรูปแบบใหม่ ต่อผู้นำชุมชน ผู้ประกอบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถแบ่งกระบวนการสร้างนวัตกรรมออกเป็น ด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ที่มาของแนวความคิด เนื่องจากการที่พบเห็นถึงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่มีจำหน่าย ตามท้องตลาดนั้นมีลักษณะที่เหมือนกัน และไม่มีความแตกต่าง จึงเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถในด้านการออกแบบ ระหว่างนักออกแบบด้านสิ่งทอกับนักออกแบบ โดยเล็งเห็นว่าเสื่อที่เป็นภูมิปัญญาไทยแบบดั้งเดิม นั้นมีคุณสมบัติที่ไม่ทนทาน และมีลวดลายที่ไม่ค่อยสวยงาม จึงเกิดความสนใจที่จะพัฒนา และต่อยอดการทอผ้าไหมให้มีคุณสมบัติที่ทำความสะอาดง่าย ใช้วัสดุจากธรรมชาติ ให้เหมาะกับประเทศเมืองร้อนที่สามารถใช้งานได้หลากหลายในอนาคต มีลวดลายการออกแบบที่ทันสมัย สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ และมีการทอผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะของประเทศไทย โดยเน้นการสร้างสรรค์พัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมในรูปแบบใหม่ ให้สามารถยกระดับมาตรฐานสินค้า เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ไทยให้ประสบความสำเร็จในตลาดโลกให้ได้
- การสำรวจตลาด และการวิจัยตลาด จากแนวความคิดให้เกิดการร่วมสมัย ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ลวดลาย หรือรูปแบบใหม่ ผู้ประกอบต้องสํารวจตลาด หาโอกาสให้กับชาวบ้านเข้าถึงแหล่งทุน พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมนาโพธิ์ในรูปแบบใหม่ให้มีลักษณะเฉพาะ มีความทันสมัย และสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้กับผ้าไหมแบบดั้งเดิม หรือลายโบราณให้มีคุณค้า
- การทดลองการออกแบบ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมนาโพธิ์ ควรเริ่มออกแบบทุกอย่างใหม่ตั้งแต่กระบวนการเลือก วัสดุไปจนถึงการคิดลวดลาย ซึ่งควรร่วมมือกับนักออกแบบรุ่นใหม่ โดยนักออกแบบทั้งใน ประเทศ และต่างประเทศ ควรใช้กราฟิกลายโมเดิร์น ( Modern) ทั้งหมดในการออกแบบ และยังคงการผลิตเดิมไว้ เพื่อให้เสื่อเหมาะกับสภาพที่อยู่ อาศัยในปัจจุบันมากที่สุด สร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่แล้ว จึงพัฒนาการทอผลิตภัณฑ์ผ้าไหมให้มีความคงทนมากขึ้น โดยมีการวิจัยและพัฒนาแบบ ระหว่างโรงงาน การตลาด วิศวกร และนักออกแบบ เพื่อให้สามารถสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคใน ปัจจุบัน
- การเลือกใช้วัสดุในการผลิตผ้าไหมในชุมชน
- วางแผนการผลิต ชุมชนควรนำนวัตกรรมการทอแบบใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ผ้า มีการทอที่แน่นทนทาน โดยการใส่สารป้องกัน UV เข้าไปในเนื้อผ้าในอนาคต เพื่อให้สามารถใช้งานกลางแจ้งได้ สีไม่ซีด และมีการทอที่แน่นกว่าผ้าทั่วไปปกติถึง 30 % ทำให้ลดปัญหา การขาด และหรือออกแบบให้สามารถใช้งานได้ทั้งสองด้าน
- สำรวจโรงงานรับจ้างผลิตหรือแปรรูปผ้าไหม ควรสำรวจโรงงานที่สามารถเข้าใจถึงกรรมวิธีการผลิตสิ่งทอได้เป็นอย่างดี และสามารถรองรับความต้องการด้านการผลิตที่ ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ ร่วมมือกับนักออกแบบรุ่นใหม่ร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างโอกาสการจำหน่ายในกลุ่มวัยรุ่น
- การทดลองการผลิต ควรทดลองหาผลิตภัณฑ์ต้นแบบขึ้นมา ด้วยวิธีการการลองผิดลองถูก จากแต่เดิมผ้าไหม เหมาะสำหรับเป็นของฝากเท่านั้น ทางชุมชนควรพัฒนา และต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ ทั้งในแบบการตกแต่ง แปรรูป ตัดเย็บเป็นสินค้าอื่นและต้องคำนึงถึงกระบวนในการผลิต ดังนี้
- เครื่องจักร ในอนาคตมีการใช้เครื่องจักรเฉพาะในการทอผ้า เพื่อให้ได้ขนาดและลักษณะของผลิตภัณฑ์ตามที่ตลาดแห่งอนาคตต้องการ
- แรงงานฝีมือ ใช้แรงงานฝีมือที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญในการย้อม การทอทั้งแบบโบราณ และสมัยใหม่ เพื่อเก็บรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ให้มีความประณีต แข็งแรงขึ้นยิ่งขึ้น
- การนำนวัตกรรมสินค้าเข้าสู่ตลาด
- การส่งผลิตภัณฑ์เสื่อเข้าประกวด ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ได้รางวัลในด้านออกแบบ และกระบวนการผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการยอมรับนวัตกรรม
- การหาพันธมิตรทางธุรกิจ ชุมชนควรมีการทำพันธมิตรร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและเอกชน ชั้นนำในประเทศไทย โดยการนำผ้าไหมนาโพธิ์ ไปวางในหน้าร้าน และมีการจัดเฟอร์นิเจอร์ไว้เป็นเซต เพื่อแสดงให้ผู้บริโภคเห็นภาพจริงของผลิตภัณฑ์ ผู้ศึกษาเล็งเห็นว่า ความสวยงามและการออกแบบ (Design) ของผ้าไหมนาโพธิ์ พันธมิตรทางธุรกิจจะช่วยส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ว่าเป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกัน
- การออกงานแสดงสินค้า ได้ออกงานการจัดแสดงสินค้า ทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ โดยจะเน้นไปงานแสดงสินค้าที่มีชื่อเสียง เช่น ในประเทศ ได้มีการจัดแสดงสินค้าระดับจังหวัดและประเทศ ในเทศกาลงานไหมนานาชาติ ส่วนต่างประเทศ ควรจัดแสดงสินค้า พร้อมกับสมาคมเพื่อการส่งออก โดยได้เข้าร่วมในงาน เช่น “มิลานแฟชั่นวีก” ประเทศอิตาลี
- จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ได้นำเสนอขายผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค (facebook) , ไลน์ (line ) เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบันได้มีการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมนาโพธิ์ได้ง่ายขึ้น โดยจากการขาย สินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการสร้างความสะดวกสบาย ให้กับผู้บริโภค ที่ไม่คิดค่าบริการการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ๆ ได้ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการสื่อสารการตลาดอีกด้วย
- ผู้ศึกษา นายอาทิตย์ กมุลทะรา ตำแหน่ง กพร.
-