Creative Business Center

เขียนโดย นายอาทิตย์ กมุลทะรา ตำแหน่ง กพร.

ผ้าไหมที่อำเภอนาโพธิ์ มีทั้งผ้าไหมพื้นไหมหางกระรอก ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า และผ้ามัดหมี่ การทอผ้ามัดหมี่จะมีลายพื้นเมืองดั้งเดิม และลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลักษณะเด่นของผ้าไหมบุรีรัมย์  คือเนื้อจะแน่น เส้นไหมละเอียด ถ้าเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่เป็นแบบพื้นเมืองดั้งเดิมจะนิยมใช้สีขรึมๆ ไม่ฉูดฉาด

จากการเล่าสืบกันมา ความแร้นแค้นเริ่มหมดไปเมื่อปี 2516 ความอัตคัด – ขัดสน ถึงพระเนตรพระกรรณ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ผ่านท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ (ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว) กองเลขานุการในพระองค์ และท่านผู้หญิงจรุงจิต ทีขะระ นางสนองพระโอษฐ์ และราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทำให้ผ้าไหมชาวบ้านนาโพธิ์ ได้ถูกส่งเข้าโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ

ศูนย์หัตกรรมพื้นบ้านนาโพธิ์ ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2542 จากการรวบรวมชาวบ้านที่มีฝีมือการทอผ้าไหมที่สวยงาม ชนะการประกวดผ้าไหมในระดับภาคและระดับประเทศ ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสืบสานงานทอผ้าไหมไทย สนองแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ป้าประคองเล่าว่า ในปี 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง บ้านนาโพธิ์ และมีพระมหากรุณาธิคุณ ให้ผ้าไหมนาโพธิ์โดดเด่นมากยิ่งขึ้น
“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ท่านช่วยเราและชาวบ้าน นอกจากส่งผ้าที่ศูนย์ศิลปาชีพแล้ว เราได้ส่งผ้าไปขายที่ร้านภูฟ้าด้วย เรารู้ดีว่างานที่ส่งให้ร้านภูฟ้า ต้องเป็นงานที่เนี๊ยบ เราจึงปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการต่างๆ ก็เข้ามาช่วยเรื่องสีธรรมชาติและเรื่องอื่นๆ” ป้าประคองเล่าอย่างปลื้มใจ

ส่งผ่านเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ โดยสร้างสรรค์โครงการนวัตกรรเพื่อการสื่อสารส่งเสริมการตลาดผ้าไหมนาโพธิ์
ต้องการพัฒนาบ้านเราด้วยความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับการวางแผนกลยุทธ์การตลาดควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า โดยสร้างคอนเทนต์ เนื้อหา สื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ แก่ชุมชนแนะนำการดูแลแผนการตลาด อบรมการผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ แก่วิสาหกิจชุมชนนาโพธิ์ พัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business Center) ผ่านนิทรรศการที่นำเสนอแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และพัฒนาศักยภาพของธุรกิจท้องถิ่นจากการสร้างสรรค์ โดยผ่านการเรียนรู้ของประชาชนในภาคอีสาน รวมถึงการจัดกิจกรรมบ่มเพาะธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการออกแบบบริการ (Service Design) เรียนรู้การใช้งาน “คู่มือธุรกิจหัตถกรรม” พื้นที่การเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมด้านธุรกิจ อาทิ การตั้งเป้าหมายทางธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ การสร้างแนวคิดเพื่อการออกแบบ การพัฒนาสินค้า การพัฒนาธุรกิจ การขายและการตลาด รวมถึงการบริหารจัดการเงิน เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจหัตถกรรมให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 ได้ปฏิบัติงานสร้างสรรค์วิดีโอเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขัน และเข้าร่วมอบรมการออกแบบสื่อ โครงการ U2T HACKATHON 2021 ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

ขอบคุณ คุณชญานนท์ สุทธิสาร
ขอบคุณดนตรีประกอบ อ้นแคนเขียว Entertainment https://youtu.be/mWsCNLnT2ZU
วิดีโอนี้สร้างขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น

สร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม

อีกทั้งได้ประสานวิทยากร คุณปริชญา สิงห์สุรรณ ผู้ก่อตั้ง THREE STUDIO & WORKSHOP (FIN CRAFT) ด้วยคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรีรัมย์ ได้ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ เป็นการยกระดับเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน ซึ่งทางโครงการจะดำเนินโครงการที่สร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมให้แก่กลุ่มชุมชนผ้าไหมในตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์
9 หมู่ 13 บ้านนาโพธิ์ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31230
ติดต่อ : นางประคอง ภาสะฐิต
โทร : 044 686157,686056, 01 9673849
#สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
• ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ โทร. 0 4463 4722-3
• สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ 044-666531
• สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ 044-666528

Tags:

อื่นๆ

เมนู