ข้าพเจ้านางสาวดุศณี ชนะบุญ ประเภท ประชาชน AG 02 (2) ต. นาโพธิ์ อ. นาโพธิ์ หลักสูตร: AG02-(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในเดือนนี้พวกเราได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานและอบรมชาวบ้านในพื้นที่ อำเภอ นาโพธิ์ สร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน โดยการจัดอบรมส่งเสริมการปลูกเห็ดฟางในตะกร้า เพื่อเป็นอาหารและขายเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน โดยมีวิธีการขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการ เพาะ เห็ดฟาง

  1. ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน
  2. หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า
  3. ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ
  4. อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า
  5. โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1
  6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1
  7. ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

  • สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท
  • ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว
  • รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน
  • คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
  • ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วันเก็บผลผลิตได้
  • ผลผลิต 1 ตะกร้า 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม
  • อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้

         

วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติก

1.วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟาง ฟางทุกชนิด แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน ถ้าเป็นตระกร้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง

2.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น

3.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ

       

 

 

อื่นๆ

เมนู