ข้าพเจ้านายจิรวัฒน์  อิ่มบุญสุ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร: AG02 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

หลักสูตร AG 02(02) ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เฝ้าระวัง ติดตามเกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 และความมั่นคงทางอาหาร ประจำเดือนกันยายน 2564

จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 การกลับคืนภูมิลำเนาของแรงงานในเมืองหลวง หลังจากที่รัฐบาลประกาศมาตรการล็อคดาวน์ การปิดสถานที่ต่าง ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ ส่งผลให้เกิดการพักงานและตกงาน การไม่มีมีงานทำของคนจำนวนวมาก และหลายคนที่ยังมีที่พึ่งพิงในชนบทอย่างน้อยบ้านก็ไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ การบริโภคอาหารท้องถิ่นที่ใช้วัตถุดิบจากแปลงเกษตร หรือทรัพยากรธรรมชาติ ป่า แหล่งน้ำ ห้วย หนอง หรือพื้นที่สาธารณะในชุมชนมาใช้ประโยชน์ ที่มีความมั่งคงทางอาหาร จึงเป็นอีกหนึ่งหนทางการเอาตัวรอดจากการตกงานในสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (ปี 2561-2579) ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหาร มีหลักการเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน บริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2) ยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร มีหลักการคือ เพื่อดูแลคุณภาพและความปลอดภัยอาหารในห่วงโซ่อาหาร โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมการค้าทั้งในและต่างประเทศเป็นพื้นฐานของการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง 3) ยุทธศาสตร์ด้านอาหารศึกษามีหลักการคือ เน้นกระบวนการส่งเสริมพัฒนาและวิจัยเพื่อให้เกิดความรู้ ความตระหนักในการใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตและกระจายอาหารในห่วงโซ่อาหาร ตลอดจนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการบริโภคอาหาร และ 4) ยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการมีหลักการคือ พัฒนาการจัดการด้านอาหารของประเทศตลอดห่วงโซ่อาหารอย่างเป็นระบบให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและภัยคุกคามต่างๆ และสอดคล้องกับกติกาการค้าสากล ยุทธศาสตร์เหล่านี้ ได้ส่งผลต่อระบบอาหารและโภชนาการ ซึ่งเชื่อมโยงทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตอาหารจากภาคเกษตร การแปรรูป การบริการ สู่โภชนาการสุขภาพทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและการค้า

ความมั่งคงทางอาหาร

               ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ตามองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) หมายถึง สภาวะที่คนทุกคน และทุกขณะเวลา มีความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจที่สามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจด้านอาหารเพื่อให้เกิดชีวิตที่มีพลังและมีสุขภาพ
และตาม พรบ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติพ.ศ.2551 ความมั่นคงด้านอาหาร หมายถึง การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสําหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการตามวัย เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติสาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร

สรุปความหมายความมั่นคงทางอาหาร หมายถึง การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อบริโภคอย่างเพียงพอสำหรับทุกคน ตามความต้องการทุกขณะเวลา

องค์ประกอบของความมั่นคงทางอาหาร

  1. การได้รับอาหารที่เพียงพอ

ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในประเทศหรือการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ต้องเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเทศของตนเอง

  1. การเข้าถึงอาหาร

ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของโภชนาการที่ดี มีการควบคุมอาหารให้เป็นไปตามกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

  1. การใช้ประโยชน์จากอาหาร

นอกจากการมีอาหารเพียงพอแล้ว ทุกคนยังต้องใช้ประโยชน์จากอาหารที่ทานเข้าไปได้ ตามหลักทางด้านของความปลอดภัยและสุขอนามัย

  1. การมีเสถียรภาพด้านอาหาร

การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารได้อย่างเหมาะสม ไม่อดอยาก แม้ว่าจะมีเหตุการณ์วิกฤตฉุกเฉิน เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ, สภาพดินฟ้าอาการ, โรคระบาด หรือแม้กระทั่งการเป็นไปตามวัฏจักรธรรมชาติ เช่น ในช่วงฤดูหนาวของทางยุโรป ทุกคนก็ต้องมีสิทธิ์ได้รับอาหารอย่างเพียงพอที่สุด

ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยและของโลก

สำหรับประเทศไทยของเราได้มีรายงานจากสำนักเศรษฐกิจการเกษตร และสำนักงานสถิติแห่งขาติ ระบุว่า ประเทศไทยเราจัดเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก เป็นแหล่งสำคัญในการเพาะปลูกและผลิตอาหารออกมาได้หลายชนิด จึงทำให้ความมั่นคงทางอาหารอยู่ในเกณฑ์สูง ซึ่งเมื่อเทียบกับการประเมินของสากลซึ่งจัดทำขึ้นมาโดย The Economist Intelligence เมื่อปี 2019 คะแนนความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยอยู่ที่ 65.1 จาก 100 คะแนน และอยู่ในอันดับ 52 จากทั้งหมด 113 ประเทศที่ได้มีการประเมินเอาไว้

อย่างไรก็ตามเมื่อมองถึงความมั่นคงทางอาหารไทยและระดับโลกในช่วงเวลาของการแพร่ระบาดจากเชื้อโควิด-19 ถือว่าน่าเป็นห่วงอยู่พอควร เนื่องจากแทบทุกประเทศจำกัดการเดินทางเข้า-ออก จึงส่งผลต่อเรื่องของการนำเข้า-ส่งออกสินค้าตามไปด้วย ประกอบกับอุตสาหกรรมอาหารเองก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก บางแห่งต้องปิดกิจการชั่วคราว สิ่งเหล่านี้คืออีกปัจจัยที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่าความมั่นคงในด้านของอาหารไม่ใช่แค่เรื่องของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่ทุกประเทศมีต้องพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน และถ้าเกิดวิกฤตที่ลุกลามไปทั่วโลกย่อมส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามหากมองในภาพรวมก็มี 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

  • ประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบต่อจำนวนพื้นที่ด้านการเกษตรที่ลดลง
  • หลายพื้นที่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำอันเป็นต้นเหตุสำคัญที่ผลผลิตต้องหยุดชะงัก
  • แรงงานด้านการเกษตรน้อยลง ขาดคนที่จะเข้ามาทำงานในด้านนี้
  • การบริโภคในปัจจุบันมีการสูญเสียอาหารจนเกิดเป็นขยะอาหารมากขึ้นเรื่อย ๆ

นี่จึงเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกต้องคอยระวังและพยายามพัฒนาให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกกับทุกประเทศมากที่สุด อาจเป็นนโยบายช่วยเหลือระหว่างกันหรือวิธีใดก็ตาม ขึ้นอยู่กับแนวทางและการวางแผนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ที่มา: สานพลังก้าวข้ามขีดจำกัดสู่ความมั่นคงทางอาหาร

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ARDA

อื่นๆ

เมนู